สาหร่ายสีแดง หรือ โรโดไฟตา (อังกฤษ: Rhodophyta; มาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า ῥόδον (rhodon) แปลว่า กุหลาบ และφυτόν (phyton) แปลว่า พืช)) เป็นหนึ่งในกลุ่มสาหร่ายเซลล์ยูคาริโอตที่เก่าแก่ที่สุด[2] โรโดไฟตายังประกอบด้วยหนึ่งในชนิดสาหร่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันมีสาหร่ายสีแดงมากกว่า 7,000 สายพันธุ์ที่ผ่านการจัดจำแนกตามอนุกรมวิธานแล้ว[3] สายพันธุ์ส่วนใหญ่ (6,793) พบในชั้นฟลอริดีอาอี ประกอบไปด้วยสาหร่ายทะเลหลายเซลล์และสาหร่ายทะเลที่มีชื่อเสียง[3][4] ประมาณร้อยละ 5 ของสาหร่ายสีแดงพบได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดและมีสภาพอากาศที่อบอุ่น[5] ยกเว้นสองสายพันธุ์ในชั้นไซยานีดีโอไฟซีอาอีที่พบในถ้ำบริเวณชายฝั่ง สาหร่ายในชั้นดังกล่าวไม่พบว่าอาศัยอยู่บนบก ทั้งนี้สันนิษฐานว่าเกิดจากปรากฏการณ์คอขวดที่ทำให้บรรพบุรุษของสายพันธุ์เหล่านี้สูญพันธุ์ไปร้อยละ 25[6][7]
สาหร่ายสีแดงมีจุดเด่นที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั่นคือ มีเซลล์ยูคาริโอตที่ไม่มีแฟลกเจลลาและเซนทริโอล คลอโรพลาสต์ของมันไม่มีร่างแหเอนโดพลาซึมชั้นนอกและบรรจุไทลาคอยด์อย่างไม่เป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังมีสารไฟโคบีลีโปรตีนในฐานะรงควัตถุเสริม ทำให้สาหร่ายชนิดนี้มีสีแดง[8] สาหร่ายสีแดงเก็บน้ำตาลในรูปแป้งฟลอริดีอัน ซึ่งเป็นแป้งที่ประกอบด้วยอะไมโลเพกทิน (แต่ไม่มีอะไมโลส)[9] ในฐานะแหล่งเก็บอาหารนอกพลาสติดของมัน สาหร่ายสีแดงส่วนใหญ่มีหลายเซลล์ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และมีวงจรสลับ 3 ช่วง[10]
สาหร่ายกัลปังหา ซึ่งขับถ่ายแคลเซียมคาร์บอเนต มีส่วนช่วยในการสร้างแนวปะการัง สาหร่ายสีแดงอื่น ๆ อย่าง ดัลส์ (Palmaria palmata) และ ลาเวอร์ (โนริ/กิม) เป็นต้นกำเนิดของอาหารเอเชียและยุโรป และมักใช้ทำอะการ์ คาร์ราจีนัน และสารปรุงแต่งอาหารอื่น[11]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ N. J. Butterfield (2000). "Bangiomorpha pubescens n. gen., n. sp.: implications for the evolution of sex, multicellularity, and the Mesoproterozoic/Neoproterozoic radiation of eukaryotes". Paleobiology. 26 (3): 386–404. doi:10.1666/0094-8373(2000)026<0386:BPNGNS>2.0.CO;2. ISSN 0094-8373.
- ↑ Lee, R.E. (2008). Phycology (4th ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-63883-8.
- ↑ 3.0 3.1 Guiry, M.D.; Guiry, G.M. (2016). "Algaebase". www.algaebase.org. สืบค้นเมื่อ November 20, 2016.
- ↑ D. Thomas (2002). Seaweeds. Life Series. Natural History Museum, London. ISBN 978-0-565-09175-0.
- ↑ Sheath, Robert G. (1984). "The biology of freshwater red algae". Progress Phycological Research. 3: 89–157.
- ↑ Why don't we live on a red planet?
- ↑ Azua-Bustos, A; González-Silva, C; Arenas-Fajardo, C; Vicuña, R (2012). "Extreme environments as potential drivers of convergent evolution by exaptation: the Atacama Desert Coastal Range case". Front Microbiol. 3: 426. doi:10.3389/fmicb.2012.00426. PMC 3526103. PMID 23267354.
- ↑ W. J. Woelkerling (1990). "An introduction". ใน K. M. Cole; R. G. Sheath (บ.ก.). Biology of the Red Algae. Cambridge University Press, Cambridge. pp. 1–6. ISBN 978-0-521-34301-5.
- ↑ Viola, R.; Nyvall, P.; Pedersén, M. (2001). "The unique features of starch metabolism in red algae". Proceedings of the Royal Society of London B. 268 (1474): 1417–1422. doi:10.1098/rspb.2001.1644. PMC 1088757. PMID 11429143.
- ↑ "Algae". autocww.colorado.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2020-08-21.
- ↑ M. D. Guiry. "Rhodophyta: red algae". National University of Ireland, Galway. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-04. สืบค้นเมื่อ 2007-06-28.
แหล่งข้อมูลอื่น