เดอะบีเทิลส์ (อังกฤษ : The Beatles ) เป็นวงดนตรีร็อก สัญชาติอังกฤษจากเมืองลิเวอร์พูล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1960 มีสมาชิกประกอบไปด้วย จอห์น เลนนอน , พอล แม็กคาร์ตนีย์ , จอร์จ แฮร์ริสัน และริงโก สตาร์ พวกเขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นวงดนตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดตลอดกาล อีกทั้งยังมีอิทธิพลสำคัญต่อวัฒนธรรมต่อต้านในคริสตทศวรรษที่ 1960 และการนำรูปแบบของเพลงสมัยนิยม ไปสู่ความเป็นศิลปะ แนวดนตรีของพวกเขามีรากฐานมาจากแนวเพลงสกิฟเฟิล , บีท และร็อกแอนด์โรล ในยุค 1950 ซาวด์ดนตรีของพวกเขาได้รับการพัฒนา โดยมีองค์ประกอบที่ผสมผสานระหว่างแนวดนตรีคลาสสิก และเพลงป็อปท้องถิ่น ถึงอย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาเดอะบีเทิลส์ก็ได้แตกแขนงแนวดนตรีของพวกเขาออกไปหลากหลายแนวมากขึ้น ตั้งแต่ดนตรีโฟล์ก ดนตรีอินเดีย ไปจนถึงไซเคเดเลีย และฮาร์ดร็อก เดอะบีเทิลส์ได้ปฏิวัติวัฒนธรรมดนตรีในหลาย ๆ แง่มุม ทั้งในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมการบันทึกเสียงแบบใหม่ ๆ การแต่งเพลง และการนำเสนอแนวเพลงเชิงศิลปะ โดยสื่อมักนำเสนอภาพลักษณ์ของพวกเขาในฐานะตัวแทนของคนรุ่นใหม่ (era's youth) และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคร่วมสมัยของพวกเขาเอง
นักแต่งเพลงหลักของวงคือเลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์ เดิมทีเดอะบีเทิลส์เป็นวงที่เปลี่ยนชื่อมาจาก เดอะควอร์รีเมน (the Quarrymen) ซึ่งเป็นวงเก่าของเลนนอน ในช่วงสามปีแรกที่เริ่มก่อตั้งวง พวกเขาเริ่มต้นสั่งสมชื่อเสียงผ่านการเล่นดนตรีในคลับต่าง ๆ ตามเมืองลิเวอร์พูลและฮัมบวร์ค โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม ได้แก่ เลนนอน, แม็กคาร์ตนีย์ และ แฮร์ริสัน ที่ร่วมวงกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 สจวต ซัตคลิฟฟ์ ในฐานะมือเบส เสริมด้วย พีท เบสต์ ในฐานะมือกลอง ก่อนที่จะเปลี่ยนสมาชิกไปเป็น ริงโก สตาร์ ในปี ค.ศ. 1962 โดยได้ ไบรอัน เอปสไตน์ มาเป็นผู้จัดการวง อีกทั้งยังมีหัวหอกในการบันทึกเสียงอย่าง จอร์จ มาร์ติน ในฐานะโปรดิวเซอร์ประจำวง ซึ่งพวกเขาต่างก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้วงประสบความสำเร็จภายในประเทศได้อย่างรวดเร็ว หลังจากที่พวกเขาเซ็นสัญญากับ อีเอ็มไอเรเคิดส์ (EMI Records) ก็มีเพลงฮิตประสบความสำเร็จโดยทันทีอย่างเพลง "เลิฟมีดู " (Love Me Do) ซึ่งวางจำหน่ายในช่วงปลายปี ค.ศ. 1962 กระแสความนิยมของพวกเขากลายเป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "บีเทิลเมเนีย " (Beatlemania) ทางวงเองก็ถูกตั้งชื่อเล่นว่า "เดอะแฟบโฟร์" (the Fab Four) และบางครั้งเอปสไตน์, มาร์ติน หรือบุคคลอื่นที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของวง ก็ได้รับการตั้งฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่า "เต่าทองคนที่ห้า" (fifth Beatle)
