อนุสัญญาวอร์ซอ
อนุสัญญาวอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw Convention) หรือชื่อทางการคือ อนุสัญญาเพื่อการรวบรวมกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการรับขนระหว่างประเทศทางอากาศ[2] (อังกฤษ: Convention for the Unification of certain rules relating to international carriage by air) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศซึ่งกำหนดความรับผิดชอบของสายการบินต่อบุคคล, สัมภาระ, สินค้า ที่ขนส่งทางอากาศ อนุสัญญาลงนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ และถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพิธีสารเฮก (ค.ศ. 1955) และพิธีสารกัวเตมาลาซิตี (ค.ศ. 1971) และต่อมาในปีค.ศ. 1999 องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศนำข้อความในอนุสัญญาวอร์ซอและพิธีสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องไปปรับปรุงใหม่เป็นอนุสัญญามอนทรีออล ณ ปีค.ศ. 2015 อนุสัญญาวอร์ซอได้รับสัตยาบันโดย 152 ประเทศ พิธีสารเฮกเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมได้รับสัตยาบันโดย 137 ประเทศ[3] ส่วนพิธีสารกัวเตมาลายังไม่มีการบังคับใช้ เนื่องจากมีสมาชิกให้สัตยาบันไม่ถึง 30 ประเทศ ประเทศไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาวอร์ซอ สาระสำคัญความรับผิดของผู้รับขนส่ง
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าสินไหมเคยกำหนดโดยใช้เงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยเงิน 1 ฟรังก์มีส่วนผสมของทองคำ 65.5 มิลลิกรัม ทำให้ค่าเงินฟรังก์ขึ้นลงตามภาวะราคาทองคำในตลาดโลก การประชุมมอนทรีออลปีค.ศ. 1975 ได้กำหนดให้ใช้หน่วย SDR (สิทธิพิเศษถอนเงิน) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศแทนที่สกุลฟรังก์ อัตราแลกเปลี่ยน ณ 1 มิถุนายน 2022 อยู่ที่ 1 SDR = 1.349 ดอลลาร์สหรัฐ = 46.32 บาท[4] อ้างอิง
|