Share to:

 

เปศวาร์

เปศวาร์

  • پېښور
  • پشور
  • پشاور
ตามเข็มจากบน: มหาวิทยาลัยอิสลามียะคอลเลจ, หอนาฬิกาคันนิงฮัม, มัสยิด Sunehri, ป้อมบาลาฮิสซาร์, บอเบแคบาร์, มัสยิดมหาบาต ข่าน
สมญา: 
บุปผานคร[1]
เปศวาร์ตั้งอยู่ในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา
เปศวาร์
เปศวาร์
ที่ตั้งในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา
เปศวาร์ตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
เปศวาร์
เปศวาร์
ที่ตั้งในประเทศปากีสถาน
พิกัด: 34°00′52″N 71°34′03″E / 34.01444°N 71.56750°E / 34.01444; 71.56750
ประเทศ ปากีสถาน
แคว้น แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา
อำเภอเปศวาร์
สภาสหภาพ92
การปกครอง[6][7]
 • ประเภทนายก–สภา
 • องค์กรราชการอำเภอ
 • นายกเทศมนตรีZubair Ali[2] (JUI-F)
 • ข้าหลวงRiaz Khan Mehsud[3]
 • รองข้าหลวงSania Safi[4]
 • ผู้ช่วยข้าหลวงSyeda Zainab Naqvi[5]
พื้นที่
 • นคร215 ตร.กม. (83 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,257 ตร.กม. (485 ตร.ไมล์)
ความสูง331 เมตร (1,086 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด450 เมตร (1,480 ฟุต)
ประชากร
 • นคร1,970,042 คน
 • อันดับที่ 6 ในปากีสถาน
 • ความหนาแน่น9,200 คน/ตร.กม. (24,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+5:00 (เวลามาตรฐานปากีสถาน)
รหัสพื้นที่091
ภาษาปาทาน, Hindko, อูรดู
เว็บไซต์cmgp.gkp.pk

เปศวาร์ (ปาทาน: پېښور; Hindko: پشور; อูรดู: پشاور [pɪˈʃɑːʋər] ) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 6 ของประเทศปากีสถานที่มีประชากรมากกว่า 2.3 ล้านคน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศในหุบเขาเปศวาร์ โดยเป็นเมืองหลักของแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา]และเป็นเมืองใหญ่สุดของแคว้น[9] เปศวาร์มีประชากรโดยหลักเป็นชาวปาทาน ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ[10][11] เปศวาร์ตั้งอยู่ในหุบเขาเปศวาร์ ใกล้กับปลายทางตะวันออกของทางผ่านแคบาร์ ใกล้กับพรมแดนดูรันด์ ประวัติศาสตร์จารึกเมืองเปศวาร์ตั้งแต่อย่างน้อย 539 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทำให้เป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียใต้[12] เปศวาร์ยังเป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่สุดของประเทศ[13]

มีการกล่าวถึงพื้นที่ที่ครอบคลุมเปศวาร์ในปัจจุบันในบรรดาคัมภีร์เวท (Vedic scriptures) เมืองนี้เป็นหนึ่งในเมืองหลักของแคว้นคันธาระ เคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิกุษาณะในรัชสมัยพระเจ้ากนิษกะ[14][15][16] และเป็นที่ตั้งของกนิษกะสถูป ซึ่งเป็นหนึ่งในอาคารที่สูงที่สุดในโลกสมัยโบราณ[17]

ศัพทมูลวิทยา

ไปรษณียบัตรภาพถ่ายเก่าของถนนสายหลักในเปศวาร์ แปลงเป็นดิจิทัลโดยห้องสมุดดิจิทัลปัญจาบ

ชื่อนคร "เปศวาร์" ในสมัยใหม่น่าจะมาจากศัพท์สันสกฤต [ที่สร้างใหม่] ว่า "Purushapura" (สันสกฤต: पुरूषपुर Puruṣapura, หมายถึง "บุรุษนคร")[18][19][20] ชื่อนี้มาจากการตั้งชื่อเมืองโดยจักรพรรดิอักบัรแห่งโมกุลจากชื่อเก่าว่า Parashawar ซึ่งมีความหมายที่พระองค์ไม่ทรงพระทัย[21][22] ผู้ปกครองนครในช่วงก่อตั้งอาจเป็นราชาฮินดูนาม Purush คำว่า ปูร์ ในภาษาสันสฤกตหมายถึง "นคร"[23][24][25] โดยภาษาสันสกฤตในอักษรขโรษฐีเคยเป็นภาษาหนังสือในอาณาจักรพุทธที่ปกครองพื้นที่ในช่วงที่มีการบันทึกช่วงแรก[26] ชื่อนครอาจมาจากชื่อภาษาสันสกฤตของ "บุปผานคร" (Poshapura) ซึ่งเป็นชื่อที่พบในจารึกอักษรขโรษฐีโบราณที่อาจกล่าวถึงเปศวาร์[27]

บันทึกในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ของพระสงฆ์ชาวจีนนามพระถังซัมจั๋ง กล่าวถึงนครในคันธาระที่มีชื่อว่า Po-la-sha-pu-lo (จีน: 布路沙布邏; พินอิน: bùlùshābùló) และบันทึกของฝ่าเสียนในคริสต์ศตวรรษที่ 5 กล่าวถึงเมืองนี้ด้วยชื่อ Fou-lou-sha (จีน: 弗樓沙; พินอิน: fùlóshā) ทั้งสองเป็นชื่อ Purushapura ในแบบภาษาจีน[28][29] จารึกสมัยโบราณในสมัยชาปูร์ระบุนครในหุบเขาคันธาระด้วยชื่อ pskbvr ซึ่งอาจสื่อถึงเปศวาร์[30]

อัลมัสอูดี นักภูมิศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับระบุว่า ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 นครนี้รู้จักกันในชื่อ Parashāwar ส่วนอัลบิรูนีระบุถึงเมืองนี้เป็น Purshawar และ Purushavar[31]

นครนี้เริ่มเป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อ Peshāwar ในสมัยจักรพรรดิอักบัร[32] กล่าวกันว่า ชื่อในปัจจุบันอิงจากภาษาเปอร์เซียที่แปลว่า "เมืองชายแดน"[32] หรือแปลตรงตัวว่า "นครข้างหน้า" แม้ว่าข้อผิดพลาดในการถอดความและการเปลี่ยนแปลงทางภาษาอาจมีส่วนต่อชื่อใหม่ของเมือง ทฤษฎีหนึ่งเสนอแนะว่าชื่อนครมาจากชื่อภาษาเปอร์เซียว่า "Pesh Awardan" หมายถึง "สถานที่ที่มาถึงแห่งแรก" หรือ "นครชายแดน" เนื่องจากเปศวาร์เป็นนครแรกในอนุทวีปอินเดียที่พบเจอหลังผ่านทางผ่านแคบาร์[33][34] Abu'l-Fazl ibn Mubarak บรรณารักษ์ของจักรพรรดิอักบัร ระบุชื่อนครนี้ทั้งสองแบบ นั่นคือ Parashāwar ถือความในอักษรเปอร์เซียเป็น پَرَشَاوَر,[35] และ Peshāwar (پشاور)[36]

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  1. "Peshawar – The city of flowers". The Nation. 2 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2020.
  2. "Major upset for PTI as JUI-F wins Peshawar mayor seat". Dawn (newspaper). 21 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
  3. "Pak-Afghan friendship bus service may be resumed soon". Business Recorder (newspaper) (ภาษาอังกฤษ). 5 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
  4. "PHC seeks govt report about flour issue". Dawn (newspaper) (ภาษาอังกฤษ). 13 January 2023. สืบค้นเมื่อ 21 January 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Blue Veins, WHO Organize Awareness Sessions To Deal With GBV". UrduPoint. 21 January 2023. สืบค้นเมื่อ 21 January 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "KP's new LG system: structure, powers, and voting process". SAMAA TV. 17 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
  7. "District Peshawar". Department of Local Government, Government of Khyber Pakhtunkhwa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2022. สืบค้นเมื่อ 18 January 2022.
  8. "Pakistan: Provinces and Major Cities – Population Statistics, Maps, Charts, Weather and Web Information". www.citypopulation.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 10 May 2020.
  9. "NWFP Introduction". Government of Khyber-Pakhtunkhwa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2007. สืบค้นเมื่อ 12 December 2007.
  10. "Peshawar, pakols and namkeen karahi". Aurora Dawn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 30 October 2019.
  11. "PAKISTAN: THE PASHTUN LOSE PATIENCE". a2globalrisk.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 30 October 2019.
  12. "Peshawar: Oldest Living City in South Asia". Dawn (ภาษาอังกฤษ). 3 July 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
  13. Nadiem, Ihsan H. (2007). Peshawar: Heritage, History, Monuments (ภาษาอังกฤษ). Sang-e-Meel Publications. ISBN 978-969-35-1971-6.
  14. Baloch, Sikandar Khan (2004). In the Wonderland of Asia, Gilgit & Baltistan (ภาษาอังกฤษ). Sang-e-Meel Publications. p. 124. ISBN 9789693516142. Within the next decade, emerged the great kingdom of Gandhara under the great Kushan king Kaniskha (125-160 AD). The seat of his central government was Purushpura which is today known as Peshawar.
  15. Chaurasia, Radhey Shyam (2002). History of Ancient India: Earliest Times to 1000 A.D. (ภาษาอังกฤษ). Atlantic Publishers & Dist. p. 148. ISBN 9788126900275. Kanishka's coins have been found as far as Ghaznipur and Gorakhpur. These point to the wide extent of his Indian dominion which stretched from Gandhara to Banaras. The eastern portion of this empire was governed by Mahakshatrapa and a Kshatrapa while the northern portion by military governors. He fixed his capital at Purushpura or Peshawar which he adorned with many noble buildings.
  16. The Listener, Volume 39 (ภาษาอังกฤษ). British Broadcasting Corporation. 1948. p. 27. Of course the Kushan capital established by Kanishka in India was at Purushpura — Peshawar — not Mathura, where the Saka satraps had held sway and probably continued under the overlordship of the Kushans.
  17. Le, Huu Phuoc (2010). Buddhist Architecture. Grafikol. ISBN 978-0-9844043-0-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  18. Hiro, Dilip (2012). Apocalyptic Realm: Jihadists in South Asia (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. ISBN 978-0-300-17378-9. Of the sixteen gates of the historic walled city of Peshawar (derivative of Purushapura, meaning "town of men" in Sanskrit), the best known is the Kabuli Gate.
  19. Jones, Barry (2019). Dictionary of World Biography: Sixth edition (ภาษาอังกฤษ). ANU Press. p. 469. ISBN 978-1-76046-287-1. His empire extended to Afghanistan, parts of Iran and northern India-Pakistan, and his capital Purushpura is the modern Peshawar, where he built an enormous stupa. He sent Buddhist missionaries to China.
  20. Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland. Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland. 1834. pp. 114. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  21. Dept, North-West Frontier Province (Pakistan) Information (1955). Yearbook (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 7 November 2020.
  22. Nadiem, Ihsan H. (2007). Peshawar: Heritage, History, Monuments (ภาษาอังกฤษ). Sang-e-Meel Publications. ISBN 978-969-35-1971-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 7 November 2020.
  23. Jaffar, S. M. (1952). An Introduction to Peshawar (ภาษาอังกฤษ). S.M.S. Khan. The old name Purushapura is said to have been derived from Purush, a Raja whose seat of government it is stated to have been.
  24. The North-West Frontier Province Year Book (ภาษาอังกฤษ). Government of Pakistan. 1954. p. 47. The old name Purushpura is said to have been derived from Purush, after a Raja whose seat of government it is stated to have been.
  25. Cotton, James Sutherland; Burn, Sir Richard; Meyer, Sir William Stevenson (1909). Imperial Gazetteer of India (ภาษาอังกฤษ). Clarendon Press. p. 463. Purushapura, seat of king Purush, Peshawar probably derived from, xx. 124.
  26. Behrendt, Kurt; Brancaccio, Pia (2011-11-01). Gandharan Buddhism: Archaeology, Art, and Texts (ภาษาอังกฤษ). UBC Press. ISBN 978-0-7748-4128-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  27. Dani, Ahmad Hasan (1969). Peshawar: Historic City of the Frontier (ภาษาอังกฤษ). Khyber Mail Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  28. Bulletin of the Asia Institute, Volume 7 (ภาษาอังกฤษ). Wayne State University Press. 1994. p. 55. As the Fu-lou-sha of Fa-hsien is also identifiable as Peshawar, the fifth-century Chinese transcription of Purushapura can clearly be equated with the seventh-century Pu-lu-sha, the equivalent syllables for pu-lo, representing the Sanskrit pura ...
  29. Yang, Hsüan-chih (2014-07-14). A Record of Buddhist Monasteries in Lo-Yang (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-5754-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  30. Analecta Orientalia Posthumous Writings and Selected Minor Workds (ภาษาอังกฤษ). Brill Archive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  31. "Ancient Peshawar:Historical Review of Some of its Socio-Religious and Cultural Aspects". www.asc-centralasia.edu.pk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-19. The famous Muslim historian and geographer al-Masudi (871–957 AD), also known as the 'Herodotus of the Arabs' for he wrote a 30-volume history of the world, spelt Peshawar as Pershadwar. Purshawar or Purushavar: Abu Rayhan Al-Biruni (973–1048 AD), the Arab geographer and historian records two variants for Peshawar; Purshawar and Purushavar.
  32. 32.0 32.1 Bosworth, Clifford Edmund (2007). Historic Cities of the Islamic World. BRILL. ISBN 9789004153882. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
  33. Dani, Ahmad Hasan (1995). Peshawar: Historic City of the Frontier (ภาษาอังกฤษ). Sang-e-Meel Publications. ISBN 9789693505542. Peshawar has long been known as "the Fountier—town." Standing right at the mout of the world-famous Khyber Pass, it holds the key to the gateway of the subcontinent of Pakistan and India.
  34. Pakistan, Research Society of (1965). Journal of the Research Society of Pakistan (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  35. Journal of the Research Society of Pakistan, Volume 2, Issue 1 – Volume 3, Issue 2. Research Society of Pakistan. 1965. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  36. "Journal of Central Asia". Journal of Central Asia. 19. 1996.
  37. Farooq, Umer (6 January 2012). "Indonesia seeking to enhance trade with Khyber-Pakhtunkhwa". The Express Tribune. The Express Tribune News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • คู่มือการท่องเที่ยว เปศวาร์ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  • เปศวาร์ ที่เว็บไซต์ Curlie
Kembali kehalaman sebelumnya