เมื่อถึงต้นปี ค.ศ. 1964 เดอะบีเทิลส์กลายเป็นศิลปินระดับนานาชาติ ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทั้งในด้านคำวิจารณ์และในเชิงพาณิชย์ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน พวกเขากลายเป็นขุมกำลังสำคัญในการฟื้นคืนวัฒนธรรมอังกฤษไปสู่สากลโลก โดยนำปรากฏการณ์บริติชอินเวชัน (British Invasion) ไปไกลจนถึงตลาดเพลงป็อปของสหรัฐอเมริกา และในเวลาต่อมาไม่นานนักพวกเขาก็ได้เปิดตัวภาพยนตร์ของตนเองเรื่อง อะฮาร์ดเดส์ไนต์ (A Hard Day's Night ; 1964) เมื่อสมาชิกภายในวงมองว่าการทัวร์คอนเสิร์ตเป็นอุปสรรคต่อการที่จะต้องใช้เวลาทำเพลงในสตูดิโอบันทึกเสียง ทำให้ในเวลาต่อมาทางวงก็ได้ตัดสินใจยุติการแสดงสดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 เป็นต้นไป ในช่วงเวลานี้เองเดอะบีเทิลส์ก็ได้ผลิตงานดนตรีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยทำ อาทิเช่น อัลบั้ม Rubber Soul (1965) Revolver (1966) Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band (1967) รวมไปถึงอัลบั้มที่มีชื่อเดียวกับวง (หรือที่รู้จักกันในชื่อ "the White Album" จัดจำหน่ายในปี ค.ศ. 1968) และท้ายที่สุด Abbey Road (1969) ความสำเร็จของอัลบั้มเหล่านี้เป็นการประกาศศักดาถึงยุคของอัลบั้ม ที่การวางจำหน่ายแผ่นเสียงในรูปแบบอัลบั้มได้รับความนิยมมากกว่าการวางจำหน่ายในรูปแบบซิงเกิล นอกจากนั้นผลงานของพวกเขาก็ได้เผยแพร่ความสนใจในเรื่องของยาเสพติดหลอนประสาท และชุดความคิดแบบตะวันออกไปสู่สาธารณชน รวมถึงพัฒนาการของอุตสาหกรรมดนตรีที่เด่นชัดมากขึ้นในยุคดังกล่าว อาทิเช่น ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ การทำปกอัลบั้ม และการผลิตมิวสิกวิดีโอ เป็นต้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1968 สมาชิกวงเดอะบีเทิลส์ก็ได้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอปส์ (Apple Corps) ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่ครอบครองลิขสิทธิ์และควบคุมกิจการทั้งหมดที่เกี่ยวของกับทางวง หลังจากเหตุการณ์วงแตก ในปี ค.ศ. 1970 อดีตสมาชิกทุกคนต่างก็ประสบความสำเร็จในเส้นทางของศิลปินเดี่ยวทั้งสิ้น โดยมีการพบปะไปมาหาสู่กันอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งเลนนอนถูกฆาตกรรม ในปี ค.ศ. 1980 ส่วนแฮร์ริสันเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดในปี ค.ศ. 2001 ขณะที่แม็กคาร์ตนีย์และสตาร์ยังคงใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับงานดนตรีอย่างต่อเนื่อง
เดอะบีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่มียอดขายสูงที่สุดตลอดกาล โดยมียอดขายประมาณ 600 ล้านหน่วยทั่วโลก[ 4] [ 5] พวกเขาเป็นกลุ่มศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบิลบอร์ดชาตส์ ของสหรัฐอเมริกา (US Billboard charts)[ 6] โดยครองสถิติตรงที่มีอัลบั้มอันดับหนึ่งมากที่สุดในชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร (UK Albums Chart) (15) และมีเพลงฮิตอันดับหนึ่งในบิลบอร์ดฮอต 100 ของสหรัฐอเมริกา (US Billboard Hot 100 chart) (20) อีกทั้งยังทำยอดขายซิงเกิลในสหราชอาณาจักรได้เป็นจำนวนมาก (21.9 ล้านหน่วย) เดอะบีเทิลส์ได้รับรางวัลมากมาย ทั้งแกรมมี (Grammy Awards) 7 รางวัล, บริตอะวอดส์ (Brit Awards) 4 รางวัล, รางวัลออสการ์ (Academy Award) 1 รางวัล (สำหรับสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เล็ตอิตบี ในปี ค.