Share to:

 

เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด

เคาะดีญะฮ์
มารดาแห่งผู้ศรัทธา
(อาหรับ): خديجة
เกิดเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด
ค.ศ.555[1]
เสียชีวิต10 เราะมะฎอน 3 ปีก่อนฮิจเราะฮ์ศักราช[2]
22 พฤศจิกายน ค.ศ.619 (อายุ 63–64)
มักกะฮ์
สุสานญันนะฮ์ อัล-มุอัลลา, มักกะฮ์
ชื่ออื่นเคาะดีญะฮ์ อัล-กุบรอ
คู่สมรสอะตีก อิบน์ อัยด์
มาลิก อิบน์ นาบัช
มุฮัมมัด
บุตรฮินด์ บินต์ อะตีก
อับดุลเลาะฮ์ อิบน์ อะตีก
ฮาละฮ์ อิบน์ อบีฮาละฮ์
ฮินด์ อิบน์ อบีฮาละฮ์
ซํยนับ บินต์ อบีฮาละฮ์
กอซิม อิบน์ มุฮัมมัด
อับดุลเลาะฮ์ อิบน์ มุฮัมมัด
ซัยนับ อิบน์ มุฮัมมัด
รุก็อยยะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด
อุมมุกัลษุม บินต์ มุฮัมมัด
ฟาฏิมะฮ์
บิดามารดาคุวัยลิด อิบน์ อะซัด
ฟาติมะฮ์ บินต์ ซัยดะฮ์
ญาติอะซัด อิบน์ อับดุลอุซซา (ปู่)
ฮาละฮ์ บินต์ คุวัยลิด (พี่/น้องสาว)
วารอกะฮ์ อิบน์ เนาฟัล (ลูกพี่ลูกน้อง)

เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด (อาหรับ: خديجة بنت خويلد; ค.ศ. 555[1]– 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 619) เป็นทั้งภรรยาและสาวกคนแรกของนบีมุฮัมมัด และมุฮัมมัดแต่งงานกับเธอแล้วอยู่ด้วยกันเป็นเวลา 25 ปี

ก่อนแต่งงานกับมุฮัมหมัด

เธอแต่งงานสามครั้งและมีลูกกันสามครั้ง โดยครั้งแรกเธอแต่งงานกับอะตีก อิบน์ อัยด์ อิบน์ อับดุลลอฮ์ อัล-มัคซูมี และครั้งที่สองกับมาลิก อิบน์ นาบัช อิบน์ ซัรราระฮ์ อิบน์ อัต-ตามีมี[3] โดยเธอมีลูกกับสามีคนที่สอง และเธอตั้งชื่อลูกชายทั้งสองว่า ฮาละฮ์ และฮินด์ ถึงแม้ว่าชื่อนี้จะเป็นชื่อสำหรับผู้หญิงก็ตาม[4] และเขาเสียชีวิตก่อนที่จะค้าขายเสร็จ[5] ส่วนสามีคนแรก เธอมีลูกสาวชื่อ ฮินดะฮ์ และการแต่งงานครั้งนี้ทำให้เธอกลายเป็นหญิงหม้าย[6]

เคาะดีญะฮ์เป็นผู้ค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก[7] แต่เธอไม่ได้ควบคุมคารวาน เธอจึงจ้างคนอื่นเพื่อควบคุมคารวานของเธอแทน

ในปี ค.ศ.595 เคาะดีญะฮ์ต้องการคนคุมคารวานสินค้าไปที่ซีเรีย อบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ ได้แนะนำให้มุฮัมหมัด อิบน์ อับดุลลอฮ์เป็นผู้ควบคุมคารวานโดยที่ท่านได้สมญานามว่า อัส-ซอดีก ("ผู้สุจริต") และ อัล-อะมีน ("เชื่อถือได้" หรือ "ซื่อสัตย์")[8]เคาะดีญะฮ์จึงจ้างมุฮัมหมัด ขณะมีอายุ 25 ปี โดยเธอจ่ายค่าจ้างเป็นสองเท่าของปกติ[9] พร้อมส่งมัยซารอฮ์ไปช่วยเหลือเขา

