ฮีโมโกลบิน
ฮีโมโกลบิน หรือ เฮโมโกลบิน คือส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงและช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญของเฮโมโกลบินคือ ฮีม (Heme) ซึ่งเป็นสารประกอบโคออร์ดิเนชันที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน องค์ประกอบที่ 2 คือ โกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนเส้นยาวขดพันกันอยู่ โดยแต่ละสาย มีฮีมติดอยู่ 1 อณู เฮโมโกลบิน 1 โมเลกุล จึงประกอบด้วยฮีม 4 อณู และสายโกลบิน 4 สาย สายโกลบินสายโกลบินมีอย่างน้อย 4 ชนิด มีชื่อเรียกว่า
ผู้ใหญ่ปกติมีเฮโมโกลบิน 3 ชนิด โดยมีส่วนประกอบและปริมาณดังนี้ เฮโมโกลบิน เอ (Hb A) ประกอบด้วย สายแอลฟา 2 สาย กับ สายบีตา 2 สาย(a2b2) พบประมาณร้อยละ 96 เฮโมโกลบิน เอฟ (Hb F) ประกอบด้วย สายแอลฟา 2 สาย กับ สายแกมมา 2 สาย (a2g2) พบประมาณร้อยละ 1 เฮโมโกลบิน เอ 2 (Hb A2) ประกอบด้วย สายแอลฟา 2 สาย กับ สายเดลตา 2 สาย (a2d2) พบประมาณร้อยละ 3 การใช้ตรวจวินิจฉัยการตรวจวัดความเข้มข้นของฮีโมโกลบินเป็นการตรวจเลือดที่ทำกันบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจที่เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ และยังเป็นการตรวจแยกต่างหากที่ทำได้อย่างรวดเร็ว ณ จุดบริการ เช่น ก่อนการบริจาคเลือด เป็นต้น หน่วยของผลการตรวจมักรายงานเป็น กรัมต่อลิตร หรือ กรัมต่อเดซิลิตร หรือ โมลต่อลิตร โดยฮีโมโกลบิน 1 กรัมต่อลิตร เท่ากับประมาณ 0.6206 มิลลิโมลต่อลิตร ทั้งนี้การรายงานหน่วยเป็นโมลไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากมีความไม่แน่นอนที่เป็นผลจากสถานะทางโพลิเมอร์ของโมเลกุล[1]
|