Share to:

 

เม็มมะ

เม็มมะ
筍乾
อักษรจีนตัวเต็ม筍乾
อักษรจีนตัวย่อ笋干
筍絲
อักษรจีนตัวเต็ม筍絲
อักษรจีนตัวย่อ笋丝
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
  • 麺麻(メンマ)
  • 麺媽(メンマ)
  • 支那竹(シナチク)
เม็มมะวางอยู่ใจกลางราเม็งโตเกียว ดูเหมือนแท่งเสาสีเหลืองที่มีการตัดเป็นสี่เหลี่ยม
โฮซากิเม็มมะ

เม็มมะ (メンマ, 麺麻, 麺媽) เป็นส่วนประกอบอาหาร ที่เกิดจากการหมักหน่อไม้กับกรดแล็กติก มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าชินาจิกุ (支那竹)[1]

เม็มมะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้กินได้ ซึ่งแต่เดิมหมักจาก หน่อไม้พันธุ์มาจิกุ (Dendrocalamus latiflorus Munro) ทางตอนใต้ของประเทศจีน และ ไต้หวัน[2]

ต้นไผ่แบ่งเป็นไผ่เขตอบอุ่น (ชนิดก้านเดี่ยว) ไผ่กึ่งเขตร้อน (ชนิดก้านกึ่งต่อเนื่อง) และไผ่ เขตร้อน (ชนิดก้านต่อเนื่อง)[3] มาจิกุเป็นไผ่ชนิดหนึ่งที่ขึ้นในจีนตอนใช้และไต้หวันซึ่งเป็นกึ่งเขตร้อน[4] เมื่อเก็บเกี่ยวมาจิกุจะนุ่มมากจนสามารถตัดด้วยเคียวได้ และเนื้อสัมผัสของมันจะแตกต่างจาก ไผ่มาดาเกะ ที่ปลูกในญี่ปุ่น ในจีนตอนใต้และไต้หวัน มาจิกุที่เก็บเกี่ยวได้จะถูกนึ่งแล้วนำไปดองเกลือแล้วหมักโดยใส่ในภาชนะปิดสนิท แล้วเอาไปตากแห้งก็จะได้เม็มมะมา[2] นั้นจึงนำไปดองใน เกลือ และหมักในสภาวะที่ปิดสนิท นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายอาหารปรุงรสและปรุงสำเร็จที่สามารถรับประทานได้ตามต้องการ

ในไต้หวันมีชื่อเรียกเม็มมะหลายแบบ ได้แก่ สุ่นกาน (筍乾), สุ่นซือ (筍絲), สุ่นหรง (筍茸), สุนเหว่ย์เพี่ยน (筍尾片) เป็นต้น[5] ในโอกินาวะ จะเรียกว่า เรียกว่าซุนชี (スンシー) และขายในลักษณะต้มจนนิ่ม และรับประทานเป็น ซุนชีอิริจี (スンシーイリチー) ซึ่งย่างกับซี่โครงหมู ในไต้หวันและ จีนแผ่นดินใหญ่นั้นมีการใช้เม็มมะเป็นกับข้าวในเบนโต[6]

อ้างอิง

  1. "麺麻とは - コトバンク". สืบค้นเมื่อ 2021-05-11.
  2. 2.0 2.1 内村悦三 (2012). 竹資源の植物誌. 創森社. p. 125.
  3. 内村悦三 (2012). 竹資源の植物誌. 創森社. p. 68.
  4. 内村悦三 (2012). 竹資源の植物誌. 創森社. pp. 145–146.
  5. "地方特產 加工筍品 - 筍乾、桶筍、筍絲、筍茸、醬筍". 台湾南投縣政府. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
  6. "台鐵便當酸菜二氧化硫超標 台中餐廳改用筍絲". 自由時報. สืบค้นเมื่อ 2017-03-13.
Kembali kehalaman sebelumnya