อนุภาคแอลฟา
อนุภาคแอลฟา (เขียนแทนด้วยอักษรกรีก แอลฟา α) คืออนุภาคที่ประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัวและนิวตรอน 2 ตัว เหมือนกับนิวเคลียสของอะตอมของธาตุฮีเลียม (He) จึงสามารถเขียนสัญลักษณ์ได้อีกอย่างหนึ่งเป็น หรือ [1] อนุภาคแอลฟาหนึ่งอนุภาคมีมวล 6.644656×10−27 กิโลกรัม[2] หรือเทียบเท่ากับพลังงาน 3.72738 จิกะอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) มีประจุเป็น +2e โดยที่ e คือความจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอนซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.602176462×10−19 คูลอมบ์ อนุภาคแอลฟามักเกิดจากการสลายของอะตอมของธาตุกัมมันตรังสี เช่นยูเรเนียม (U) หรือเรเดียม (Ra) ด้วยกระบวนการที่รู้จักกันในชื่อการสลายให้อนุภาคแอลฟา (alpha decay) เมื่ออนุภาคแอลฟาถูกปลดปล่อยออกจากนิวเคลียส มวลอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีจะลดลงประมาณ 4.0015 u เนื่องจากการสูญเสียทั้งโปรตอนและนิวตรอน และเลขอะตอมจะลดลง 2 ทำให้อะตอมกลายเป็นธาตุใหม่ ดังตัวอย่างการสลายให้อนุภาคแอลฟาของยูเรเนียม จะได้ธาตุใหม่เป็นทอเรียม (Th)[3]
สมบัติของแอลฟา
การใช้งานประโยชน์ของรังสีแอลฟามีเช่น การนำรังสีแอลฟามาใช้สร้างเป็นเครื่องมือวัดควัน[5] อันตรายจากรังสีแอลฟา กรณีที่เรากินอาหารที่มีรังสีแอลฟาเข้าไปเมื่อรังสีแอลฟาเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไม่ทะลุทะลวงจึงเป็นอันตรายต่อเชลล์ในร่ายกาย ส่วนอันตรายจากการแผ่รังสีโดยตรงอาจไม่เป็นอันตรายมากเท่ากับรังสีชนิดอื่น หลักการป้องกันรังสีอัลฟาสามารถทำตามข้อกำหนดทั่วไปในการป้องกันรังสี ซึ่งมีอยู่ 3 ข้อดังต่อไปนี้
หมายเหตุ : การป้องกันรังสีแอลฟาใช้กระดาษที่หนาหน่อยก็กั้นรังสีแอลฟาได้ แต่ก็ต้องระวังเพราะรังสีทุกชนิดจะเป็นอันตรายหมดขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับว่าน้อยหรือมาก อ้างอิง
|