Share to:

 

หอมต้นเดี่ยว

หอมต้นเดี่ยว
ต้นหอมสดมัดเป็นกำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Amaryllidaceae
วงศ์ย่อย: Allioideae
สกุล: Allium

หอมต้นเดี่ยว มักเรียกว่า ต้นหอม ภาษาอีสานเรียก ผักบั่ว เป็นพืชในสกุล Allium ที่สามารถรับประทานได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นหอมเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กตระกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวบ้างก็ปนสีม่วงอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ใบเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก[1] ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอก และหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่า นิยมนำไปกินเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ข้าวหมูแดง ส่วนใบใช้ตกแต่งโรยหน้าอาหาร และใส่ในต้ม ผัด ยำ แกงต่าง ๆ หรือนำไปดอง

คุณค่าทางโภชนาการ

ต้นหอมซอย

ต้นหอมสด 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โซเดียม 16 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม น้ำตาล 2.3 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม

สรรพคุณ

ต้นหอมช่วยในการขับเหงื่อและบำรุงหัวใจ ถ้ากินสด ๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ถ้านำต้นหอม 5-6 ก้าน ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ขับเหงื่อ ลดไข้

สรรพคุณทางยา

ใช้แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยการใช้ใบหรือหัวทุบพอแตกใส่ในเหล้าขาว

อ้างอิง

  • หนังสืออาหารเป็นยา ทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ยา
  • หนังสือผักพื้นบ้าน: อาหารที่ไม่ควรมองข้าม
  • หนังสือผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ , 2548.
  1. "ต้นหอม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์".
Kembali kehalaman sebelumnya