เจ้าจอมมารดากลีบ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมมารดากลีบ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยต้องโทษคดีทำเสน่ห์ยาแฝดพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองสุโขทัย ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานอภัยโทษให้ และให้กลับไปอยู่สุโขทัยตามเดิม ประวัติเจ้าจอมมารดากลีบ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นธิดาของเจ้าบ้านผ่านเมือง หรือกรมการเมือง หรือบิดาเป็นผู้มีเชื้อสายเมืองสุโขทัย เพราะหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้วได้กลับไปอยู่ที่สุโขทัย เจ้าจอมมารดากลีบได้ถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ หลังจากพระราชสวามีได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว หม่อมกลีบ จึงเลื่อนเป็น เจ้าจอมมารดากลีบ เจ้าจอมมารดากลีบเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 4 ความว่า[1] "วังหน้า เปนหนุ่มแข็งแรง ขี่ช้างน้ำมัน ขี่ม้าเทศสูงสามศอกเศษ ยิงปืนทุกวัน ชอบการทหารมาก มีวิทยาคมดี ฤๅษีมุนี แพทย์หมอมีวิทยานับถือเข้าอยู่ด้วยมาก ผู้หญิงก็รักมาก เลี้ยงลูกเมียดี เจ้ากลีบเปนพระมเหษี เฮอมายิสตีข้างใน..." เนื่องด้วยมีฝีมือทำอาหาร จึงได้เป็นนายห้องเครื่อง คือเป็นหัวหน้าห้องครัววังหน้าด้วย แต่แล้วมีผู้มากราบทูลว่าเจ้าจอมมารดากลีบทำเสน่ห์ยาแฝด จึงได้โปรดคณะตระลาการในบวรพระราชวัง ไต่สวนชำระความ แต่หลังการไต่สวนก็โปรดฯให้เจ้าจอมมารดากลีบพ้นจากหน้าที่ห้องเครื่อง ให้ พระยาราชโยธามาคุมแทน ส่วนเครื่องเสวยก็ให้ผู้ชายทำทั้งหมด ป้องกันมิให้มีเรื่องนินทาเช่นนี้เกิดขึ้นอีก[2] ต่อมาทรงประชวรเสวยพระกระยาหารไม่ได้ เหล่าข้าราชบริพารหลายคนจึงกราบทูลเสนอให้เจ้าจอมมารดากลีบกลับเข้ามาทำเครื่องเสวยใหม่ ข้าราชการเข้าชื่อกันค้ำประกัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงรับสั่งให้เจ้าจอมมารดากลีบกลับเข้ามาคุมห้องเครื่องทำพระกระยาหารให้เสวยตามเดิม พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังคงประชวรไม่หาย วันหนึ่งเจ้าจอมมารดากลีบทำก๋วยเตี๋ยวไปถวาย ก็ทอดพระเนตรเห็นขนเส้นหนึ่งอยู่ในชามก๋วยเตี๋ยว จึงเกิดความคลางแคลงพระทัยขึ้นมาอีก[3] ในเดือนต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเยี่ยมอาการประชวรของพระอนุชา พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงกราบบังคมทูลเรื่องสงสัยว่าเจ้าจอมมารดากลีบจะทำเสน่ห์ยาแฝด[4] ขอพระราชทานให้คณะตระลาการวังหลวงไต่สวน คณะตระลาการวังหลวงก็ลงความเห็นว่า เจ้าจอมมารดากลีบทำเสน่ห์ยาแฝดจริง เหล่าลูกขุนจึงปรึกษาโทษว่า ให้ริบราชบาทว์ลงพระราชอาญาเฆี่ยนแล้วให้นำไปประหารชีวิตเสีย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงคลางแคลงพระทัยว่า เรื่องที่เจ้าจอมมารดากลีบทำเสน่ห์นี้คงจะไม่ใช่เป็นเรื่องจริง และไม่ได้เกี่ยวกับอาการประชวรของพระอนุชา จึงทรงพระราชหัตถ์เลขาให้งดโทษประหารไว้ทั้งหมด เนรเทศเจ้าจอมมารดากลีบไปอยู่สุโขทัย[5] พระราชโอรส-พระราชธิดาเจ้าจอมมารดากลีบมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว 9 พระองค์[6] (บ้างว่า 12 พระองค์)[3] ได้แก่
อ้างอิง
|