Share to:

 

ห้างทอง ธรรมวัฒนะ

ห้างทอง ธรรมวัฒนะ
ห้างทอง ในปี พ.ศ. 2533
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
เสียชีวิต6 กันยายน พ.ศ. 2542 (50 ปี)
เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองพรรคประชากรไทย
คู่สมรสนางหยิน เหยา
นางอัญชลี ธรรมวัฒนะ

ห้างทอง ธรรมวัฒนะ (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 – 6 กันยายน พ.ศ. 2542) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย สังกัดพรรคประชากรไทย และอดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประวัติ

นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายอาคม ฉัตรชัยยนต์ และ นางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ[1] สำเร็จการศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจาก University of Texas, Austin และวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตจาก Asian Institute of Technology (A.I.T.)

งานการเมือง

ห้างทอง ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคประชากรไทย ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[2] ปฏิบัติหน้าที่ประจำรัฐมนตรีช่วยฯ (ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์)

ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[3] ปฏิบัติหน้าที่ประจำรัฐมนตรีช่วยฯ (ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์)

จนกระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 เขาเสียชีวิตในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ห้างทอง ธรรมวัฒนะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย

การเสียชีวิต

ห้างทอง ธรรมวัฒนะ เสียชีวิตอย่างปริศนาจากการถูกอาวุธปืนยิงที่ศีรษะ ในบ้านพักของตนเอง เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2542 ขณะมีอายุ 50 ปี[4] ในขณะนั้น นพดล ธรรมวัฒนะ น้องชายของเขา ตกเป็นผู้ต้องหาว่าฆ่าพี่ชายของตนเอง[5] ต่อมาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องนายนพดล เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

การเสียชีวิตของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ นำไปสู่การฟ้องร้องกันเองระหว่างญาติพี่น้องของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ[6]จำนวนกว่า 48 คดี

ต่อมาลูกชายนาย ห้างทอง ได้ยื่นฟ้อง ณฤมล ธรรมวัฒนะกรณีถอดถอนเขาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ ๒๔๓/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี (นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ)เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๗๔ง วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๓๘
  3. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๕๘๗/๒๕๓๙ เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ)เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๐๑ง วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๙
  4. "ย้อนรอยคดีมรดกเลือด"ธรรมวัฒนะ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2013-09-23.
  5. ปิดฉากศึกชิงมรดกตระกูล "ธรรมวัฒนะ" 14 ปี 48 คดีที่คาศาล
  6. http://www.tnews.co.th/html/contents/99111/[ลิงก์เสีย]
  7. http://www.dailynews.co.th/crime/400039
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
Kembali kehalaman sebelumnya