หมีขั้วโลกเปลี่ยนทางไป:
Scientific classificationหมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (อังกฤษ: Polar bear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus maritimus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ(Carnivora)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกนี้[1] บทนำชีววิทยาหมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (อังกฤษ: Polar bear) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นนักล่าแห่งดินแดนขั้วโลกเหนือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตกลางน้ำแข็ง ธรรมชาติสร้างให้หมีขาวแตกต่างจากหมีพันธุ์อื่น คือ มีขนคลุมอุ้งเท้า นิ้วเท้าสั้น เล็บโค้งงอเพื่อ ให้ยึดน้ำแข็งได้อย่างมั่นคง ในขณะเดียวกันก็มีท่อนขาขนาดใหญ่เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักมหาศาล เพื่อสามารถเดินบนน้ำแข็งบางๆ ได้ เป็นหมีที่ถือได้ว่ากินอาหารมากกว่าหมีชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาหารของหมีขาวมีมากมาย เช่น แมวน้ำ หรือวอลรัส ด้วยการย่องเข้าไปเงียบ ๆ หรือหลบซ่อนตัวตามก้อนหินหรือก้อนน้ำแข็ง นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังอาจจับนกทะเล ทั้งไข่และลูกนก บางครั้งก็จับปลากิน หรืออาจจะกินซากของวาฬที่ตายเกยตื้น หรือแม้แต่ซากหมีขาวด้วยกันหรือลูกหมีที่ตายได้ด้วย [2] แหล่งที่อยู่อาศัยหมีขาวกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะซีกโลกทางเหนือ บริเวณขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติกเท่านั้น จัดได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกนี้ อุ้งเท้าของหมีขาวมีขนรองช่วยให้ไม่ลื่นไถลไปกับความลื่นของพื้นน้ำแข็ง หมีขาวถือเป็นสัตว์ที่เดินทางไกลมาก โดยบางครั้งอาจจะใช้วิธีการนั่งบนแผ่นหรือก้อนน้ำแข็งลอยตามน้ำไป หรือไม่ก็ว่ายน้ำหรือดำน้ำไป ซึ่งหมีขาวจัดเป็นหมีที่ว่ายน้ำและดำน้ำเก่งมาก โดยใช้ขาหน้าพุ้ย หรือบางครั้งก็ใช้ทั้ง 4 ขา เคยมีผู้พบหมีขาวว่ายอยู่ในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 200 ไมล์ ความสำคัญในช่วงก่อนหน้านี้มนุษย์มีการล่าหมีขั้วโลกซึ่งเป็นความเชื่อของชนพื้นเมืองบางเผ่าที่ล่าหมีเพื่อแสดงความกล้าเอาหนังมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เนื้อเอามากิน ไขมันนำมาใช้เป็นอาหารและพลังงานในการให้แสงสว่างและความอบอุ่นถุงน้ำดีและหัวใจเอามาตากแห้งแล้วบดให้ละเอียดใช้เป็นยาเขี้ยวเอามาทำเป็นเครื่องประดับมีเพียงตับเท่านั้นที่ไม่ได้นำมาใช้เนื่องจากมีความเข้มข้นของวิตามินเอที่สูงมากจนมีความเป็นพิษสูงมนุษย์ที่ล่ามักจะโยนตับทิ้งลงทะเลหรือฝังกลบเพื่อหลีกเลี่ยงสุนัขที่นำไปด้วยขุดคุ้ยเอามากินในประเทศรัสเซียหมีขั้วโลกถูกฆ่าเพื่อการค้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 14ถึงแม้ว่าราคาขนของหมีขั้วโลกหรือหมีขาวนี้มีราคาถูกกว่าขนของสุนัขจิ้งจอกอาร์กติกหรือกวางเรนเดียร์ จนต้องมีมาตรการในแต่ละประเทศที่ออกมาเพื่อปกป้องหมีขั้วโลกเหล่านี้รวมถึงสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)ที่ได้จัดให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์[3] ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนั้นกับญาติในโลกของสัตว์กินเนื้อ หมีขั้วโลกหรือหมีขาว ถือเป็นสัตว์บกกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีการแยกสายวิวัฒนาการมาจากหมีสีน้ำตาลแถบอะแลสกาเมื่อประมาณ 150,000 ปีมาแล้วจากฟอสซิลหายากที่พบเมื่อหลายปีก่อน ลินด์ควิสต์และทีมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์และชี