Share to:

 

อำเภอบางกรวย

อำเภอบางกรวย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Kruai
วัดชลอ
คำขวัญ: 
บางกรวยพันธุ์ไม้งาม ลือนามโบสถ์เรือหงส์ ธำรงวัดโบราณ บ้านเกิดไกรทอง ล่องเรือแห่เทียนพรรษา
แผนที่จังหวัดนนทบุรี เน้นอำเภอบางกรวย
แผนที่จังหวัดนนทบุรี เน้นอำเภอบางกรวย
พิกัด: 13°48′18″N 100°28′22″E / 13.80500°N 100.47278°E / 13.80500; 100.47278
ประเทศ ไทย
จังหวัดนนทบุรี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด57.408 ตร.กม. (22.165 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด152,508 คน
 • ความหนาแน่น2,656.56 คน/ตร.กม. (6,880.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 11130
รหัสภูมิศาสตร์1202
ที่ตั้งที่ว่าการหมู่ที่ 8 ถนนบางกรวย-จงถนอม ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางกรวย เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของจังหวัดนนทบุรี และเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ติดกับกรุงเทพมหานคร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงวิถีชีวิตแบบเรือกสวนไร่นาเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ทว่าบางกรวยยังถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญในแง่ต่าง ๆ ของจังหวัดนนทบุรีทั้งในแง่ของการเดินทางที่สะดวกสบายเนื่องจากมีพื้นที่อยู่ติดถนนเส้นหลักหลายสาย รวมไปถึงยังมีร้านอาหารชื่อดังอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัดชลอซึ่งถือเป็นวัดที่โด่งดังมาตั้งแต่สมัยอดีตตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของอำเภอบางกรวยอีกด้วย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบางกรวยตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด 16.86 กิโลเมตร[2] มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ที่มาของชื่ออำเภอ

ชื่ออำเภอบางกรวยตั้งตามชื่อคลองบางกรวยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม สันนิษฐานว่าชื่อ "บางกรวย" มีที่มาจากการที่ตามแนวสองฝั่งคลองสายนี้ในอดีตมีต้นกรวย (Horsfieldia irya) ขึ้นอยู่หนาแน่น[3][4] นอกจากนี้แหล่งข้อมูลบางแห่งยังอธิบายว่าชื่อ "บางกรวย" เป็นชื่อที่ผู้คนเรียกตามรูปพื้นที่อำเภอที่มีลักษณะคล้ายกรวยยื่นเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากอำเภอบางแม่นาง (ปัจจุบันคืออำเภอบางใหญ่) ได้แยกตัวออกไป[3] อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏชื่อคลองบางกรวยและตำบลบางกรวยในเอกสารต่าง ๆ อยู่ก่อนการจัดตั้งกิ่งอำเภอบางแม่นางแล้ว

ประวัติศาสตร์

อำเภอบางใหญ่ ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2447 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่กว้างขวางมาก ต่อมาเจ้าหน้าที่ราชการดูแลไม่ทั่วถึง จึงได้แบ่งเขตการปกครองตำบลบางใหญ่และบางม่วงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางแม่นางใน พ.ศ. 2460 ขึ้นอยู่กับอำเภอบางใหญ่จนถึง พ.ศ. 2464 จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอบางแม่นาง[5] ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอบางใหญ่ตามบริเวณที่ตั้งอำเภอและตามการเรียกของคนสมัยนั้นเป็น อำเภอบางกรวย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พร้อม ๆ กับที่อำเภอบางแม่นางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอบางใหญ่" แทน[6]

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดธนบุรี โดยกำหนดให้โอนพื้นที่ตำบลบางอ้อ ตำบลบางรัก และตำบลบางพลัดของอำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านเหนือของทางรถไฟสายใต้ มาขึ้นกับตำบลบางกรวย; โอนพื้นที่ตำบลบางบำหรุของอำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านเหนือของทางรถไฟสายใต้ มาขึ้นกับตำบลวัดชลอ; โอนพื้นที่ตำบลบางกรวยเฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลบางอ้อ ตำบลบางรัก และตำบลสวนพริกของอำเภอบางพลัด; โอนพื้นที่ตำบลวัดชลอเฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลสวนพริกของอำเภอบางพลัดและตำบลบางบำหรุของอำเภอตลิ่งชัน; โอนพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งใต้ของคลองมหาสวัสดิ์ ไปขึ้นกับตำบลตลิ่งชันของอำเภอตลิ่งชัน และถือเอาทางรถไฟสายใต้ คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดทั้งสองนับแต่นั้น[7]

ครั้นใน พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางกรวยถูกโอนไปเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดธนบุรี[8] แต่ภายหลังก็ได้กลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดนนทบุรีซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นมาอีกครั้งใน พ.ศ. 2489[9]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางกรวยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 60 หมู่บ้าน (หรือ 41 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางกรวยซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

แผนที่
ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[10]
สี
1. วัดชลอ Wat Chalo
10
17,147
 
2. บางกรวย Bang Kruai
9
27,362
 
3. บางสีทอง Bang Si Thong
5
11,625
 
4. บางขนุน Bang Khanun
5
7,243
 
5. บางขุนกอง Bang Khun Kong
6
11,421
 
6. บางคูเวียง Bang Khu Wiang
7
10,715
 
7. มหาสวัสดิ์ Maha Sawat
7
21,944
 
8. ปลายบาง Plai Bang
5
19,616
 
9. ศาลากลาง Sala Klang
6
22,576
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางกรวยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางกรวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดชลอและตำบลบางกรวยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปลายบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูเวียงทั้งตำบล ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 5) และตำบลปลายบางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศาลากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลากลางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางสีทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสีทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขนุนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนกอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขุนกองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปลายบาง)

การคมนาคม

ถนน

ถนนราชพฤกษ์ บริเวณวงเวียนราชพฤกษ์

ถนนสายสำคัญของอำเภอบางกรวย ได้แก่

นอกจากนี้ อำเภอบางกรวยยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 1 แห่ง คือ

ท่าเรือ

ทางราง

อ้างอิง

  1. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 50.
  2. กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  3. 3.0 3.1 สำนักงานเกษตรอำเภอบางกรวย. "ประวัติอำเภอบางกรวย." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bangkruai.nonthaburi.doae.go.th/data/history.html เก็บถาวร 2019-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 สิงหาคม 2562.
  4. สิทธิ กุหลาบทอง และสาวิกา กัลปพฤกษ์. (2553). "ความหลากชนิดของพรรณไม้น้ำในเขตคลองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี." วิทยาศาสตร์เกษตร, 41 (3/1 พิเศษ), 103.
  5. "ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง ตั้งอำเภอบางแม่นาง จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 23–24. 24 เมษายน 2464.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอ เปลี่ยนชื่อและย้ายอำเภอกับโอนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 226–228. 19 ตุลาคม 2473. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2008-05-16.
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตต์จังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. 1 เมษายน 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
  8. "พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๘๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (77 ก): 2447–2449. 10 ธันวาคม 2485. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-31.
  9. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2008-05-16.
  10. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°48′18″N 100°28′22″E / 13.805°N 100.472778°E / 13.805; 100.472778

Kembali kehalaman sebelumnya