Share to:

 

เตือนใจ ดีเทศน์

เตือนใจ ดีเทศน์
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 เมษายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)

เตือนใจ ดีเทศน์ (สกุลเดิม กุญชร ณ อยุธยา; เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2495) ชื่อเล่น แดง[1] เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย[2] และเป็นนักพัฒนาสังคม ปัจจุบันเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชน

ประวัติ

เตือนใจ ดีเทศน์ เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของหม่อมหลวงขาบ กุญชร อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับ นางอุไร กุญชร ณ อยุธยา สถานภาพ สมรสกับนายธนูชัย ดีเทศน์ มีบุตร 2 คน

การศึกษา

เตือนใจ ดีเทศน์ จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เกียรตินิยมอันดับสอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 23) เมื่อปี 2517 และประกาศนียบัตรชั้นสูง บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 6 (พื้นที่บ้านบางสา อ.แม่จัน จ.เชียงราย พ.ศ. 2517-2520)

นอกจากนั้น เตือนใจ ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ได้แก่

  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2543
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชาติพันธุ์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย[3] ปี 2557
  • ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชนบทศึกษาและการพัฒนา สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2558
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาคติชนวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร ปี 2559

การทำงาน

เตือนใจ ดีเทศน์ เป็นนักพัฒนาสังคม[4] จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 เธอได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย[5] กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โดยเป็นตัวแทนของกลุ่มการพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในปี พ.ศ. 2558 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

รางวัล

1994 Goldman Environmental Prize, Recipient Asia, Sustainable Development. Goldman Environmental Foundation. USA. [6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ศึกเลือกตั้งส.ว.เหนือ ใต้ร่มเงา'เรดโซน' : รายงาน
  2. วุฒิสภา ชุดที่ ๘ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๓)[ลิงก์เสีย]
  3. https://web.facebook.com/pg/CRRUNEWS/photos/?tab=album&album_id=1645103722427696
  4. ข้อมูลประวัติของสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงราย (นางเตือนใจ ดีเทศน์ พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  6. http://www.goldmanprize.org/recipient/tuenjai-deetes/
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๑, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
Kembali kehalaman sebelumnya