Share to:

 

อีริค เปเวอร์นากี

อีกห้องว่างเปล่า Erik Pevernagie (80 x 100 ซม) , น้ำมันบนผ้าใบ

อีริค เปเวอร์นากี (ฝรั่งเศส: Erik Pevernagie) (เกิดใน ปี ค.ศ 1939) เป็นจิตกรชาวเบลเยี่ยมที่ได้เคยจัดนิทรรศการในปารีส นิวยอร์ก เบอร์ลิน อัมสเตอร์ดัม ลอนดอน

ประวัติ

อีริคเติบโตในกรุงบลัสเซล ซึ่งเป็นเมืองที่มีการผสมผสานกันระหว่างสองวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว (ระหว่างละตินกับเยอรมัน) เค้าเป็นทั้งลูกชายและลูกศิษย์ของจิตกรซึ่งนับถือลัทธิเอ็คซพเรฌ-อะนิส ชื่อ หลุย เปเวอร์นากี (มีชีวิต ระหว่าง ค.ศ 1904 – 1970). หลังจากที่ได้เพิ่มพูนความรู้ในเรื่องชนชาติแองโกรแซ็คซันและทิวทอนิกอันเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมแล้ว อีริคยังได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทภาษาศาสตร์ในด้านภาษาทิวทอนิกจาก Free University of Brussels (ค.ศ 1961). อีริคได้เดินทางไปทั่วโลกและคว้าปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ จึงได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย

ผลงาน

อีริคได้ร่วมเป็นหนึ่งในพยานสำหรับทศวรรษของเรา เค้าเฝ้ามองดูเหตุการณ์ทั่วทุกมุมโลกแล้วถ่ายทอดเป็นหลักฐานลงบนผืนผ้าใบ เค้าวาดเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นตามที่ได้เห็นทุกๆวันแสดงออกถึงความประทับใจที่เกิดขึ้นจากความทรงจำ และแสดงให้เราเห็นถึงจินตนาการที่วกวนและถ่ายถอดประสบการณ์จากเรื่องราวรอบตัวออกมาเป็นภาพเขียน ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้แทนที่จะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพเหมือนจริงแต่ อีริคกลับใช้รูปแบบการถ่ายถอดออกมาเป็นลายเส้นตรงและรูปทรงเลขาคณิตเป็นส่วนใหญ่

ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ผลงานของ เปเวอร์เนกี ได้ถูกร่างออกมาเป็นสิ่งสะท้อนจากความทรงจำรวมหมู่ของพวกเรา สำหรับอีริคแล้ว ศิลปะจะถูกพบเห็นได้จากกิจกรรมทางสังคม และเค้าพบว่างานศิลปะเป็นตัวเชื่อมและติดต่อสื่อสารระหว่างคนในสังคมอีกด้วย ศิลปะเป็นตัวสร้างสรรค์ให้เกิดอารมณ์ และยิ่งไปกว่านั้น มันยังเป็นพลังในการส่งเสริมสติปัญญาและจินตนาการได้ด้วย

อีริคกล่าวว่างานศิลปะของเค้าเริ่มจากองค์ประกอบที่เป็นจริงซึ่งพบเห็นจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เค้าได้ถ่ายทอดมันลงในภาพเขียนและได้ให้คำอธิบายที่เฉพาะเจาะจงแต่ในขณะเดียวกันมันกลับมีความหมายสองนัย สำหรับเปเวอร์นากีแล้ว ความเป็นจริงคือจุดเริ่มต้นในงานศิลปะของเค้าแต่ไม่ใช้จุดมุ่งหมาย มันถูกเปลี่ยนเป็นรูปของปริศนา ซึ่งได้ซ่อนการตีความหมายเอาไว้ในผลงานนั้นๆ

คำนิยม

อีริค เปเวอร์นากี

อีริค เปเวอร์นากี เป็นที่รู้จักโดยส่วนใหญ่ในเรื่องการผสมผสานกันระหว่างภาพศิลปะที่แสดงเป็นรูปร่างและเป็นแบบไม่มีตัวตนในงานเขียน เริ่มด้วยภาพร่างที่เป็นเลขาคณิตแบบง่ายๆ แล้วสร้างพื้นผิวด้วยวัสดุต่างเช่น ขี้เถ้า ทราย หรือ ชิ้นส่วนของโลหะ (Doyle New York)

“รูปคน” มักจะมีอยู่ในงานของเขา และรูปคนก็จะผสมผสานเอาสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติของตัวเขาเองลงไปด้วยจนบางครั้งก็หมกมุ่นเกินไป ในอีกด้านหนึ่งเปเวอร์เนกีก็ดูเหมือนจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเค้าได้เขียนภาพบนกำแพงในที่สาธารณะ โดยเขาได้แสดงให้เห็นถึงความโดดเดี่ยวของมนุษย์ ความวิกลจริตของวิถีของคนเมือง (Benezit Dictionary of Artists, Paris)

การประสานช่องว่างระหว่างช่วงอายุหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ชนชั้นของสังคม และช่องว่างระหว่างเชื่อชาติคือกลอุบายทางธุรกิจ แต่ถึงอย่างงั้นอีริค เปเวอร์นากีก็ยังเป็นที่ชื่นชอบจากผลและทฤษฎีง่ายๆในการลดความวิกลจริตเหล่านั้นลง (International Herald Tribune) ในการปฏิเสธที่ให้ตัวละครในภาพแสดงออกทางท่าทางและทิ้งหลักฐานอย่างง่ายๆไว้ให้คิดตาม ศิลปินได้จำลองภาพของความสับสนของความคิดและการเป็นคนแอนตี้ฮีโร่ของเค้าได้ทำผลงานออกมาแบบบริสุทธิปราศจากอคติและตัดองค์ความรู้ทั้งหมดที่เคยได้เรียนรู้มาออกไป Christie's, New York,Catalogue)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya