Share to:

 

หินไนส์

หินไนส์
หินแปร
ภาพของหินไนส์

หินไนส์ (อังกฤษ: gneiss) เป็นหินแปรชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปและกระจายตัวอย่างกว้างขวาง โดยเกิดจากกระบวนการแปรสภาพภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ซึ่งมีผลต่อหินต้นกำเนิดที่เป็นหินอัคนีหรือหินตะกอน หินชนิดนี้เกิดขึ้นภายใต้ความดันที่อยู่ในช่วง 2 ถึง 15 กิโลบาร์ หรือมากกว่านั้นในบางกรณี และอุณหภูมิที่สูงกว่า 300 องศาเซลเซียส (572 องศาฟาเรนไฮต์) ลักษณะเด่นของหินไนส์คือพื้นผิวที่มีเนื้อเป็นแถบ (banded texture) ซึ่งประกอบด้วยแถบสีเข้มและสีอ่อนสลับกัน โดยไม่มีแนวแตกเรียบ (cleavage) ที่ชัดเจน

หินไนส์สามารถพบเจอได้ทั่วไปตามหินฐานทวีปโบราณ หินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกบางก้อนนั้นคือหินไนส์ ยกตัวอย่างเช่นหินไนส์ที่อะคัสตาไนส์ (Acasta Gneiss)

คำอธิบาย

จากนิยามดั้งเดิมของภาษาอังกฤษและการใช้งานในอเมริกาเหนือ คำว่า "ไนส์" (Gneiss) หมายถึงหินแปรเนื้อหยาบที่มีลักษณะการเรียงตัวขององค์ประกอบเป็นแถบ (gneissic banding) แต่มีความเป็นหินชิสต์ (schistosity) ที่พัฒนาน้อย และไม่มีแนวแตกเรียบ (cleavage) ที่ชัดเจน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหินไนส์เป็นหินแปรที่ประกอบด้วยแร่ธาตุที่มีขนาดเม็ดใหญ่จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งเรียงตัวกันเป็นชั้นหรือแถบอย่างชัดเจน แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดการแตกหักตามชั้นหรือแถบเหล่านี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในยุโรป คำว่า "ไนส์" ถูกใช้อย่างกว้างมากกว่า โดยหมายรวมถึงหินแปรเนื้อหยาบที่มีไมกา (mica) น้อยและเป็นหินแปรคุณภาพสูง[1]

สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร (British Geological Survey - BGS) และ สหภาพวิทยาศาสตร์ทางธรณีวิทยานานาชาติ (International Union of Geological Sciences - IUGS) ใช้คำว่า "ไนส์" เป็นหมวดหมู่อย่างกว้างที่เกี่ยวกับเนื้อหินสำหรับหินแปรเนื้อปานกลางถึงเนื้อหยาบที่มีความเป็นชิสต์ ที่พัฒนาน้อย โดยมีการเรียงตัวขององค์ประกอบเป็นชั้นที่มีความหนามากกว่า 5 มิลลิเมตร (0.20 นิ้ว)[2] และมักแตกออกเป็นแผ่นที่มีความหนามากกว่า 1 เซนติเมตร (0.39 นิ้ว)[3] นิยามนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีหรือแหล่งกำเนิดของหิน แต่หินที่มีแร่แผ่นบาง (platy minerals) ประกอบอยู่น้อยนั้นมักจะเกิดลักษณะเนื้อไนส์ (gneissose texture) ได้ง่ายกว่า ด้วยเหตุนี้ หินไนส์จึงเป็นหินที่ผ่านกระบวนการตกผลึกใหม่ (recrystallized) เป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้ประกอบด้วยไมกา, คลอไรต์ (chlorite) หรือแร่แผ่นบางชนิดอื่นในปริมาณมาก[4] หินแปรที่แสดงความเป็นชิสต์มากกว่าจะถูกจัดประเภทเป็น ชิสต์ ในขณะที่หินแปรที่ไม่มีความเป็นชิสต์เลยจะเรียกว่ากราโนเฟลส์ (granofels)[2][3]