หลังจากกลับมาที่มักกะฮ์ มัยซารอฮ์บอกว่ามุฮัมหมัดทำรายได้เป็นสองเท่าของที่ลงทุน พร้อมกับบอกว่าระหว่างที่เดินทางกลับ มุฮัมหมัดได้หยุดพักที่ต้นไม้และนั่งพักตรงนั้น บาทหลวงเนสโทราได้บอกกับมัยซารอฮ์ว่า "ไม่มีใครที่จะนั่งใต้ต้นไม้นอกจากท่านศาสดา"[10]

แต่งงานกับมุฮัมหมัด

ภาพเคาะดีญะฮ์ในหนังสือโปรมป์ตูอาริอูงอีโกนูงอีงซิงนิออรูง

เคาะดีญะฮ์วางใจให้กับนาฟีซาให้ถามมุฮัมหมัดว่าจะแต่งงานหรือไม่[11] เมื่อมุฮัมหมัดได้รอเพราะไม่มีเงินสินสอดให้กับภรรยา นาฟีซาจึงถามว่าเป็นไปได้ไหมถ้าจะแต่งงานกับภรรยาที่ดูแลตนเองได้[12] มุฮัมหมัดจึงตกลงที่จะไปพบกับเคาะดีญะฮ์ และหลังจากพบกันแล้วจึงปรึกษากับลุงของแต่ละฝ่าย และทั้งคู่ตกลงให้มุฮัมหมัดกับเคาะดีญะฮ์แต่งงานกัน[10]

สาวกคนแรกของมุฮัมหมัด

มีรายงานจากชาวซุนนี ความว่าในขณะที่มุฮัมหมัดได้รับพระวจนะครั้งแรกกับญิบรีลในถ้ำฮิรอ เขากลับมาที่บ้านในสภาพที่กำลังกลัวแล้วบอกเธอว่าให้ห่มเขาด้วยผ้าห่ม หลังจากที่ใจเย็นแล้ว เคาะดีญะฮ์ได้พูดกับมุฮัมหมัดว่า: "อัลลอฮ์จะปกป้องเจ้าจากอันตรายทั้งปวง และจะไม่ให้ใครที่จะต่อว่าเขา ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนที่นำมาซึ่งสันติภาพ...และมิตรภาพ"[5] เคาะดีญะฮ์จึงเป็นคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม[13] บางรายงานเขียนว่า วารอกะฮ์ อิบน์ เนาฟัล ได้ยอมรับการเป็นศาสดาของมุฮัมหมัดทีหลัง[14]

เสียชีวิต

ที่เก็บศพของเคาะดีญะฮ์ในสุสานญันนะตุลมุอัลลา ก่อนที่จะถูกทำลายโดยกองกำลังซะอูด

เคาะดีญะฮ์เสียชีวิตในเดือนรอมฎอน "10 ปี หลังจากเป็นศาสดา"[15] (ประมาณเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ.620) มุฮัมหมัดได้เรียกปีนี้ว่า "ปีแห่งความเศร้าโศก" เนื่องจากอบูฏอลิบก็เสียชีวิตในเดือนนี้เช่นกัน[16] มีรายงานว่าเคาะดีญะฮ์เสียชีวิตตอนอายุ 65 ปี[17] และศพของเธอถูกฝังที่สุสานญันนะฮ์ อัล-มุอัลลาในเมืองมักกะฮ์[18]

หลังจากเธอเสียชีวิต มุฮัมหมัดได้เผชิญกับผู้ปฏิเสธคำสอนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ คนที่เคยเข้ารับอิสลามกลับไปนับถือศาสนาเดิม และมีบางเผ่าที่ทำร้ายศาสดาโดยการขว้างหินและใช้ความรุนแรงเป็นการตอบโต้[19]

ครอบครัว

ลูกชาย

ลูกสาว

ลูกหลานของมุฮัมหมัดที่ยังคงมีชีวิตเพื่อสืบสกุลต่อไปคือลูกของฟาติมะฮ์, ฮะซัน และฮุซัยน์[24]

มุมมองของซุนนี

ยูซุฟ อิบน์ อับดุลบัรร์ นักวิชาการของนิกายซุนนีได้กล่าวว่า "เขามีลูกกับเคาะดีญะฮ์โดยมีลูกสาวแค่ 4 คน..."[25]

ส่วนอัลกุรอ่าน ซูเราะฮ์ที่33:59 อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า:[26]

"โอ้นะบีเอ๋ย ! จงกล่าวแก่บรรดาภริยาของเจ้า และบุตรสาวของเจ้า และบรรดาหญิงของบรรดาผู้ศรัทธา") ..."