ศ. 1970) และรางวัลอิวอร์โนเวลโล (Ivor Novello Awards) กว่า 15 รางวัล เดอะบีเทิลส์ได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล (Rock and Roll Hall of Fame ) ในปี ค.ศ. 1988 ขณะที่สมาชิกหลักแต่ละคนก็ได้รับการบรรจุเข้าเป็นรายบุคคลแยกต่างหากในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1994 จนถึงปี ค.ศ. 2015 เดอะบีเทิลส์ติดอันดับศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในนิตยสารโรลลิงสโตน (Rolling Stone ) เมื่อปี ค.ศ. 2004 และปี ค.ศ. 2011 นอกจากนั้นนิตยสารไทม์ (Time ) ได้ยกย่องให้พวกเขาเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกเช่นกัน
ประวัติ
1956–1963: ยุคก่อตั้ง
เดอะควอร์รีเมนกับการเปลี่ยนชื่อวง
ในช่วงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1956 จอห์น เลนนอน (John Lennon) ในวัย 16 ปี ได้ริเริ่มตั้งวงดนตรีแนวสกิฟเฟิล ขึ้นร่วมกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนมัธยมควอร์รีแบงก์ (Quarry Bank High School) เมืองลิเวอร์พูล โดยใช้ชื่อวงว่าเดอะแบล็คแจ็คส์ (the Blackjacks) ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นเดอะควอร์รีเมน (the Quarrymen) แทนในภายหลัง เนื่องจากไปซ้ำชื่อกับวงอื่นที่ใช้ชื่อนี้อยู่ก่อนแล้ว จนกระทั่งพอล แม็กคาร์ตนีย์ (Paul McCartney) ในวัย 15 ปี ได้พบกับเลนนอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1957 และก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกวงในฐานะมือกีตาร์ทำนอง ในเวลาต่อมา เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1958 แม็กคาร์ตนีย์ได้ชักชวนจอร์จ แฮร์ริสัน (George Harrison) ซึ่งขณะนั้นยังอายุเพียงแค่ 15 ปี มาดูการแสดงสดของวงเดอะควอร์รีเมน ตัวแฮร์ริสันเองก็ได้ไปออดิชั่นให้เลนนอนดู ซึ่งเจ้าตัวก็ประทับใจฝีไม้ลายมือของแฮร์ริสันเป็นอย่างมาก แต่เลนนอนเองก็แอบคิดว่าแฮร์ริสันยังเด็กเกินไป จนกระทั่งหนึ่งเดือนต่อมาในระหว่างการพบกันรอบที่สอง (ที่เกิดจากการชักชวนโดยแม็กคาร์ตนีย์) แฮร์ริสันได้เล่นท่อนกีตาร์นำของเพลง "Raunchy " ให้พวกเลนนอนรับชมขณะที่โดยสารอยู่บนรถบัสชั้นสอง[ 9] ทำให้ทางวงตัดสินใจรับแฮร์ริสันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวงในฐานะมือกีตาร์นำ
ในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 1959 เพื่อน ๆ จากโรงเรียนมัธยมควอร์รีแบงก์ของเลนนอนได้ทยอยแยกย้ายออกจากวง เลนนอนได้เริ่มเข้าเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูล (Liverpool College of Art) โดยที่ยังเหลือสมาชิกเพียงแค่ 3 คน พวกเขาเรียกวงของตัวเองว่าจอห์นนี่แอนด์เดอะมูนด็อกส์ (Johnny and the Moondogs) โดยเน้นเล่นเพลงแนวร็อกแอนด์โรลเป็นหลักหากสามารถหามือกลองมาเป็นสมาชิกวงได้ จนกระทั่งในเวลาต่อมาเลนนอนได้ชักชวนสจวต ซัตคลิฟฟ์ (Stuart Sutcliffe) เพื่อนร่วมคณะจากวิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูล ให้นำเงินที่ได้จากการขายภาพวาดไปซื้อกีตาร์เบสแล้วเข้ามาเล่นดนตรีให้กับวง ซัตคลิฟฟ์เข้ามาเป็นสมาชิกวงอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ค.