อุทกภาคอุทกภาค (จากภาษาบาลี "อุทก" แปลว่า น้ำ, "ภาค" แปลว่า ส่วน รวมกันหมายถึงส่วนที่เป็นน้ำ[1]) ในวิชาภูมิศาสตร์กายภาพหมายถึง แหล่งที่น้ำจำนวนมากมาอยู่รวมกันบนหรือใต้ผิวโลก อีกอร์ ชีโคลมานอฟ ผู้ถูกคัดเลือกโดยองค์การสหประชาชาติให้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ได้ประเมินว่าบนโลกมีน้ำทั้งสิ้น 1,386 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร[2] ซึ่งรวมถึงน้ำในรูปของเหลว ของแข็ง น้ำบาดาล ธารน้ำแข็ง มหาสมุทร ทะเลสาบ และแม่น้ำ โดยร้อยละ 97.5 ของน้ำทั้งหมดบนโลกเป็นน้ำเค็ม น้ำจืดมีอยู่เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และร้อยละ 68.7 ของน้ำจืดก็อยู่ในรูปของน้ำแข็งและหิมะปกคลุมบริเวณอาร์กติก แอนตาร์กติกา และในเขตภูเขา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 29.9 อยู่ในรูปของน้ำบาดาล ร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นสาธารณูปโภคได้ ซึ่งสามารถพบน้ำเหล่านี้ใต้ในทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และระบบแม่น้ำต่าง ๆ[2] มวลทั้งหมดของน้ำบนโลกอยู่ที่ประมาณ 1.4 × 1018 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.023 ของมวลโลกทั้งหมด ประมาณ 20 × 1012 ตันของน้ำทั้งหมดนั้นอยู่ในบรรยากาศของโลก (โดยน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักเท่ากับ 1 ตัน) ประมาณร้อยละ 75 ของผิวโลกทั้งหมดหรือประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตรนั้นเป็นมหาสมุทร ค่าความเค็มเฉลี่ยของมหาสมุทรในโลกนั้นอยู่ที่ประมาณ 35 ของเกลือหนึ่งกรัมต่อน้ำทะเลหนึ่งกิโลกรัม (ร้อยละ 3.5)[3] ดูเพิ่มอ้างอิง
|