มุมมองของชีอะฮ์

รายงานจากข้อมูลของชีอะฮ์เขียนว่า เคาะดีญะฮ์มีลูกสาวแค่คนเดียว นั่นคือฟาติมะฮ์ ส่วนอีกสองคนนั้นอาจจะเป็นพี่น้องของเคาะดีญะฮ์หรือลูกสาวจากสามีสองคนที่แล้ว อบูกอซิม อัลกูฟี นักวิชาการของนิกายชีอะฮ์ได้เขียนว่า:

เมื่อศาสนทูตของอัลลอฮ์แต่งงานกับเคาะดีญะฮ์... หลังจากนั้นฮาละฮ์เสียชีวิต จึงเหลือแค่ลูกสาวสองคน คนหนึ่งชื่อซัยนับ และอีกคนชื่อรุก็อยยะฮ์ แล้วทั้งคู่จึงถูกเลี้ยงดูโดยมุฮัมหมัดกับเคาะดีญะฮ์...[27]

พี่/น้องสาว

ลูกพี่ลูกน้อง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Cheema, Waqar Akbar (4 December 2017). "The Age of Khadija at the Time of her Marriage with the Prophet: Abstract". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  2. Sayyid Ali Ashgar Razwy. "The Birth of Muhammad and the Early Years of his Life". สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
  3. al-Tabari (1990). Volume 9: The Last Years of the Prophet. State University of New York Press.
  4. "Khadija".
  5. 5.0 5.1 "Islams Women".
  6. "Khadija bint Khuwaylid at the Tree of Faith". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07.
  7. Muhammad ibn Saad, Tabaqat vol. 8. Translated by Bewley, A. (1995). The Women of Madina, p. 10. London: Ta-Ha Publishers.
  8. Martin Lings, Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources, p. 33–34
  9. Muhammad ibn Saad, Tabaqat vol. 1. Translated by Haq, S. M. Ibn Sa'ad's Kitab al-Tabaqat al-Kabir, p. 145–146. Delhi: Kitab Bhavan.
  10. 10.0 10.1 Guillaume (1955). The Life of Muhammad. Oxford.
  11. Lings (1983). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. New York: Inner Traditions Internationalist. p. 83.
  12. Lings (1983). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Inner Traditions Internationalist.
  13. Guillaume. The Life of Muhammad. Oxford. p. 111.
  14. "Khadijah, Daughter of Khuwaylid, Wife of Prophet Muhammad". Al-Islam.org.
  15. Tabari, Tarikh al-Rusul wa'l-Muluk. Translated by Landau-Tasseron, E. (1998). Vol. 39, Biographies of the Prophet's Companions and Their Successors, p. 161. New York: SUNY Press.
  16. Guillaume. The Life of Muhammad. Oxford. p. 191.
  17. "Chapter 12: The Death". Al-Islam.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  18. Muhammad, Farkhanda Noor.Islamiat for Students เก็บถาวร 2009-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Revised Edition 2000: pp. 74–75.
  19. Qasimi, Ja'Far (1987). The Life, Traditions, and Sayings of the Prophet. New York: Crossroad. pp. 77–78.
  20. Guillaume. The Life of Muhammad. Oxford. p. 792.
  21. Muhammad ibn Saad, Tabaqat vol. 8. Translated by Bewley, A. (1995). The Women of Madina p. 9. London: Ta-Ha Publishers.
  22. Tabari, Tarikh al-Rusul wa'l-Muluk. Translated by Landau-Tasseron, E. (1998). Biographies of the Prophet's Companions and Their Successors vol. 39 p. 80. New York: SUNY Press.
  23. Shariati, Ali (1981). Ali Shariati's Fatima Is Fatima. Tehran, Iran: Shariati Foundation.
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wiebke108
  25. al-Istī`āb fī Ma`rifat al-Aşĥāb Yusuf ibn abd al-Barr, The Comprehensive Compilation of the Names of the Prophet's Companions vol. 1, p. 50
  26. อัลกุรอาน 33:59
  27. al-Istighathah, p. 69
  28. Robinson, C. F. (2012). Encyclopedia of Islam, Second Edition. ISBN 9789004161214. สืบค้นเมื่อ 25 April 2017.
  29. Ishaq, Ibn (2001). The Life of Muhammad (Reprint ed.). Karachi ; New York:: Oxford University Press. ISBN 0196360331.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)

เว็บที่เชื่อมโยง

Kembali kehalaman sebelumnya