เลือดที่ออกสด ๆ จะมีลักษณะเป็นสีแดงสดผสมอยู่ในอุจจาระ
ในมนุษย์ เลือดในอุจจาระ จะดูต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับว่ามันออกเข้าไปในทางเดินอาหารในส่วนใดเพราะก็จะได้ย่อยไปในระดับต่าง ๆ กัน และขึ้นอยู่กับว่าไหลออกมากเท่าไร
โดยคำอาจมุ่งกล่าวถึงอุจจาระดำ (melena) ซึ่งปกติจะมาจากเลือดที่ไหลออกจากทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal bleeding) หรือมุ่งกล่าวถึงเลือดออกสด ๆ (hematochezia) ที่มีสีแดงสดและมาจากทางเดินอาหารส่วนล่าง (lower gastrointestinal bleeding)[ 1]
การประเมินเลือดที่พบในอุจจาระจะขึ้นอยู่กับลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งสี ปริมาณ และลักษณะอื่น ๆ ซึ่งอาจชี้แหล่งกำเนิด
อย่างไรก็ดี เลือดแม้เพราะโรคหนักก็อาจมีสภาพที่คลุมเครือ หรือมีลักษณะเหมือนกับเลือดที่มาจากอีกส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร[ 1] [ 2]
แต่คำว่า "blood in stool" (เลือดในอุจจาระ) ทางการแพทย์ ปกติจะหมายถึงเลือดที่เห็นได้ คือไม่ใช่เลือดแฝงในอุจจาระ ซึ่งจะพบก็ต่อเมื่อตรวจร่างกายหรือทดสอบอุจจาระด้วยสารเคมี
ในทารก เกิดใหม่ Apt test สามารถใช้แยกแยะระหว่างเลือดของทารกในอุจจาระจากเลือดของแม่ โดยอาศัยความแตกต่างของเฮโมโกลบินของทารกในครรภ์/เกิดใหม่ (fetal hemoglobin) เทียบกับของผู้ใหญ่[ 3] [ 4]
การวินิจฉัยแยกโรค
ทางเดินอาหารส่วนบนแบ่งจากส่วนล่างที่จุดต่อระหว่างลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) กับส่วนกลาง (jejunum)[ 5] ดังนั้น ลำไส้เล็กจึงเป็นส่วนของทั้งทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่าง อวัยวะอื่น ๆ ที่มีส่วนในการย่อยอาหารรวมตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน [ 6] เลือดที่เข้าไปในทางเดินอาหารส่วนบนต้องดำเนินไปไกลกว่า ดังนั้น จึงผ่านส่วนในระบบทางเดินอาหารมากกว่า และอาจได้ย่อยเป็นบางส่วนจนกลายเป็นอุจจาระดำ [ 7] ส่วนเลือดสด ๆ โดยทั่วไปจะเกิดในส่วนที่ต่ำกว่าของทางเดินอาหาร และจะอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่า แต่การมีเลือดออกมากในทางเดินอาหารส่วนบน ก็ทำให้เห็นเป็นเลือดสด ๆ เช่นกัน[ 7]
เลือดในอุจจาระอาจมาจากที่ต่าง ๆ หลายแหล่ง
โดยอาจมีเหตุที่ไม่มีโทษอะไรจนกระทั่งเป็นปัญหาหนักมาก
วิธีการแยกแยะเหตุที่ทำให้เลือดออกก็คือแยกแยะแหล่งที่เลือดออก
ทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) สามารถแบ่งออกเป็นส่วนบน (upper) และส่วนล่าง (lower)[ 8] [ 9]
เลือดในอุจจาระบ่อยครั้งจะปรากฏแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด
ซึ่งอาจช่วยวินิจฉัยปัญหา
อัตราการออกของเลือดก็อาจทำให้ดูต่างกับกรณีทั่วไปด้วย[ 2] [ 10]
ทางเดินอาหารส่วนบน
ทางเดินอาหารส่วนบน หมายถึงอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวกับการย่อยอาหารเหนือ suspensory muscle of duodenum (ligament of Treitz) โดยประกอบด้วยหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น [ 8]
เลือดออกที่ทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal bleeding) ปกติจะกำหนดโดยอุจจาระดำ (melena)
แต่ก็อาจเห็นเลือดสีแดงถ้าเลือดออกไม่หยุดและเร็ว[ 11]
ทางเดินอาหารส่วนล่าง
เลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนล่างปกติจะปรากฏเป็นเลือดสดโดยเป็นปัญหาหนักเบาไม่เท่ากัน[ 2]
เลือดที่ไหลออกช้า ๆ จากลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งขึ้น อาจจะถูกย่อยไปโดยส่วนหนึ่งและปรากฏเป็นอุจจาระดำเช่นกัน[ 10]
