เป่ายิ้งฉุบ
เป่ายิ้งฉุบ หรือ เป่ายิงฉุบ หรือ เป่า ยิง ฉุบ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่อาศัยเพียงเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายเพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ) , กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง) เกมเป่ายิ่งฉุบแบบแรกสุดมีต้นกำเนิดในประเทศจีนแล้วภายหลังนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจากนั้นได้พัฒนาเป็นรูปแบบสมัยใหม่ ก่อนที่จะกระจายไปทั่วโลกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกมผลรวมเป็นศูนย์ที่เล่นพร้อมกันมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้สามแบบ: เสมอ ชนะ หรือแพ้ ผู้เล่นที่ใช้รูปหินจะชนะผู้เล่นที่ใช้รูปกรรไกร ("หินทำลายกรรไกร" หรือในบางครั้ง "ทำกรรไกรทื่อ"[1]) แต่จะแพ้ผู้เล่นที่ใช้รูปกระดาษ ("กระดาษคลุมหิน") ผู้เล่นที่ใช้รูปกระดาษจะแพ้ผู้เล่นที่ใช้รูปกรรไกร ("กรรไกรตัดกระดาษ") ถ้าผู้เล่นทั้งสองคนใช้รูปเดียวกัน เกมนั้นถือเป็นเสมอ และมักเล่นใหม่เพื่อไม่ให้เสมอ เป่ายิ้งฉุบมักใช้เป็นวิธีการเลือกที่ยุติธรรมระหว่างคนสองคน ซึ่งคล้ายกับการดีดเหรียญ, จับไม้สั้นไม้ยาว หรือทอยลูกเต๋าเพื่อระงับข้อพิพาทหรือให้กลุ่มที่เป็นกลางตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป่ายิ้งฉุบมีความแตกต่างจากวิธีการสุ่มแบบแท้จริงอยู่ที่ผู้เล่นสามารถเล่นได้โดยใช้ทักษะในระดับหนึ่ง ผ่านการจดจำและใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมแบบไม่สุ่มของฝ่ายตรงข้าม[2][3] กติกาการเล่นการเล่นผู้เล่นทั้งสองจะหันหน้าเข้าหากัน ไพล่มือที่จะเสี่ยงไว้ด้านหลัง เมื่อนับ "เป่า ยิ้ง" จะเตรียมเสี่ยงมือเอาไว้ ว่าจะออกเป็น ค้อน กระดาษ หรือกรรไกร เมื่อพูด "ฉุบ" ทั้งสองจะออกมือมาพร้อมกัน และจะรู้ทันทีว่าใครแพ้หรือชนะ บางแห่ง เด็ก ๆ จะกำมือสองข้าง หมุนกำมือซ้ายและกำมือขวาวนรอบกัน หรืออาจจะแค่ยกกำมือข้างเดียวขึ้นเขย่า ๆ หรือเอามือจับติ่งหูพร้อมพูดคำเต็ม ๆ ว่า "ยัน ยิง เยา ปั๊กกะเป้า ยิ้งงงงงงงงง" เป็นการนัดพร้อม แล้วแสดงมือเป็น ค้อน กรรไกร หรือกระดาษ เมื่อจบท้ายที่เสียง "ฉุบ" ซึ่งหากออกเสียงฉุบไม่พร้อมกัน หรือแสดงมือไม่พร้อมกัน จะถือว่าเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ก็ต้องเริ่มใหม่ ถ้าหากเสี่ยงมือออกมาเหมือนกันถือว่าเสมอ ต้องเล่นใหม่จนกว่าจะรู้แพ้ชนะ หรือบางครั้งนับจำนวนครั้งที่ชนะ เอา 2 ใน 3 หรือเอา 3 ใน 5 เคล็ดลับและเทคนิคแม้จะไม่เป็นที่ยืนยันแน่นอน แต่ก็มีเคล็ดลับบางประการในการเล่นเป่ายิ้งฉุบดังนี้
การเล่นในประเทศต่างๆมีดังต่อไปนี้[4]
การเล่นมีทำมือสามแบบ คือ มังกร จีบนิ้วทั้งห้า ก้อนหิน กำมือ น้ำ หงายฝ่ามือ เริ่มเล่น ร้องว่า ชุ่ม ชุ่ม พัท มีกติกา คือ
เรียกว่า วัน ทู ซุม การทำมือ มีห้าอย่าง คือ นก จีบนิ้วทั้งห้า ก้อนหิน กำมือ ปืน กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ กระดาน คว่ำมือลง น้ำ หงายฝ่ามือขึ้น มีกติกา คือ
เรียก ร็อก-เปเปอร์-ซิสเซอร์ (Rock-paper-scissors) มี กรรไกร กระดาษ และ หิน เล่นตามแบบไทยและญี่ปุ่น เชื่อว่าเป็นการเล่นตามชาติตะวันออก ชาวอเมริกันมักเรียกเกม เป่า ยิ้ง ฉุบ ว่า "โรแชมโบ้" (roshambo) [5] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เป่ายิ้งฉุบ |