ศ. 1960 เขาแนะนำให้เปลี่ยนชื่อวงไปเป็น Beatals (แปลว่า "เต่าทอง" ในภาษาอังกฤษ) เพื่อเป็นเกียรติแก่วงบัดดี้ ฮอลลี แอนด์เดอะคริกเก็ตส์ (Buddy Holly and the Crickets; แปลว่า "จิ้งหรีด")[ 16] พวกเขาใช้ชื่อนี้ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม แล้วก็เปลี่ยนเป็น Silver Beetles ก่อนที่จะเริ่มออกทัวร์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในประเทศสกอตแลนด์ โดยเล่นเป็นวงแบ็คอัพให้กับศิลปินชื่อจอห์นนี เจ็นเทิล (Johnny Gentle) ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้เองที่พวกเขาได้เปลี่ยนชื่อวงเป็น Silver Beatles แล้วก็ไปจบที่เดอะบีเทิลส์ (the Beatles ) ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมท้ายที่สุด
แนวดนตรีและวิวัฒนาการ
อนุสรณ์
ผลงานเพลง
เดอะบีเทิลส์มีผลงานเพลง ประกอบไปด้วยสตูดิโออัลบั้ม 13 อัลบั้ม รวมทั้งผลงานซิงเกิลและ
อีพี ที่จำหน่ายในสหราชอาณาจักร[ nb 1]
รางวัลและการตอบรับ
สมาชิกในวงเดอะบีเทิลส์ (จอห์น พอล ริงโก จอร์จ) ได้รับพระราชทานเกียรติจากควีนเอลิซาเบธที่ 2 ให้เป็น MBE (Members of the Order of the British Empire)
ภาพยนตร์เรื่อง เลตอิตบี ได้รับรางวัลออสการ์ ในสาขาเพลง ที่ดีที่สุดโดยวัดจากคะแนน
ได้รับ รางวัลแกรมมี มาทั้งหมด 7 รางวัลด้วยกัน
ได้รับ รางวัลอิวอร์ โนเวล ถึง 15 รางวัลด้วยกัน
ได้ถูกบรรจุในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ปี 1988
มีอัลบั้มจำนวน 15 อัลบั้มที่ขึ้นอยู่อันดับหนึ่งใน บริติชชาร์ท
ได้รับการยกย่องให้อยู่อันดับ 1 ศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก จากทั้งหมด 100 ของนิตยสารบิลบอร์ด
ได้รับการยกย่องจาก นิตยสารไทม์ ให้เป็นหนึ่งใน 100 สิ่งสำคัญที่สุดของผู้คนแห่งศตวรรษที่ 20
ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้มในอังกฤษกับสหรัฐ
ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "เพชร" 6 ใบ
ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "มัลติ-แพลทินัม" 28 ใบ
ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "แพลทินัม" 43 ใบ
ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "ทอง" 53 ใบ [ 19]
ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "เงิน" 1 ใบ [ 20]
สมาชิก
สมาชิกหลัก
จอห์น เลนนอน – ขับร้อง กีตาร์ คียบอร์ด ฮาโมนิกา เบส (1960–1969; เสียชีวิต 1980)
พอล แมคคาร์ตนีย์ – ขับร้อง เบส กีตาร์ คีย์บอร์ด กลอง (1960–1970)
จอร์จ แฮร์ริสัน – กีตาร์ ขับร้อง ซีตาร์ คีย์บอร์ด เบส (1960–1970; เสียชีวิต 2001)
ริงโก สตาร์ – กลอง เพอร์คัชชัน ขับร้อง (1962–1970)
สมาชิกยุคแรก
นักดนตรีทัวร์
เส้นเวลา
เชิงอรรถ
↑ อ้างอิงมาจากหนังสือของ Lewisohn หน้าที่ 201, การควบรวมซิงเกิลและเพลง EP ในอัลบั้ม the Past Masters เดิมทีถูกแบ่งออกมาขายแยกเป็นสองอัลบั้ม ได้แก่ Volumes 1 และ 2 ในปี ค.ศ. 1988 อย่างไรก็ตาม อัลบั้มทั้งสองก็ได้ถูกนำมามัดรวมขายเป็นอัลบั้มเดียวกันในเวลาต่อมา
อ้างอิง
แหล่งอ้างอิง
บรรณานุกรม
Austerlitz, Saul (2007). Money for Nothing: A History of the Music Video, from The Beatles to The White Stripes . Ann Arbor: University of Michigan Press . ISBN 978-0-7119-7520-0 .
