อวีจังอวีจัง (ทิเบต: དབུས་གཙང, ไวลี: dbus gtsang, พินอินทิเบต: ü-zang) หรือ เว่ย์จ้าง (衛藏) เป็นหนึ่งในเขตทิเบตดั้งเดิมส่วนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้คือพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตปกครองตนเองทิเบต อวีจังตั้งอยู่ในภาคกลางและตะวันตกของภูมิภาคทิเบต ซึ่งรวมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำยาร์ลุงจังโปทางตะวันตกจรดเขาไกรลาส ทางเหนือจรดชังทัง และทางใต้จรดเทือกเขาหิมาลัย บางครั้งพื้นที่ชังทังและงารีก็รวมอยู่ในเขตอวีจังด้วย ประวัติศาสตร์อวีจังเป็นชื่อเรียกรวมของสองภูมิภาคคือ "อวี" (དབུས) และ "จัง" (གཙང) โดยเขต "อวี" นั้นเดิมในภาษาจีนยังเรียกว่า "เฉียนจ้าง" (前藏) ตั้งอยู่แถวเมืองลาซา เมืองซานหนาน และส่วนตะวันตกของเมืองญิงจี ส่วนเขต "จัง" นั้นในภาษาจีนยังเรียกว่า "โฮ่วจ้าง" (后藏) ตั้งอยู่บริเวณเมืองซีกาเจ (ยกเว้นบางส่วนทางตอนเหนือ) ทั้งเฉียงจ้างและโฮ่วจ้างนี้เป็นเขตที่แบ่งในสมัยราชวงศ์ชิง ชาวทิเบตไม่ได้เรียกแบบนี้ไปด้วย ในยุคแรกสุด "อวี" และ "จัง" ถูกปกครองโดยพุทธศาสนาทิเบตสองนิกายคือนิกายเกลุกใน "อวี" และ นิกายสักยะ ใน"จัง" สมัยราชวงศ์ชิงแถบนี้ถูกเรียกว่า "เว่ย์จ้าง" (衛藏) และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "ซีจ้าง" (西藏) ระหว่างปี 1906 และ 1913 และในปี 1950 ปันเชนลามะจะขอทวงคืนพื้นที่บริเวณโฮ่วจ้าง แต่ถูกทางรัฐบาลจีนปฏิเสธ [1] : 266–267, 277–286 อ้างอิง
|