พยาธิสรีรวิทยา
การมีเลือดอยู่ในอุจจาระอาจมีเหตุหลายอย่าง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ
หมวดกว้าง ๆ รวมส่วนยื่นที่จะเป็นมะเร็ง (cancerous processes) หรือผนังลำไส้ที่ผิดปกติ, โรคที่ทำให้อักเสบ (inflammatory disease), ลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) จากการติดเชื้อหรือจากยา, และหลอดเลือดมีปัญหา (vascular compromise)[ 10]
มะเร็ง/เนื้องอก
การเปลี่ยนแปลงของผนังลำไส้
การบีบตัว (motility)
ผนังลำไส้สำคัญในการเคลื่อนของของเสียไปตามทางเดินอาหาร
การพยายามเบ่งถ่ายซ้ำ ๆ อาจทำให้เนื้อเยื่อที่ไส้ตรงฉีกขาดเป็นแผลที่ทวารหนัก (anal fissure)
โดยโครงสร้าง
รายการนี้รวมโรคที่ผนังลำไส้เปลี่ยนไปเพราะโรค[ 10]
โรคแผลเปื่อยเพปติก (peptic ulcer disease)[ 21] [ 11] [ 22] [ 23] โดยแบ่งออกเป็นแผลเปื่อยที่ลำไส้เล็กส่วนต้นหรือที่กระเพาะอาหาร เหตุสามัญที่สุดรวมทั้ง
Diverticulitis[ A] [ 29] และ diverticulosis[ B] [ 33] ซึ่งเกิดจากกระเป๋า (pouch) ที่ยื่นออกจากผนังลำไส้ แล้วทำให้ผนังลำไส้อ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่อยู่ในทางเดินอาหาร และดังนั้น ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเส้นเลือด (vascular compromise), การสะสมแบคทีเรียที่ที่ลำไส้ทะลุ (เป็นฝี ), การเกิดช่องทะลุ (fistula) ต่อกับอีกส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร, และการอุดตันของลำไส้[ 29]
ถุงยื่น คือ Meckel's diverticulum เป็นส่วนเหลือแต่กำเนิดของท่อ omphalomesenteric duct ที่เชื่อมถุงไข่แดง (yolk sac) ของทารกในครรภ์กับลำไส้ และปกติจะปิดแล้วทำลายในช่วงพัฒนาการ แต่ถ้าท่อยังคงอยู่แม้แต่เป็นบางส่วน ก็อาจจะเกิดถุงยื่นหรือช่องทะลุ ซึ่งก็จะเสี่ยงเป็นแหล่งให้เลือดออก[ 34]
ลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel)
โรคที่ทำให้ทางเดินอาหารอักเสบอาจทำให้มีเลือดในอุจจาระ[ 35]
เช่น การอักเสบอาจเกิดขึ้นในทางเดินอาหารที่ไหนก็ได้เนื่องจากโรค Crohn's disease[ 36]
และเกิดในลำไส้ใหญ่ถ้ามีลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis)[ 37]
ลำไส้อักเสบ
ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบติดเชื้อ
อาหารเป็นพิษ - แบคทีเรียที่สัมพันธ์กับอาการท้องร่วงแบบมีเลือดก็คือ E. coli
ลำไส้เล็กอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter (Campylobacter enteritis)[ 43]
โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา [ 44]
การติดเชื้อ Salmonella ทั่วกาย (Salmonellosis) รวมทั้ง Salmonella enteritis และ Salmonella enterocolitis[ 45] [ 46]
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial gastroenteritis)[ 47]
จากแบคทีเรีย Campylobacter jejuni
จากแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ คือ Clostridium dificile
ลำไส้เล็กอักเสบเหตุ Escherichia coli ซึ่งเป็นเหตุท้องร่วงของผู้เดินทางไกลมากที่สุด[ 48]
จากแบคทีเรีย Salmonella enterica
จากแบคทีเรีย Shigella dysenteriae [ 44] (ดูเพิ่มที่โรคบิด )
จากแบคทีเรีย Staphylococcus aureus [ 42]
ลำไส้เล็กอักเสบเหตุการรักษา
ลำไส้เล็กอักเสบเหตุการฉายรังสี (radiation enteritis)[ 49]
ปัญหาเส้นเลือด (vascular compromise)
เหตุอื่น ๆ
เลือดในอาหาร เช่น อาหารตามประเพณีของคนมาซาย มักรวมเลือดที่ได้จากวัวควาย
การประเมิน/การตรวจ
การตรวจหาเลือดที่พบในอุจจาระจะขึ้นอยู่กับลักษณะเลือด (สี ปริมาณเป็นต้น) และถ้าบุคคลนั้นมีความดันต่ำ บวกกับอัตราการเต้นหัวใจที่สูงขึ้นหรือไม่[ 2] การตรวจต่อไปนี้จะใช้ร่วมกันเพื่อกำหนดจุดที่เลือดออก
การตรวจไส้ตรงโดยใช้นิ้วคลำ (DRE ) และการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT )
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)
การตรวจทวารหนักด้วยกล้อง (anoscopy)
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (EGD )
การส่องกล้องด้วยแคปซูล (capsule endoscopy)
เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
อุจจาระดำ (melena) ก็คืออุจจาระที่มีสีเข้ม คล้ายน้ำมันดิน เนื่องจากมีการย่อยเม็ดเลือดแดงเป็นบางส่วน[ 1]
ส่วนเลือดสด ๆ (hematochezia) ก็คือเลือดสีแดงที่เห็นในส้วม ไม่ว่าจะอยู่ในอุจจาระหรือรอบ ๆ อุจจาระ[ 1]
โดยเลือดปกติจะสันนิษฐานว่า มาจากทางเดินอาหารส่วนล่าง ซึ่งในเบื้องต้นจะตรวจไส้ตรงโดยใช้นิ้วคลำและตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ ซึ่งถ้าพบผลบวก ก็จะตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป[ 1] [ 11] [ 10] [ 2]
แต่ถ้ามีเลือดสดมากในอุจจาระ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (EGD) ก็อาจจำเป็น[ 1] [ 2] [ 11] [ 10]
ถ้าไม่พบแหล่งเลือดออกด้วยวิธีตรวจเหล่านี้ แพทย์อาจส่องกล้องโดยแคปซูลเพื่อตรวจลำไส้เล็กให้ละเอียดขึ้น ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยวิธีตรวจอื่น ๆ[ 10]
สำหรับอุจจาระดำ แพทย์จะตรวจไส้ตรงโดยใช้นิ้วคลำและตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ แต่ถ้าสงสัยว่ามีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน ก็อาจจะส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (EGD) ก่อนแล้วตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ทีหลังถ้ายังไม่สามารถกำหนดจุดที่เลือดออก[ 11] [ 10]
การตรวจทวารหนักด้วยกล้อง (anoscopy) เป็นวิธีตรวจอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้รวมกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นวิธีที่ตรวจไส้ตรงและส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งลง[ 1] [ 2]
สี
ศัพท์แพทย์
ความบ่อย
ปริมาณ
ตัวอย่างของแหล่งเลือด
แดงสด
Hematochezia (เลือดออกสด ๆ)[ 1]
เป็นครั้งคราว
น้อย
โรคริดสีดวงทวาร , อาการอักเสบ ต่าง ๆ, ติ่งเนื้อเมือก [ 2]
แดงสด
Hematochezia (เลือดออกสด ๆ)[ 1]
อุจจาระเพิ่มขึ้น มีเลือดทุกครั้ง
จำนวนมาก
เลือดออกเร็ว เช่น แผลเปื่อย (ulcer), varice[ D] [ 2] [ 11]
แดงเข้ม/ดำ
อุจจาระดำ (melena)[ 1]
มีเลือดเมื่อถ่ายทุกครั้ง
บอกได้ยากเพราะรวมอยู่กับอุจจาระ
เลือดออกช้า ๆ, มะเร็ง, แผลเปื่อย, แต่การใช้ยา peptobismol และการทานธาตุเหล็ก ก็อาจก่ออาการนี้[ 11]
ลักษณะอื่น ๆ
อุจจาระอาจมีเมือก ด้วย[ 2]
อุจจาระที่เหมือนกับน้ำมันดิน ทั่วไปจะเป็นพร้อมกับอุจจาระดำซึ่งเกิดเนื่องจากเลือดที่ได้ย่อยสลายเป็นบางส่วน[ 1]
อายุคนไข้
อายุของคนไข้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อประเมินว่าอะไรเป็นเหตุให้เลือดออก[ 2]
อายุ
กลุ่ม
แหล่งเลือดที่พิจารณา
<20 ปี
เด็ก/เยาวชน
ปัญหาพันธุกรรม/ภูมิต้านตนเอง หรือปัญหาอวัยวะ/โครงสร้าง
20-60 ปี
ผู้ใหญ่
ปัญหาพันธุกรรม/ภูมิต้านตนเอง สภาวะวิรูปของหลอดเลือด
>60 ปี
ผู้สูงอายุ
สภาวะวิรูปของหลอดเลือด โรคตับ มะเร็ง
การรักษา
การรักษาปัญหาเลือดในอุจจาระโดยมากขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำให้เลือดออก
เลือดออกมักทำให้ล้า เวียนศีรษะ ปวดหัว หรือแม้แต่หายใจไม่ออก โดยอาการเหล่านี้ก็จะต้องรักษาด้วย[ 55] [ 56]
เป็นอาการจากการเสียเลือด เกิดเพราะขาดเม็ดเลือดแดง ทำให้มีออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อ และอวัยวะ ต่าง ๆ น้อยลง[ 57] [ 56]
เลือดในอุจจาระสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนหนักโดยเป็นผลของการตกเลือด หรือการเสียเลือดอย่างช้า ๆ ซึ่งทำให้มีเฮโมโกลบิน ต่ำในเลือด (โลหิตจาง )[ 57]
โลหิตจาง
โลหิตจาง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามัญเมื่อมีเลือดในอุจจาระ โดยเฉพาะเมื่อมีจำนวนมากหรือมีเป็นระยะเวลานาน[ 57]
และก็สัมพันธ์อย่างสามัญกับภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ด้วย เนื่องจากความสำคัญของเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดง [ 56]
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าโลหิตจางเนื่องจากมีเลือดในอุจจาระ ปกติก็จะให้วิตามิน ที่สำคัญในการสร้างเลือดด้วย รวมทั้งกรดโฟลิก วิตามินบี12 และวิตามินซี [ 56]
การรักษาโดยเฉพาะ
การรักษาการเลือดออกในบางกรณีสามารถทำได้เลยเมื่อกำลังตรวจวินิจฉัย
เลือดออกที่เกิดจากเนื้องอก สามารถรักษาเมื่อส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) แล้วตัดออก รักษาด้วยการผ่าตัด และด้วยวิธีอื่น ๆ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะของมะเร็ง[ 58]
เช่นเดียวกัน มะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถรักษาขึ้นอยู่กับระยะ แม้ปกติจะต้องผ่าตัดและทำการบำบัดอย่างอื่น ๆ[ 59]
การรักษาปัญหาการบีบตัวของลำไส้ (motility) ซึ่งทำให้ท้องผูก ปกติก็เพื่อปรับการดำเนินของของเสียผ่านทางเดินอาหาร
โดยใช้ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม (stool softeners) ซึ่งออกฤทธิ์โดยการดูดน้ำให้เข้าไปในอุจจาระในลำไส้ใหญ่, โดยเพิ่มใยอาหาร , และโดยใช้ยาระบาย (osmotic laxative) ที่เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่โดยทั่วไป
การเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะลำไส้โดยทั่วไปจะทำให้เบ่งน้อยลงเมื่ออุจจาระและลดโอกาสเสี่ยงการมีแผลที่ทวารหนัก[ 60]
ซึ่งสัมพันธ์กับความเจ็บและเลือดที่กระดาษชำระ เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลาเพื่อให้หายดี[ 61]
การรักษารวมทั้งยาทาขยายหลอดเลือดคือ Nitrovasodilator หรือแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ และการผ่าตัดในกรณีที่เรื้อรังหรือซับซ้อน[ 61]
เหมือนกับแผลที่ทวารหนัก ริดสีดวงภายในสามารถทำให้เลือดออกซึ่งเห็นบนกระดาษชำระ โดยสามารถคลำตรวจได้ที่ทวารหนัก
การรักษาริดสีดวงจะขึ้นอยู่กับว่ามีเหตุที่เป็นมูลฐานหรือไม่
โรคริดสีดวงเนื่องจากหลอดเลือดดำบวมที่ทวารหนัก (anorectal varices) เพระเหตุตับแข็ง จะรักษาอาการได้โดยบ่อยครั้งต้องตัดออก[ 53]
ส่วนลำไส้ใหญ่อักเสบสามารถแบ่งเป็นแบบติดเชื้อและแบบเกิดเพราะยา และรักษาตามเหตุ
แบบติดเชื้อ การรักษาจะขึ้นอยู่กับเชื้อที่ติด โดยปกติจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
แบบเกิดเพราะยา การรักษาก็คือเลิกยาที่ใช้ เช่น โรคแผลเปื่อยเพปติก (PUD ) ที่เกิดจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์[ 24]
อย่างไรก็ดี การเลิกฉายรังสีสำหรับคนไข้มะเร็งเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ[ 62]
ปัญหาทางอวัยวะ/โครงสร้างที่ทำให้เลือดออกในอุจจาระมาจากเหตุหลายอย่าง ดังนั้น การรักษาก็จะต่าง ๆ กัน
โรคแผลเปื่อยเพปติกเพียงอย่างเดียวก็มีเหตุหลายอย่าง แต่โดยทั่วไปก็จะควบคุมด้วยยายับยั้งการหลั่งกรด และอาจเพิ่มสารต้านตัวรับเอช2 หรือในกรณีหนัก อาจต้องผ่าตัด[ 11]
