เทศบาลตำบลเสาธงหิน
เทศบาลตำบลเสาธงหิน เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลตำบลในเขตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาธงหิน เฉพาะหมู่ที่ 4–8 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3 (นอกเขตเทศบาลตำบลบางม่วง) ประวัติในสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อพระองค์ได้เสด็จกรีธาทัพเพื่อที่จะทำการกู้ชาติจากข้าศึก ได้เสด็จนำทัพผ่านวัดสัก เมื่อทอดพระเนตรเห็นต้นสักจำนวนมากเป็นที่ร่มรื่น จึงรับสั่งให้หยุดทัพพักพลรบ ณ ที่วัดสักแห่งนี้เพื่อพักเอาแรงและรวบรวมกำลังพลจากที่ต่าง ๆ เพื่อออกรบ ไม่ว่าจะเป็นทัพของผู้ใดย่อมมีธงชัยประจำทัพหรือธงประจำตัวของแม่ทัพคนนั้น ๆ สมเด็จพระเจ้าตากสินได้มีรับสั่งให้ปักธงประจำทัพของพระองค์ลงบนกองทราย ณ ตำบลนั้น โดยให้หัวหมู่ทหารนำพลพรรคไปหาเอาหินก้อนใหญ่ ๆ มากองสุมทับและล้อมรอบเสาธงไว้มิให้ล้ม เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของทัพและเป็นสัญลักษณ์จุดนัดหมายของทหาร แม่ทัพนายกองและไพร่พลทั้งหลายจึงพากันเรียกขานจุดนัดหมายนี้ว่า เสาธงหิน และในปี พ.ศ. 2464 ซึ่งเป็นปีที่กิ่งอำเภอบางแม่นางได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอบางใหญ่ กำนันคนแรกชื่อ ขุนละออ นิราศพาน และตั้งเป็นชื่อ ตำบลเสาธงหิน ในที่สุด ในสภาพปัจจุบัน เนื่องจากการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ตำบลเสาธงหินซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบางใหญ่อยู่ติดกับถนนรัตนาธิเบศร์และถนนกาญจนาภิเษก จึงเป็นศูนย์กลางของการขยายตัวชุมชนเมืองจากกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ส่วนหนึ่งจึงได้แปรเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยในรูปของหมู่บ้านจัดสรรหรืออาคารชุด สำนักงานเทศบาลตำบลเสาธงหินปัจจุบันตั้งอยู่บ้านเลขที่ 99/99 หมู่ที่ 5 ตำบลเสาธงหิน โดยย้ายจากที่ทำการเดิม บ้านเลขที่ 79/3 หมู่ที่ 6 ซอยบางใหญ่ซิตี้ ซอย 9/6 ถนนกาญจนาภิเษก ตำบลเสาธงหิน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ที่ตั้งและอาณาเขตเขตเทศบาลตำบลเสาธงหินตั้งห่างจากศาลากลางจังหวัดนนทบุรีประมาณ 11 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประชากรอาชีพหลักของประชากรในถิ่นนี้คือ เกษตรกรรม เพราะตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีอาชีพ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างทั่วไป และทำงานเอกชนในท้องที่ข้างเคียง และบางส่วนเดินทางไปทำงานในกรุงเทพมหานคร นอกจากประชากรที่มีข้อมูลตามทะเบียนบ้านในตำบลเสาธงหินแล้ว ยังมีประชากรแฝง (มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตอื่น) ที่เข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร การคมนาคม
สาธารณูปโภค
สถานศึกษา
สถานที่สำคัญ
รถโดยสารประจำทาง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |