Share to:

 

อาเลฟ

อาเลฟ
ا ى
อักษรต่างรูป
ต้นคำ กลางคำ ท้ายคำ
ا‍ ‍ا‍ ‍ا
ى‍ ‍ى‍ ‍ى
อักษรอาหรับ
ه
ประวัติอักษรอาหรับ
เครื่องหมายการออกเสียง
ฟัตฮะฮ์ · กัสเราะฮ์ · ء ·ฎ็อมมะฮ์
เลขอาหรับ

อาเลฟ (อังกฤษ: Aleph) เป็นอักษรตัวแรกของอักษรฮีบรู ตรงกับอักษรอาหรับ (ا; “อลิฟ”) อักษรกรีกอัลฟา” และอักษรละตินA” พัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย ʾāleph ซึ่งมาจากอักษรคานาอันไนต์ ʾalp “วัว” ทางคณิตศาสตร์หมายถึงระดับขั้นของจำนวนอนันต์

อักษรนี้ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง /ʔ/ หรือเสียงสระอา เพื่อแสดงว่าอลิฟนั้นแทนเสียงพยัญชนะหรือสระจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ (ء) ขึ้นมา เรียกว่า ฮัมซะตุลก็อฏอิ ฮัมซะฮ์ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเต็มตัวเท่ากับอักษรอื่น ๆ เพราะมักจะใช้คู่กับตัวพาคือ วาว (و), ยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) และอลิฟ (ا) อลิฟใช้คู่กับฮัมซะฮ์เมื่อเป็นพยางค์แรกของคำและประสมสระเสียงสั้น โดยอยู่ข้างบน (أ) เมื่อเป็นเสียงสระอะหรืออุ และอยู่ข้างล่าง (إ) เมื่อเป็นเสียงสระอิ ถ้าอลิฟเป็นสระเสียงยาวจะไม่แสดงฮัมซะฮ์

ฮัมซะฮ์ชนิดที่ 2 ฮัมซะตุลวัศลิ ใช้เฉพาะกับหน่วยเสียงแรกของคำว่า ال (อัล) อันเป็นคำกำหนดชี้เฉพาะหรือคำในกรณีใกล้เคียงกัน ต่างจากฮัมซะฮ์ชนิดแรกตรงที่ว่า จะถูกยกเลิกเมื่อมีสระอยู่ข้างหน้า ฮัมซะฮ์ชนิดนี้ใช้อะลิฟเป็นตัวพาเท่านั้น ปกติจะไม่เขียนอักษรฮัมซะฮ์ แต่จะเขียนอลิฟเพียงอย่างเดียว

อลิฟมัดดะ (alif madda) ใช้ในกรณีที่อะลิฟ 2 ตัวเขียนติดกัน (เสียงอา) จะเขียนอะลิฟในรูป (آ) เช่น القرآن (อัลกุรอาน)

อลิฟมักศูเราะฮ์ (alif maqsūrah) รูปร่างเหมือนตัวยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอาเช่นเดียวกับอลิฟ

ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนฮัมซะฮ์ด้วย อ์ เมื่อเป็นตัวสะกด

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya