Share to:

 

เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน

เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
อักษรจีนตัวย่อ党委书记
อักษรจีนตัวเต็ม黨委書記
Short form
อักษรจีนตัวย่อ书记
อักษรจีนตัวเต็ม書記

เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรค (จีน: 党委书记; พินอิน: dǎngwěi shūjì) หมายถึง ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในมณฑล เมือง หมู่บ้าน รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ในกรณีส่วนใหญ่ ตำแหน่งนี้จะถือเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่สูงที่สุดในพื้นที่นั้นโดยพฤตินัย คำนี้ยังใช้เรียกตำแหน่งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในองค์กรต่าง ๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน บริษัทต่างชาติ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย โรงพยาบาล และสถาบันอื่น ๆ ของรัฐ[1][2][3]

หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย และรัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามนโยบายนั้น ในทุกระดับการปกครอง จะมีผู้นำรัฐบาลทำงานร่วมกับเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรค ตัวอย่างเช่น ในระดับมณฑล เลขาธิการพรรคประจำมณฑล คือผู้นำสูงสุดโดยพฤตินัย แต่จะบริหารงานโดย "ผู้ว่าการมณฑล" (省長) ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นข้าราชการที่มีอำนาจรองลงมาในคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑล และจะดำรงตำแหน่ง "รองเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑล" (省委副书记) ควบคู่กันไปด้วย กรณีอื่น ๆ ที่เปรียบเทียบได้ เช่น ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำเมือง (市委书记) กับนายกเทศมนตรี (市长) หรือแม้กระทั่ง ตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (总书记) กับนายกรัฐมนตรี (国务院总理)

แม้จะมีกรณีพิเศษบางกรณีที่บุคคลคนเดียวจะดำรงตำแหน่งทั้งเลขาธิการพรรคและผู้ว่าการมณฑล (หรือ นายกเทศมนตรี) แต่ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ไม่นิยมนับตั้งแต่หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[ ต้องการอ้างอิง ] โดยทั่วไป เลขาธิการพรรคจะได้รับความช่วยเหลือจากรองเลขาธิการพรรคหลายคน

จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษที่ 1980 ตำแหน่งผู้นำขององค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนในระดับท้องถิ่นจะเรียกว่า "เลขาธิการลำดับที่หนึ่ง" (第一书记) รองลงมาคือ "เลขาธิการลำดับที่สอง" (第二书记) [ ต้องการอ้างอิง ] องค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนระดับท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมี "สำนักเลขาธิการ" ประจำอยู่ ซึ่งประกอบด้วยเลขาธิการหลายคน

อ้างอิง

  1. Yan, Xiaojun; Huang, Jie (2017). "Navigating Unknown Waters: The Chinese Communist Party's New Presence in the Private Sector". China Review. 17 (2): 37–63. ISSN 1680-2012. JSTOR 44440170.
  2. Martina, Michael (2017-08-24). "In China, the Party's push for influence inside foreign firms stirs fears". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  3. Ng, Eric (25 July 2018). "Foreign investors will need more clarity on role of Communist Party organisations in listed firms, says report". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.
Kembali kehalaman sebelumnya