Badman, Keith (1999). The Beatles After the Breakup 1970–2000: A Day-by-Day Diary (2001 ed.). London: Omnibus. ISBN 978-0-7119-8307-6 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
The Beatles (2000). The Beatles Anthology . San Francisco: Chronicle Books . ISBN 978-0-8118-2684-6 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Benson, Bruce Ellis (2003). The Improvisation of Musical Dialogue: A Phenomenology of Music . Cambridge and New York: Cambridge University Press . ISBN 978-0-521-00932-4 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Boyd, Pattie (2008). Wonderful Tonight: George Harrison, Eric Clapton, and Me . Three Rivers Press . ISBN 978-0-307-40783-2 .
Brown, Peter ; Gaines, Steven (2002). The Love You Make: An Insider's Story of The Beatles . New York: New American Library . ISBN 978-0-451-20735-7 .
Campbell, Michael (2008). Popular Music in America: The Beat Goes On . East Windsor, CT: Wadsworth. ISBN 978-0-495-50530-3 . สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Davies, Hunter (1968). The Beatles (Revised 2009 ed.). New York & London: W. W. Norton . ISBN 978-0-393-33874-4 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Doggett, Peter (2009). You Never Give Me Your Money: The Beatles After the Breakup (1st US hardcover ed.). New York: Harper . ISBN 978-0-06-177446-1 . สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Doggett, Peter (2011). You Never Give Me Your Money: The Beatles After the Breakup . New York: It Books. ISBN 978-0-06-177418-8 .
Emerick, Geoff ; Massey, Howard (2006). Here, There and Everywhere: My Life Recording the Music of The Beatles . New York: Gotham . ISBN 978-1-59240-179-6 .
Everett, Walter (1999). The Beatles as Musicians: Revolver through the Anthology . Oxford and New York: Oxford University Press . ISBN 978-0-19-512941-0 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Everett, Walter (2001). The Beatles As Musicians: The Quarry Men through Rubber Soul . Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-514105-4 . สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Fisher, Marc (2007). Something in the Air . New York: Random House . ISBN 978-0-375-50907-0 . สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Frontani, Michael R. (2007). The Beatles: Image and the Media . University Press of Mississippi. ISBN 978-1-57806-965-1 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Gilliland, John (1969). "The British Are Coming! The British Are Coming!: The U.S.A. is invaded by a wave of long-haired English rockers" (audio) . Pop Chronicles . University of North Texas Libraries.
Goodman, Fred (2015). Allen Klein: The Man Who Bailed Out the Beatles, Made the Stones, and Transformed Rock & Roll . Boston, New York: Houghton Mifflin Harcourt . ISBN 978-0-547-89686-1 .
Gould, Jonathan (2007). Can't Buy Me Love: The Beatles, Britain and America . New York: Three Rivers Press. ISBN 978-0-307-35338-2 .
Granata, Charles L. (2003). I Just Wasn't Made for These Times: Brian Wilson and the Making of the Beach Boys' Pet Sounds . London: Unanimous. ISBN 978-1-55652-507-0 .
Greene, Doyle (2016). Rock, Counterculture and the Avant-Garde, 1966–1970: How the Beatles, Frank Zappa and the Velvet Underground Defined an Era . Jefferson, NC: McFarland. ISBN 978-1-4766-6214-5 .
Harris, Jonathan (2005). "Introduction: Abstraction and Empathy – Psychedelic Distortion and the Meaning of the 1960s". ใน Grunenberg, Christoph, and Jonathan Harris (บ.ก.). Summer of Love: Psychedelic Art, Social Crisis and Counterculture in the 1960s . Liverpool: Liverpool University Press . ISBN 978-0-85323-919-2 .
Harry, Bill (2000a). The Beatles Encyclopedia: Revised and Updated . London: Virgin . ISBN 978-0-7535-0481-9 .
Harry, Bill (2003). The George Harrison Encyclopedia . London: Virgin. ISBN 978-0-7535-0822-0 .