ไนส์ที่เกิดจากการแปรสภาพของหินอัคนีหรือหินต้นกำเนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันจะถูกเรียกชื่อตามหินต้นกำเนิด เช่น ไนส์แกรนิต (granite gneiss), ไนส์ไดออไรต์ (diorite gneiss) เป็นต้น หินไนส์อาจถูกตั้งชื่อตามองค์ประกอบเด่นที่พบ เช่น ไนส์การ์เนต (garnet gneiss), ไนส์ไบโอไทต์ (biotite gneiss), ไนส์อัลไบต์ (albite gneiss) เป็นต้น คำว่าออร์โธไนส์ (orthogneiss) ใช้ระบุถึงไนส์ที่มีต้นกำเนิดจากหินอัคนี ในขณะที่พาราไนส์ (paragneiss) หมายถึงไนส์ที่มีต้นกำเนิดจากหินตะกอน[2][3] ทั้งสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร (BGS) และสหภาพวิทยาศาสตร์ทางธรณีวิทยานานาชาติ (IUGS) ได้ใช้คำว่า gneissose เพื่ออธิบายหินที่มีเนื้อหินแบบไนส์[2][3] แม้คำว่า gneissic จะยังคงเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป ตัวอย่างเช่น gneissose metagranite หรือ gneissic metagranite ทั้งสองคำนี้หมายถึงหินแกรนิตที่ผ่านการแปรสภาพและมีเนื้อหินแบบไนส์

ลายแถบแบบไนส์

การเปลี่ยนรูปหินด้วยแรงเฉือนบริสุทธิ์ (pure shear deformation) ส่งผลให้เกิดลักษณะการเรียงตัวเป็นลายแถบแบบไนส์ (gneissic banding) โดยในภาพประกอบ หินที่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนรูปปรากฏอยู่ที่มุมบนซ้าย ส่วนผลลัพธ์จากการแปรรูปด้วยแรงเฉือนบริสุทธิ์แสดงอยู่ที่มุมบนขวา ที่มุมล่างซ้ายแสดงองค์ประกอบของการเปลี่ยนรูปในลักษณะการยืดตัว ซึ่งบีบอัดหินในทิศทางหนึ่งและยืดออกในอีกทิศทางหนึ่ง ตามลูกศรที่ระบุไว้ หินยังคงมีการหมุนตัวพร้อมกันไปด้วย เพื่อให้ได้ลักษณะการจัดเรียงสุดท้ายที่ปรากฏซ้ำอีกครั้งที่มุมล่างขวา

เอาเกนไนส์

มิกมาไทต์

การกำเนิด

นิรุกติศาสตร์

การใช้ประโยชน์

ดูเพิ่มเติม

อ้างอิง

  1. Yardley, B. W. D. (1989). An introduction to metamorphic petrology. Longman earth science series. Harlow, Essex, England : New York: Longman Scientific & Technical ; Wiley. ISBN 978-0-582-30096-5.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Robertson, S. (1999). "BGS Rock Classification Scheme, Volume 2: Classification of metamorphic rocks" (PDF). British Geological Survey Research Report. RR 99-02. Retrieved 27 February 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Schmid, R.; Fettes, D.; Harte, B.; Davis, E.; Desmons, J. (2007). "How to name a metamorphic rock.". Metamorphic Rocks: A Classification and Glossary of Terms: Recommendations of the International Union of Geological Sciences Subcommission on the Systematics of Metamorphic Rocks (PDF). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 3–15. Retrieved 28 February 2021.
  4. Blatt, Harvey; Tracy, Robert J. (1996). Petrology: igneous, sedimentary and metamorphic (2nd ed ed.). New York: W. H. Freeman and company. ISBN 978-0-7167-2438-4. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
Kembali kehalaman sebelumnya