Share to:

 

สันนิบาตอวามี

สันนิบาตอวามี
বাংলাদেশ আওয়ামী লীগ
ชื่อย่อAL
ผู้ก่อตั้งอับดุลฮามิด ข่าน ภาชานี
ยาร์ โมฮัมมัด ข่าน
ชัมซุล ฮุก
ประธานเชค ฮาซีนา
เลขาธิการโอบัยดุล กูอัดเดอร์
คำขวัญ"Joy Bangla" (เบงกอล)
"Victory to Bengal"
ก่อตั้ง23 มิถุนายน 1949 (75 ปีก่อน) (1949-06-23)
แยกจากมุสลิมลีก
ก่อนหน้าAwami Muslim League
ที่ทำการธากา
หนังสือพิมพ์Uttaran
สถาบันนโยบายCentre for Research and Information
ฝ่ายนักเรียนนักศึกษาBangladesh Chhatra League
ฝ่ายเยาวชนAwami Jubo League
ฝ่ายสตรีMohila Awami League
ฝ่านเกษตรกรKrishak League
ฝ่ายสหภาพแรงงานJatiya Sramik League
ฝ่านอาสาสมัครAwami Swechasebak League
อุดมการณ์ชาตินิยมเบงกอล
สังคมนิยมเสรี[1]
เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ[1]
จุดยืนกลาง[2][3] ถึงกลาง-ซ้าย[1]
กลุ่มระดับชาติGrand Alliance
สี  เขียว
เพลง"Pralayollas" (เบงกอล)
"The Ecstasy of Destruction"
Jatiya Sangsad
298 / 350
City Corporations
9 / 12
เว็บไซต์
albd.org
ธงประจำพรรค
การเมืองบังกลาเทศ
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

สันนิบาตอวามี (เบงกอล: বাংলাদেশ আওয়ামী লীগ, อังกฤษ: Awami League) หรือสันนิบาตมุสลิมอวามี เป็นพรรคการเมืองในปากีสถานตะวันออก ที่ต่อมาคือบังกลาเทศ ก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 โดย อุสวาน ซาอิด ซุห์ราวาร์ดี พรรคนี้มีบทบาทมากในปากีสถานตะวันออก แต่มีบทบาทน้อยในปากีสถานตะวันตก ผู้ที่มีบทบาทในพรรคได้แก่ ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน ที่เป็นหัวหน้าพรรคเมื่อ พ.ศ. 2506 และเมาลาบา อับดุล อามิด ข่าน บาชานี ซึ่งแยกตัวออกจากพรรคเมื่อ พ.ศ. 2500

แผนทางเศรษฐกิจของพรรคเป็นแบบกลาง ไม่เอียงซ้ายหรือขวา เมื่อชีค มูจิบูร์ เราะห์มานขึ้นมาเป็นผู้นำพรรค เขาได้ประกาศนโยบายที่จะทำให้ปากีสถานตะวันตกและตะวันออกมีความเป็นอิสระและปกครองตนเองในระดับหนึ่ง นโยบายนี้เป็นที่พอใจในปากีสถานตะวันออก และทำให้สันนิบาตอวามีชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2513

อย่างไรก็ตาม สันนิบาตอวามีถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาลปกครองปากีสถาน ประธานาธิบดีปากีสถานในขณะนั้นสั่งเลื่อนการเปิดประชุมสภาแห่งชาติโดยไม่มีกำหนด เมื่อถูกกีดกัน สันนิบาตอวามีจึงนำชาวปากีสถานตะวันออกออกมาประท้วงแบ่งแยกประเทศ รัฐบาลปากีสถานส่งกองทหารมาปราบปรามจนลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมือง ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิต และมีไม่น้อยที่ลี้ภัยเข้าไปในอินเดีย

อินเดียได้ใช้ปัญหาผู้ลี้ภัยเป็นข้ออ้างในการเข้าแทรกแซงโดยส่งกองทหารเข้าช่วยปากีสถานตะวันออก สงครามสิ้นสุดเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514 โดยปากีสถานยอมให้บังกลาเทศเป็นประเทศเอกราช

เมื่อบังกลาเทศได้รับเอกราช ชีค มูจิบูร์ เราะห์มานได้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยวางนโยบายเน้นประชาธิปไตย แยกศาสนาออกจากการเมือง แต่ก็พบกับปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และการบริหารแบบเผด็จการ จนกระทั่ง เราะห์มาน ถูกลอบสังหารเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากนั้น สันนิบาตอวามีไม่เคยได้จัดตั้งรัฐบาลอีกเลย

อ้างอิง

  • สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่:เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B กทม. ราชบัณฑิตยสถาน. 2547

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. 1.0 1.1 1.2 "Bangladesh election: Voters prepare to go to polls amid 'atmosphere of fear' for opposition activists". The Independent. 23 December 2018. Politics in Bangladesh has been dominated for years by the rivalry between Ms Hasina’s centre-left, socially and economically liberal Awami League and the more right-wing BNP with Begum Zia at its helm.
  2. Bhattacharjee, Joyeeta (November 2011). "Bangladesh: Political Trends and Key Players" (PDF). Strategic Trends. 1 (2): 1.
  3. Nazneen, Sohela (2009). "Bangladesh: Political Party Discourses on Women's Empowerment". South Asian Journal of Cancer. 24: 44–52.
Kembali kehalaman sebelumnya