Share to:

 

สุกิจ อัถโถปกรณ์

สุกิจ อัถโถปกรณ์
สุกิจ ใน พ.ศ. 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–ปัจจุบัน)

นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) อดีตที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย)[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง 3 สมัย

ประวัติ

นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานการเมือง

อดีตเคยรับราชการเป็นนายแพทย์ที่โรงพยาบาลตรัง และ เปิดคลีนิคส่วนตัว ต่อมาลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง

พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร

นายแพทย์ สุกิจ กลับมาลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2550 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมารวม 3 สมัย[2] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดตรังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง หลังจากที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

สมาชิกวุฒิสภา

นายแพทย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 จังหวัดตรัง

เครื่อราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
Kembali kehalaman sebelumnya