Share to:

 

หอพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์

หอพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์ คือโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ที่มีลักษณะเป็นหอคอยสูง รับความร้อนที่เป็นรังสีจากดวงอาทิตย์จากกระจกเรียบจำนวนมากที่สามารถปรับเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ(เรียกกระจกแบบนี้ว่า heliostat) ที่อยู่ด้านล่าง หอคอยนี้จะสะสมความร้อนและทำตัวเหมือนเตาความร้อนสูง เปลี่ยนความร้อนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ได้ ถือว่าเป็นพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนไร้มลพิษแบบหนึ่ง

การออกแบบในตอนแรกๆจะใช้แสงที่ถูกโฟกัสนี้ไปทำให้น้ำร้อน ไอน้ำที่ได้จะนำไปใช้หมุนกังหันไอน้ำ แต่ปัญหาคือ ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์ก็จะผลิตไฟฟ้าไม่ได้ การออกแบบใหม่โดยใช้โซเดียมเหลวเป็นตัวเก็บพลังงานความร้อนและได้รับการสาธิตให้เห็นจริง ต่อมาใช้เก​​ลือหลอมเหลว (โพแทสเซียมไนเตรท 40% โซเดียมไนเตรท 60%) เป็น'ของเหลวใช้งาน'ได้ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในหอพลังความร้อนในปัจจุบัน ของเหลวใช้งานนี้มีความสามารถเก็บความร้อนได้สูงมาก ซึ่งใช้ในการเก็บพลังงานความร้อนก่อนที่จะใช้ต้มน้ำเพื่อขับกังหัน การออกแบบวิธีนี้จึงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แม้ไม่มีแสงอาทิตย์

The THEMIS Solar Power tower in the Pyrénées-Orientales, France.

ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์

ชื่อ กำลัง
การผลิต
(MW)
การผลิต
ต่อปี
(GWh)
ประเทศ ผู้ผลิต/เจ้าของ เสร็จ
Ivanpah Solar Power Facility 392 (U/C) 420 United States BrightSource Energy 2013
Crescent Dunes Solar Energy Project 110 (U/C) 500 United States SolarReserve 2013
PS20 solar power tower 20[1] 44 Spain Abengoa 2009
Gemasolar[2] 17 100 Spain Sener 2011
PS10 solar power tower 11[3] 24 Spain Abengoa 2006
Sierra SunTower 5[4] United States eSolar 2009
Jülich Solar Tower 1.5[5][6] Germany 2008
Mersin Solar Plant 5MW Turkey 2013

ต้นทุน

11MW Solucar PS10 ใกล้เซบิยาในประเทศสเปน ใข้ความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นที่แรกเพื่อผลิตไฟฟ้าในเชิงพานิชย์

ห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทนแห่งชาติของสหรัฐ (NREL) ได้มีการประมาณการว่าในปี 2020 จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากหอพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์ด้วยต้นทุน 5.47 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง. บริษัท เช่น ESolar (รับการสนับสนุนจาก Google.org) จะดำเนินการพัฒนาต่อในส่วนประกอบของหอพลังงานเพื่อให้มีราคาถูกและบำรุงรักษาต่ำ, เพื่อที่จะช่วยลดต้นทุนในอนาคตอันใกล้. การออกแบบ ESolar ใช้กระจกขนาดเล็ก (1.14m²) จำนวนมากตัวเลขที่มีขนาดใหญ่ของซึ่งลดต้นทุนการติดตั้งระบบต่างๆเช่นคอนกรีต, เหล็ก,หัวเจาะและเครน

ในการปรับปรุงการทำงานของระบบของเหลวใช้งานเช่นการย้ายแบบสองถัง (ร้อน/เย็น) ในปัจจุบันเป็นการออกแบบระบบ thermocline ถังเดียวพร้อมกับฟิลเลอร์ความร้อน quartzite และผ้าห่มออกซิเจนจะปรับปรุงประสิทธิภาพของวัสดุและลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

Jülich solar tower power plant

การออกแบบ

  • หอพลังแสงอาทิตย์บางหอมีระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ แทนที่จะระบายความร้อนด้วยน้ำเย็นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้น้ำทะเลทรายที่มีอยู่อย่างจำกัด
  • กระจกแบนถูกนำมาใช้แทนกระจกโค้งที่ราคาแพงมากกว่า
  • ในการเก็บความร้อนในภาชนะบรรจุเกลือหลอมเหลวเพื่อดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าในขณะที่ดวงอาทิตย์จะไม่ส่องแสง
  • ไอน้ำจะร้อนถึง 500°C ใช้ขับกังหันที่ต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
  • ใช้ระบบการควบคุมและกำกับดูแลทุกกิจกรรมในโรงผลิตรวมทั้งตำแหน่งแถวของกระจก ระบบเตือน, ระบบเก็บข้อมูลอื่น ๆ และการสื่อสาร
  • โดยทั่วไปการติดตั้งใช้จาก 150 เฮกตาร์ (1,500,000 m2) ถึง 320 เฮกตาร์ (3,200,000 m2)

ใช้งานเชิงพาณิชย์

มีหลายบริษัทที่มีส่วนร่วมในการวางแผนการออกแบบและการสร้างสาธารณูปโภคโรงไฟฟ้​​า นี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาโรงไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีตัวอย่างหลายกรณีศึกษาของการใช้นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาพลังงานแสงอาทิตย์.

แนวคิดเชิงสร้างสรรค์

หอพลังจากดวงอาทิตย์ในหลุมซึ่งเป็นการรวมหอพลังความร้อนและหอพลังลมเข้าด้วยกันจะสร้างในเหมืองแบบเปิดหน้าดินที่ปลดประจำการแล้ว หอพลังความร้อนแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัด ในขนาดตามความสูงของหอคอยที่ไปปิดกั้นเส้นสายตา "ที่นั่งสนามกีฬา" ของเหมืองจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ให้เอาชนะข้อจำกัดการปิดกั้นนั้นได้

แนวคิดทำบ่อหอพลังแสงอาทิตย์ในเหมืองที่ Bingham Canyon

เนื่องด้วยหอพลังความร้อน ปกติใช้ไอน้ำในการขับกังหันและมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนน้ำในภูมิภาคด้วย ประโยชน์ของการเปิดหลุมอีกอย่างหนึ่งก็คือหลุมเหล่านี้สามารถที่จะเก็บสะสมน้ำที่อยู่ด้านล่างของหลุมได้ หลุมหอพลังงานความร้อนใช้ไอน้ำความร้อนต่ำไปขับหลอดนิวเมติกในระบบร่วม (co-generation) ประโยชน์ที่สามของการใช้เหมืองสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าก็คือเราสามารถนำโครงสร้างพื้นฐานของเหมืองที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ได้อีก เช่น ถนน, อาคารและไฟฟ้า

อ้างอิง

  1. "Abengoa Solar Begins Operation of World's Largest Solar Power Tower Plant". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2013-07-13.
  2. "Torresol Energy commissions Gemasolar Power Plant in Spain". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-13.
  3. "First EU Commercial Concentrating Solar Power Tower Opens in Spain". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2013-07-13.
  4. eSolar Ushers in New Era of Solar Energy with Unveiling of Sierra Power Plant
  5. "RenewableEnergyWorld: Salt-Free Solar: CSP Tower Using Air". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 2013-07-13.
  6. "DLR: Jülich solar tower power plant – research facility officially handed over to the operator". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 2013-07-13.
Kembali kehalaman sebelumnya