Harry, Bill (2000b). The John Lennon Encyclopedia . London: Virgin. ISBN 978-0-7535-0404-8 .
Harry, Bill (2002). The Paul McCartney Encyclopedia . London: Virgin. ISBN 978-0-7535-0716-2 .
Hasted, Nick (2017). You Really Got Me: The Story of The Kinks . Omnibus Press. ISBN 978-1-7855-8851-8 .
Hertsgaard, Mark (1995). "We All Want to Change the World: Drugs, Politics, and Spirituality" . A Day in the Life: The Music and Artistry of the Beatles . New York: Delacorte Press . ISBN 978-0-385-31517-3 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2014. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Ingham, Chris (2006). The Rough Guide to The Beatles . London: Rough Guides . ISBN 978-1-84353-720-5 .
Inglis, Ian (2008). "Cover Story: Magic, Myth and Music". ใน Julien, Olivier (บ.ก.). Sgt. Pepper and the Beatles: It Was Forty Years Ago Today . Aldershot, UK, and Burlington, VT: Ashgate . ISBN 978-0-7546-6249-5 .
Larkin, Colin (2006). Encyclopedia of Popular Music . New York, NY: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-531373-4 .
Lavezzoli, Peter (2006). The Dawn of Indian Music in the West: Bhairavi . New York and London: Continuum . ISBN 978-0-8264-1815-9 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Lewisohn, Mark (1988). The Complete Beatles Recording Sessions . New York: Harmony. ISBN 978-0-517-57066-1 .
Lewisohn, Mark (1992). The Complete Beatles Chronicle:The Definitive Day-By-Day Guide To the Beatles' Entire Career (2010 ed.). Chicago: Chicago Review Press . ISBN 978-1-56976-534-0 .
Lewisohn, Mark (2013). The Beatles – All These Years, Volume One: Tune In . Crown Archetype. ISBN 978-1-4000-8305-3 .
MacDonald, Ian (2005). Revolution in the Head: The Beatles' Records and the Sixties (2nd revised ed.). London: Pimlico. ISBN 978-1-84413-828-9 .
Martin, George (1979). All You Need Is Ears . New York: St. Marten's Press. ISBN 978-0-312-11482-4 . สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
McNeil, Alex (1996). Total Television: The Comprehensive Guide to Programming From 1948 to the Present (4th ed.). New York City: Penguin Books. ISBN 978-0-14-024916-3 .
Miles, Barry (1997). Paul McCartney: Many Years from Now . New York: Henry Holt and Company . ISBN 978-0-8050-5249-7 .
Miles, Barry (1998). The Beatles: A Diary – An Intimate Day by Day History . London: Omnibus. ISBN 978-0-7119-9196-5 .
Miles, Barry (2001). The Beatles Diary Volume 1: The Beatles Years . London: Omnibus Press. ISBN 978-0-7119-8308-3 .
Neaverson, Bob (1997). The Beatles Movies . London: Cassell. ISBN 978-0-304-33796-5 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2 October 2009 – โดยทาง beatlesmovies.co.uk (chapter: "Magical Mystery Tour Part 1 – Background and Production").
Norman, Philip (1996). Shout!: The Beatles in Their Generation . New York: Fireside. ISBN 978-0-684-43254-0 .
Norman, Philip (2008). John Lennon: The Life . New York: Ecco/HarperCollins. ISBN 978-0-06-075401-3 .
Pang, May (2008). Instamatic Karma: Photographs of John Lennon . Macmillan. ISBN 978-1-4299-9397-5 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2016. สืบค้นเมื่อ 7 April 2015 .
Pawlowski, Gareth L. (1990). How They Became The Beatles . McDonald & Co (Publishers) Ltd. ISBN 978-0-356-19052-5 .
Pedler, Dominic (2003). The Songwriting Secrets of The Beatles . London: Omnibus. ISBN 978-0-7119-8167-6 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Rodriguez, Robert (2010). Fab Four FAQ 2.0: The Beatles' Solo Years, 1970–1980 . New York: Backbeat. ISBN 978-0-87930-968-8 .
Sandford, Christopher (2006). McCartney . New York: Carroll & Graf . ISBN 978-0-7867-1614-2 .
Schaffner, Nicholas (1978). The Beatles Forever . New York, NY: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-055087-2 .
