Share to:

 

เซอร์วัล

เซอร์วัล
เซอร์วัล
ส่วนหัว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
วงศ์ย่อย: Felinae
สกุล: Leptailurus
Severtzov, 1858
สปีชีส์: L.  serval
ชื่อทวินาม
Leptailurus serval
(Schreber, 1776)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีเขียวเข้ม–ที่อยู่ในปัจจุบัน, สีเขียวอ่อน–สูญพันธุ์)
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Caracal serval (Schreber, 1776)
  • Felis serval Schreber, 1776

เซอร์วัล (อังกฤษ: serval, serval cat;[2] ชื่อวิทยาศาสตร์: Leptailurus serval) สัตว์กินเนื้อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae)

ลักษณะ

เป็นแมวป่าหรือเสือขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Leptailurus

คำว่า "เซอร์วัล" (serval) มาจากภาษาโปรตุเกสแปลว่า "กวางหมาป่า" เนื่องจากมีลักษณะเด่นคือ มีคอยาว หูใหญ่ หัวเล็ก ทำให้แลดูคล้ายกวาง จัดเป็นแมวป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และมีสายพันธุกรรมใกล้เคียงกับคาราคัล[3]

เซอร์วัลเมื่อมองจากระยะไกลจะทำให้แลดูคล้ายเสือชีตาห์ขนาดเล็ก เนื่องจากลำตัวมีลายจุดเหมือนกัน มีส่วนขาที่ยาวเหมือนกัน แต่ทว่ามีใบหูที่ใหญ่กว่าแต่หางสั้น เซอร์วัลตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 10–16 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 8–12 กิโลกรัม ความสูงจากอุ้งตีนถึงหัวไหล่ 55–60 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 65–100 เซนติเมตร ความยาวหาง 25–40 เซนติเมตร อายุขัยเฉลี่ย 8–10 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 18–24 เดือน ระยะเวลาตั้งท้องนาน 67–77 วัน ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว ส่วนใหญ่ 2 ตัว หย่านมเมื่ออายุได้ 3 เดือน ลูกเซอร์วัลจะเป็นอิสระจากแม่เมื่ออายุได้ 6–8 เดือน[3]

เซอร์วัลมีพฤติกรรมอาศัยและหากินอยู่ตามลำพังในพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้าใกล้แหล่งน้ำ เช่น ลำธาร, หนอง, บึง ในแถบแอฟริกาตะวันออก โดยล่าหนู, นก, กระต่ายป่า, กบ รวมถึงกิ้งก่าหรือจิ้งจกเป็นอาหาร แต่เซอร์วัลเองก็ถูกล่าโดยเสือดาวและไฮยีน่าเป็นอาหารเหมือนกัน เซอร์วัลขนาดเล็กที่ยังไม่โตเต็มที่ก็ถูกล่าโดยสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า เช่น พังพอนขนาดใหญ่, อินทรีขนาดใหญ่ และงู[2]

เซอร์วัล บางตัวพบเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัวเหมือนเสือดำ เพราะมีความผิดปกติของเมลานิซึมในเม็ดสีเช่นเดียวกัน [4] โดยเฉพาะเซอร์วัลที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูงในเคนยา เช่น อาร์เบอร์แดร์ เป็นไปได้ว่าเพราะสภาพแวดล้อมในที่สูงคู่แข่งในการแย่งชิงอาหารมีน้อยกว่าที่ราบ จึงไม่ต้องมีลายจุดหรือลายพรางในการซ่อนตัว [5] รวมถึงสีดำยังช่วยดูดซับความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอุณหภูมิบนภูเขาสูงหนาวเย็นกว่าที่ราบ[6]

ด้านหลัง

การจำแนก

แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ดังนี้[7] [3]

การผสมข้ามพันธุ์

เซอร์วัล ได้ถูกผสมข้ามสายพันธุ์กับแมวบ้าน ลูกที่ออกมาเป็นแมวพันทางสายพันธุ์ที่เรียกว่า แมวสะวันนา[8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Breitenmoser, C., Henschel, P. & Sogbohossou, E. (2008). Leptailurus serval. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 22 March 2009. Database entry includes justification for why this species is of least concern
  2. 2.0 2.1 2.2 ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. ISBN 978-616-90508-0-3
  3. 3.0 3.1 3.2 Wozencraft, W. Christopher (16 November 2005). "Order Carnivora (pp. 532-628) ". In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 533. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494
  4. Sunquist, Mel; Sunquist, Fiona (2002). Wild cats of the World. Chicago: University of Chicago Press. pp. 142–151. ISBN 0-226-77999-8.
  5. "สารคดีบันลือโลก 07 มิถุนายน 2559 Wild Africa ตะลุยแอฟริกา ตอน มนต์ป่าแอฟริกา". นาว26. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 8 June 2016.[ลิงก์เสีย]
  6. "สารคดีบันลือโลก 20 มิถุนายน 2559 Wild Africa ส่องไพร: หุบเขาแห่งแอฟริกา". นาว26. 20 June 2016. สืบค้นเมื่อ 21 June 2016.
  7. Kingdon, J. (1997). The Kingdon Guide to African Mammals. Academic Press. ISBN 0-12-408355-2
  8. "SIMBA spotlight on Patrick Kelley". The Savannah Cat Newsletter. S.I.M.B.A. Fall 2003. pp. 9–12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Leptailurus serval ที่วิกิสปีชีส์

Kembali kehalaman sebelumnya