วสารสนเทศ รัฐนิวยอร์ก (New York State Center of Excellence in Bioinformatics and Life Sciences ) ได้ถอด รหัสดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรีย (mitochondrial DNA) ที่สกัดได้จากฟอสซิลของหมีขั้วโลกยุคโบราณ และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรียของหมีขั้วโลกในยุค ปัจจุบันและหมีอื่นๆ พบว่าวิวัฒนาการของหมีขั้วโลกอยู่ในสายวิวัฒนาการเดียวกับหมีสีน้ำตาล โดยหมีสีน้ำตาลจากเกาะแอดมิรอลตี บารานอฟ และชิคากอฟ (Admiralty Baranof, and Chichagof Islands) ในมลรัฐอะแลสกา สหรัฐฯ เป็นญาติใกล้ชิดที่สุดของหมีขั้วโลก [4] ถึงแม้ว่าทั้งสองชนิดนี้มีความใกล้เคียงกันในสายวิวัฒนาการ แต่หมีขั้วโลกหรือหมีขาวได้ปรับตัวเองให้สามารถอาศัยอยู่ในสภาพถิ่นที่อยู่ที่ค่อนข้างไม่มีความหลากหลาย การดำรงชีวิตให้อยู่รอดในแถบอาร์กติกที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทำให้สัตว์หลายๆ ชนิดใช้เวลายาวนานในการวิวัฒนาการจนมีขนสีขาว หรือเปลี่ยนสีขนในฤดูหนาวจนกลมกลืนกับหิมะ ซึ่งเป็นการพรางตัวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และหาอาหาร ดังเช่นกระต่ายป่าสีขาว (white hare) , นกนางนวลอาร์กติก (Arctictern) , ตัววีเซล (weasel) , ตัวเลมมิง (lemming) , หมาจิ้งจอกอาร์กติก (Arctic fox) โดยเฉพาะหมีขั้วโลก (polar bear) ที่ใช้เวลาประมาณ 2 แสนปี พัฒนา และมีวิวัฒนาการจากหมีสีน้ำตาลมาเป็นหมีขาวในทุกวันนี้[5] การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการด้านต่างๆของหมีขั้วโลกหรือหมีขาว(Evolutionary adaptation of thelang-en|Polar bear)1.การปรับตัวด้านสรีระ ( physiological adaptation )หมีขาวมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตกลางน้ำแข็ง ธรรมชาติสร้างให้หมีขาวแตกต่างจากหมีพันธุ์อื่น คือ มีขนคลุมอุ้งเท้า นิ้วเท้าสั้น เล็บโค้งงอเพื่อ ให้ยึดน้ำแข็งได้อย่างมั่นคง ในขณะเดียวกันก็มีท่อนขาขนาดใหญ่เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักมหาศาล เพื่อสามารถเดินบนน้ำแข็งบางๆ ได้[6] 2. การปรับตัวทางด้านรูปร่าง (Morphological adaptation)หมีมีการปรับตัวบางอย่างถูกคิดค้นมาได้อย่างชาญฉลาด เช่นขนสีขาวราวหิมะอันแสนสวยที่แลดูขาวสะอาดและละเอียดของมัน แท้จริงแล้วขนของมันไม่ใช่สีขาวเลยแม้แต่น้อย แพขนจะสะท้อนแสงแดดที่ทอดลงมาบนหิมะ ทำให้มันดูเป็นสีขาวและกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการพรางตัวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และหาอาหารในบางครั้ง ขนที่หนาและละเอียดของมัน รวมถึงชั้นไขมันอาจทำให้ความร้อนในตัวสูงเกินไปจนอาจเสียชีวิตได้ ทำให้พวกมันต้องใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า การเดินช้าๆ ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของพวกมันได้[7] 3.การปรับตัวด้านพฤติกรรม ( behavioral adaptation )หมีขั้วโลกจะล่าแมวน้ำที่บริเวณแผ่นน้ำแข็งแต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการละลายของแผ่นน้ำแข็งซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เมื่อแผ่นน้ำแข็งละลายอาหารก็หายากมากขึ้น จึงมีการสร้างไขมันสะสม มีชั้นไขมันที่หนาประมาณ 10 เซนติเมตร อยู่ถัดลงไปจากชั้นของผิวหนังและขน ทำให้พวกมันมีอุณหภูมิภายในร่างกายที่สูงกว่าอุณหภูมิภายนอกประมาณ 10 องศาเซลเซียสซึ่งจะทำการเก็บสะสมในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงเพื่อใช้ในการจำศีลในช่วงฤดูหนาว[8] อ้างอิง
Informasi yang berkaitan dengan th/หมีขั้วโลก |