Schinder, Scott; Schwartz, Andy (2007). Icons of Rock: An Encyclopedia of the Legends Who Changed Music Forever . Westport, CT: Greenwood Press . ISBN 978-0-313-33845-8 .
Southall, Brian; Perry, Rupert (2006). Northern Songs: The True Story of the Beatles Song Publishing Empire . London: Omnibus. ISBN 978-1-84609-237-4 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Sheff, David (1981). Golson, G. Barry (บ.ก.). The Playboy Interviews with John Lennon and Yoko Ono . Playboy. ISBN 978-0-87223-705-6 .
Spitz, Bob (2005). The Beatles: The Biography . New York: Little, Brown . ISBN 978-0-316-80352-6 .
Spizer, Bruce (2004). The Beatles Are Coming! The Birth of Beatlemania in America . New Orleans: 498 Productions. ISBN 978-0-9662649-9-9 .
Strong, Martin (2004). The Great Rock Discography . Edinburgh and New York: Canongate . ISBN 978-1-84195-615-2 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Turner, Steve (2016). Beatles '66: The Revolutionary Year . New York, NY: Ecco. ISBN 978-0-06-247558-9 .
Winn, John C. (2008). Way Beyond Compare: The Beatles' Recorded Legacy, Volume One, 1957–1965 . New York: Three Rivers Press. ISBN 978-0-307-45157-6 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Winn, John C. (2009). That Magic Feeling: The Beatles' Recorded Legacy, Volume Two, 1966–1970 . New York: Three Rivers Press. ISBN 978-0-307-45239-9 . สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Womack, Kenneth (2007). Long and Winding Roads: The Evolving Artistry of the Beatles . London & New York: Continuum. ISBN 978-0-8264-1746-6 .
อ่านเพิ่ม
Astley, John (2006). Why Don't We Do It In The Road? The Beatles Phenomenon . The Company of Writers. ISBN 978-0-9551834-7-8 .
Barrow, Tony (2005). John, Paul, George, Ringo & Me: The Real Beatles Story . New York: Thunder's Mouth. ISBN 978-1-56025-882-7 .
Bramwell, Tony; Kingsland, Rosemary (2006). Magical Mystery Tours: My Life with the Beatles . New York: St. Martin's Press. ISBN 978-0-312-33044-6 .
Braun, Michael (1964). Love Me Do: The Beatles' Progress (1995 reprint ed.). London: Penguin. ISBN 978-0-14-002278-0 .
Carr, Roy; Tyler, Tony (1975). The Beatles: An Illustrated Record . New York: Harmony Books. ISBN 978-0-517-52045-1 .
Epstein, Brian (1964). A Cellarful of Noise . Byron Preiss . ISBN 978-0-671-01196-3 . OCLC 39211052 .
The Beatles: The FBI Files . Federal Bureau of Investigation . Filibust. 2007. ISBN 978-1-59986-256-9 . สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .[ลิงก์เสีย ]
Harry, Bill (1985). The Book Of Beatle Lists . Poole, Dorset: Javelin. ISBN 978-0-7137-1521-7 .
Kirchherr, Astrid ; Voormann, Klaus (1999). Hamburg Days . Guildford, Surrey: Genesis Publications. ISBN 978-0-904351-73-6 .
Lennon, Cynthia (2005). John . New York: Crown Publishers. ISBN 978-0-307-33855-6 .
Mansfield, Ken (2007). The White Book . Nashville, TN: Thomas Nelson. ISBN 978-1-59555-101-6 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014 .
Martin, George ; Pearson, William (1994). Summer of Love: The Making of Sgt. Pepper . London: Macmillan. ISBN 978-0-333-60398-7 .
Riley, Tim (2011). Lennon: The Man, the Myth, the Music – The Definitive Life . New York: Hyperion/HarperCollins. ISBN 978-1-4013-2452-0 .
Sheffield, Rob (2017). Dreaming the Beatles . New York: Harper Collins. ISBN 978-0-06-220765-4 .
Turner, Steve (2005). A Hard Day's Write: The Stories Behind Every Beatles Song (3rd ed.). New York: Harper Paperbacks. ISBN 978-0-06-084409-7 .
แหล่งข้อมูลอื่น