Share to:

 

เกาะซุมบาวา

ซุมบาวา
ซุมบาวาตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
ซุมบาวา
ซุมบาวา
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด8°47′S 118°5′E / 8.783°S 118.083°E / -8.783; 118.083
กลุ่มเกาะหมู่เกาะเลสเซอร์ซุนดา
พื้นที่15,414.50 ตารางกิโลเมตร (5,951.57 ตารางไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 57
ระดับสูงสุด2,850 ม. (9350 ฟุต)
จุดสูงสุดเขาตัมโบรา
การปกครอง
อินโดนีเซีย
จังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก
ประชากรศาสตร์
ประชากร1,604,477 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2022)
ความหนาแน่น104.09/กม.2 (269.59/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์ซุมบาวา, บีมา

ซุมบาวา (อินโดนีเซีย: Sumbawa) เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่เกาะซุนดาน้อย โดยทางตะวันตกติดกับเกาะลมบก ทางตะวันออกติดกับเกาะโฟลเร็ซ และทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเกาะซุมบา เกาะนี้กับเกาะลมบกอยู่ในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก แต่รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะแยกเกาะเหล่านี้ออกเป็นจังหวัดต่างหาก[1] เกาะเต็มไปด้วยภูเขา ยอดสูงสุดเป็นภูเขาไฟชื่อ กูนุงตัมโบรา อยู่ที่ปลายสุดของคาบสมุทรทางตอนเหนือ มีดินอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเมืองร้อนได้ดีหลายชนิด

เดิมเกาะนี้เป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมา แตกออกเป็นรัฐขนาดเล็กหลายแห่ง เริ่มติดต่อกับฮอลันดาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อ ค.ศ. 1815 ภูเขาไฟกูนุงตัมโบราเกิดปะทุอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนเสียชีวิตและไร้ที่อยู่อาศัยหลายหมื่นคน จึงมีการอพยพผู้คนจากเกาะใกล้เคียงเข้ามาอยู่อาศัยแทน ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฮอลันดาได้เข้ามาปกครอง ถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียเมื่อได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1950

เกาะซุมบาวามีพื้นที่ (รวมเกาะเล็กนอกชายฝั่ง) 15,414.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,951.57 ตารางไมล์ (ขนาดเป็น 3 เท่าของเกาะลมบก) มีประชากร 1,561,461 คน (ตามสำมะโน ค.ศ. 2020)[2] ส่วนจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง ค.ศ. 2022 อยู่ที่ 1,604,477 คน[3] เกาะเป็นเขตแดนระหว่างเกาะทางทิศตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาและวัฒนธรรมที่เผยแพร่จากอินเดีย และภูมิภาคทางตะวันออกที่ได้รับอิทธิพลน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กับทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม

ศัพทมูลวิทยา

ซุมบาวา (Sumbawa) เป็นรูปแผลงภาษาโปรตุเกสจากชื่อท้องถิ่นว่า Sambawa (ยังคงพบในภาษามากัซซาร์, cf. หรือ Semawa ในภาษาซุมบาวา) ชื่อนี้น่าจะมาจากภาษาสันสกฤตว่า śāmbhawa (शम्भु) หมายถึง 'มีความเกี่ยวข้องกับ Śambhu (= 'ผู้ทรงเมตตา', พระนามของพระศิวะ)'[4]

เขตบริหาร

เกาะซุมบาวาแบ่งเขตบริหารออกเป็น 4 อำเภอ และ 1 นคร ดังนี้:

ชื่อ เมืองหลัก พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
ประชากร
สำมะโน
2010
ประชากร
สำมะโน
2020
ประชากร
ประมาณการ
กลาง 2022
นครบีมา บีมา 207.50 142,579 155,140 157,362 0.722 (สูง)
อำเภอบีมา โวฮา 4,389.40 439,228 514,105 527,952 0.626 (ปานกลาง)
อำเภอดมปู ดมปู 2,324.60 218,973 236,665 239,781 0.635 (ปานกลาง)
อำเภอซุมบาวา ซุมบาวาเบอซาร์ 6,643.98 415,789 509,753 527,607 0.628 (ปานกลาง)
อำเภอซุมบาวาตะวันตก
(Sumbawa Barat)
ตาลีวัง 1,849.02 114,951 145,798 151,775 0.671 (ปานกลาง)
รวม 15,414.50 1,331,520 1,561,461 1,604,477

ปัจจุบันรัฐบาลอินโดนีเซียพิจารณาแบ่งจังหวัดนูซาเติงการาบารัตออกไปเป็นจังหวัด เกาะซุมบาวา ใหม่[5] แต่ไม่มีข้อมูลว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อส่วนของจังหวัดในปัจจุบัน (อำเภอในเกาะลมบก) หรือไม่

ประชากร

ชาวมากัซซาร์จากเกาะซูลาเวซีเป็นผู้นำศาสนาอิสลามเข้ามาในเกาะนี้

ประชากรบนเกาะ (รวมเกาะเล็กรอบนอก) มี 1.56 ล้านคนตามสำมะโนใน ค.ศ. 2020 เทียบเท่า 29.46%[2] ของประชากรทั้งจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตกที่มี 5.32 ล้านคน[6] จำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง ค.ศ. 2022 มีมากกว่า 1.6 ล้านคน

เนื่องจากขาดโอกาสที่จะได้งานบนเกาะและเกิดภัยแล้งบ่อยครั้ง[7] ทำให้หลายคนไปทำงานเป็นกรรมกรหรือแรงงานทำงานบ้านในตะวันออกกลาง แรงงานประมาณ 500,000 คน หรือมากกว่า 10% ของประชากรทั้งจังหวัด ออกไปทำงานต่างประเทศ[8]

อ้างอิง

  1. Jakarta Post, 14 November 2013
  2. 2.0 2.1 Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  3. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
  4. Noorduyn, J. (1987). "Makasar and the islamization of Bima". Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde. 143 (2/3): 312–342. doi:10.1163/22134379-90003330. JSTOR 27863842. Sumbawa is a Portuguese corruption, Cumbava or Cimbava, of the original name Sambawa - possibly deriving from Sham- bhawa (Van Naerssen 1938:92) 'related to Shambhu', i.e. God Shiva
  5. Officials support new province for Sumbawa | The Jakarta Post
  6. "Indonesia (Urban City Population): Provinces & Cities - Statistics & Maps on City Population". Citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 15 September 2014.
  7. "Local Government Asks People to Be Careful of Drought Hazard Threats". Gaung NTB. March 30, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2012.
  8. Frode F. Jacobsen (2009). Hadrami Arabs in Present-day Indonesia: An Indonesia-oriented Group with an Arab Signature. Routledge. p. 30. ISBN 978-1-134-01852-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya