เพกาซัส (สปายแวร์)
เพกาซัส (อังกฤษ: Pegasus) เป็นสปายแวร์ที่เอ็นเอสโอกรุ๊ป บริษัทอาวุธไซเบอร์สัญชาติอิสราเอล เป็นผู้ผลิต สามารถติดตั้งในทางลับได้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (และอุปกรณ์อื่น) ซึ่งดำเนินการบนไอโอเอสและแอนดรอยด์[1] ได้ในเวอร์ชั่นส่วนใหญ่ เพกาซัสสามารถเจาะระบบไอโอเอสได้จนถึงเวอร์ชั่น 14.6 ผ่าน "zero-click exploit" คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องตอบสนอง เช่น ตอบข้อความหรือกดลิงก์ใด ๆ ในปี 2565 เพกาซัสสามารถอ่านสารข้อความ ติดตามการโทรศัพท์เข้าออก เก็บรหัสผ่าน ติดตามตำแหน่ง เข้าถึงไมโครโฟนและกล้องของอุปกรณ์ และรวบรวมสารสนเทศจากแอพพลิเคชันได้[2] เพกาซัสมีการค้นพบครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2559 หลังมีความพยายามติดตั้งล้มเหลวบนไอโฟนของนักกิจกรรมสิทธิมนุษยชนจนนำไปสู่การสอบสวน เพกาซัสถูกเรียกว่าเป็นการโจมตีสมาร์ตโฟนที่ "สลับซับซ้อนที่สุด" ที่เคยมีมา และเป็นครั้งแรกที่การเจาะระบบทางไกลใช้วิธีเจลเบรคเพื่อเข้าถึงไอโฟนแบบไม่มีข้อจำกัดได้[3] มักมีการใช้สปายแวร์ชนิดนี้ในการสอดแนมนักกิจกรรม นักหนังสือพิมพ์และผู้นำการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลในหลายประเทศรอบโลก[4] การใช้งานในแต่ละประเทศประเทศไทยรายงานของซิตีเซนแล็บ (Citizen Lab) และดิจิตอลรีช (Digital Reach) ระบุว่านักกิจกรรมทางการเมืองและผู้ที่วิจารณ์รัฐบาลไทยอย่างน้อย 30 คนได้รับผลกระทบจากเพกาซัส นักวิจัยจากซิตีเซนแล็บระบุว่า ถึงแม้จะมีเพียง 30 คนที่ยืนยันได้ว่าได้รับผลกระทบจากเพกาซัส แต่คาดว่าจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ สูงกว่านั้นมาก[5] อ้างอิง
|