อีปอลิต ฟีโซ
อาร์ม็อง อีปอลิต หลุยส์ ฟีโซ (ฝรั่งเศส: Armand Hippolyte Louis Fizeau; 23 กันยายน ค.ศ. 1819 – 18 กันยายน ค.ศ. 1896) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ประวัติอีปอลิต ฟีโซ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1819 เป็นบุตรชายของหลุยส์และเบอาทริส ฟีโซ[1] ผลงานแรกของเขาคือการช่วยปรับปรุงกระบวนการถ่ายภาพ[2] ฟีโซและเพื่อนนักฟิสิกส์อีก 2 คนคือ ฟร็องซัว อาราโก และเลอง ฟูโกได้ร่วมกันศึกษาคุณสมบัติของความร้อนและแสง จนในปี ค.ศ. 1848 ฟีโซก็ได้ทำนายถึงปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางแดง (redshift) หนึ่งปีต่อมา ฟีโซได้ทำการหาค่าอัตราเร็วของแสงจนได้ค่าที่ใกล้เคียงกว่าค่าเดิมของโอเลอ เรอเมอร์ เขาใช้วิธีการฉายแสงไปที่กระจกที่อยู่ห่างออกไป 8 กิโลเมตร โดยให้แสงผ่านช่องว่างระหว่างกงล้อที่หมุนด้วยความเร็ว โดยความเร็วของกงล้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งแสงสะท้อนกลับมายังช่องว่างถัดไป[3] ค่าที่ฟีโซคำนวณได้นั้นเท่ากับ 313,300 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งคลาดเคลื่อนจากค่าปัจจุบัน (299,792.458 กิโลเมตร/วินาที) เพียงห้าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1848 ฟีโซค้นพบปรากฏการณ์ดอปเพลอร์[4] (หลังดอปเพลอร์ค้นพบ 6 ปี) ห้าปีต่อมา เขาก็เริ่มใช้คำว่า capacitor (ตัวเก็บประจุ) เมื่อศึกษาขดลวดเหนี่ยวนำ อีปอลิต ฟีโซ เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1896 ขณะมีอายุได้ 76 ปี อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|