สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรThe Secretariat of The House of Representatives |
ตราสัญลักษณ์ |
ภาพรวมสำนักงาน |
---|
ก่อตั้ง | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475; 92 ปีก่อน (2475-06-28) |
---|
สำนักงานก่อนหน้า | |
---|
ประเภท | ส่วนราชการ |
---|
เขตอำนาจ | สภาผู้แทนราษฎรไทย |
---|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
---|
บุคลากร | 2,041 คน (พ.ศ. 2560)[1] |
---|
งบประมาณต่อปี | 5,805,429,600 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
---|
ฝ่ายบริหารสำนักงาน | - ว่าที่ร้อยตำรวจตรี อาพัทธ์ สุขะนันท์, เลขาธิการ
- สาธิต ประเสริฐศักดิ์, รองเลขาธิการ
- ศิโรจน์ แพทย์พันธุ์, รองเลขาธิการ
- ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม, รองเลขาธิการ
- สตีจิตร ไตรพิบูลย์สุข, รองเลขาธิการ
- กัลยรัชต์ ขาวสำอางค์, รองเลขาธิการ
- ว่าที่เรือตรี ยุทธนา สำเภาเงิน, รองเลขาธิการ
- จงเดือน สุทธิรัตน์, รองเลขาธิการ
- ณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ, รองเลขาธิการ
|
---|
ต้นสังกัดสำนักงาน | รัฐสภาไทย |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
---|
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (อังกฤษ: The Secretariat of The House of Representatives) หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการให้แก่สภาผู้แทนราษฎร
ประวัติ
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะราษฎรได้ประชุมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม บริเวณห้องโถงชั้นบน เป็นที่ประชุมชั่วคราว มีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายพลตรี พระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ขออนุมัติต่อที่ประชุมให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการประจำของสภาผู้แทนราษฎร จึงนับได้ว่าเป็นการสถาปนาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขึ้น โดยมีหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก[3]
ลำดับความเป็นมา
ลำดับความเป็นมาของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
13 พฤศจิกายน 2476
|
- กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
9 ธันวาคม 2476
|
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
2484
|
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
2489
|
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
2490
|
- สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
|
2495
|
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
2511
|
- สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
|
2535 - ปัจจุบัน
|
แบ่งเป็น 2 สำนักงาน คือ
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
โครงสร้าง
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แบ่งเป็น 23 สำนัก 3 กลุ่มงาน 1 กลุ่ม ประกอบไปด้วย[4]
- สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร
- สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
- สำนักบริหารงานกลาง
- สำนักพัฒนาบุคลากร
- สำนักการคลังและงบประมาณ
- สำนักการพิมพ์
- สำนักรักษาความปลอดภัย
- สำนักประชาสัมพันธ์
- สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
- สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
- สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- สำนักวิชาการ
- สำนักสารสนเทศ
- สำนักการประชุม
- สำนักกฎหมาย
- สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
- สำนักกรรมาธิการ 1
- สำนักกรรมาธิการ 2
- สำนักกรรมาธิการ 3
- สำนักภาษาต่างประเทศ
- สำนักนโยบายและแผน
- สำนักบริการทางการแพทย์ประจำรัฐสภา
- สำนักงบประมาณของรัฐสภา
กลุ่มงานขึ้นตรง ต่อเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มงานประธานรัฐสภา
- กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
รายนามเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
รายนามเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนั้น จะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ใช้ชื่อ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปลี่ยนไปใช้ชื่อเลขาธิการรัฐสภา และกลับมาใช้ชื่อเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเช่นเดิม ประกอบไปด้วย[5]
รายนามเลขาธิการรัฐสภา
ดูเพิ่ม
อ้างอิง