ส่วน diverticulitis[ A] และ diverticulosis[ B] จะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และอาจต้องผ่าตัด[ 29]
ส่วนโรคลำไส้อักเสบ (IBD ) ก็แบ่งออกเป็นภาวะต่าง ๆ เช่นกัน คือแบ่งเป็นลำไส้อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis) และ Crohn's disease ซึ่งรักษาต่างกันและอาจต้องผ่าตัดในกรณีที่หนัก[ 36]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 diverticulitis หรือ colonic diverticulitis เป็นโรคทางเดินอาหาร ที่ส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือก และชั้นใต้เยื่อเมือก ของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อผนังลำไส้ไม่แข็งแรง เกิดการอักเสบ [ 26]
อาการปกติรวมการปวดท้องด้านล่างที่เกิดอย่างฉับพลัน
แต่ก็อาจใช้เวลาเกิดเป็นเวลา 2-3 วัน[ 26]
ในอเมริกาเหนือ และยุโรป มักจะปวดท้องทางด้านซ้าย และในเอเชีย บ่อยครั้งจะปวดทางด้านขวา[ 27] [ 28]
บางครั้งจะเป็นไข้ คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องผูก หรือมีเลือด ในอุจจาระ [ 26]
และอาจเกิดอย่างซ้ำ ๆ[ 27]
↑ 2.0 2.1 Diverticulosis เป็นภาวะที่ลำไส้ใหญ่ เกิดกระเป๋า/ช่อง/ซอก (คือ diverticula) หลายอันที่ไม่ได้อักเสบ
เป็นส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือก และชั้นใต้เยื่อเมือก ของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อ ผนังลำไส้ไม่แข็งแรง[ 30]
ซึ่งปกติจะไม่มีอาการอะไร ๆ[ 31]
จะเป็น Diverticular disease ก็ต่อเมื่อช่องเหล่านี้อักเสบ คือเป็น diverticulitis หรือเมื่อเลือดออก[ 32]
↑ ในวิทยาการทางเดินอาหาร angiodysplasia เป็นสภาวะวิรูปของหลอดเลือดแดงเล็กในท้อง
เป็นเหตุสามัญของการเลือดออกในกระเพาะลำไส้และโลหิตจางที่ไม่มีสาเหตุอื่น ๆ
รอยโรค มักจะเป็นหลายจุด และบ่อยครั้งจะเป็นที่กระพุ้งไส้ใหญ่ (cecum) หรือลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งขึ้น แต่ก็เกิดที่อื่น ๆ ได้เหมือนกัน
↑ 4.0 4.1 esophageal varices หรือ oesophageal varices เป็นเส้นเลือดดำ ใต้เยื่อเมือก ในหลอดอาหาร 1/3 ส่วนล่างซึ่งพองอย่างมาก[ 50]
บ่อยครั้งเป็นผลของ portal hypertension (ความดันในระบบหลอดเลือดดำที่วิ่งไปจากทางเดินอาหาร ไปยังตับ ) โดยปกติเนื่องจากตับแข็ง
คนไข้ที่มีอาการนี้โน้มเอียงในการเลือดออกสูง
ปกติตรวจวินิจฉัยได้โดยส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (EGD )[ 51]
อ้างอิง
↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Wilson (1990) , chapter 85
↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10
Cotter, Thomas G.; Buckley, Niamh S.; Loftus, Conor G. (2017). "Approach to the Patient With Hematochezia" . Mayo Clinic Proceedings . 92 (5): 797–804. doi :10.1016/j.mayocp.2016.12.021 .
↑
"Hemoglobin F" . phpa.health.maryland.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-12-06 .
↑
"Apt-Downey test" . www.allinahealth.org . 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06 .
↑ pmhdev. "Lower Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine" . PubMed Health . สืบค้นเมื่อ 2017-12-02 .
↑ pmhdev. "Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine" . PubMed Health . สืบค้นเมื่อ 2017-12-02 .
↑ 7.0 7.1 Wilson, I. Dodd (1990). Walker, H. Kenneth; Hall, W. Dallas; Hurst, J. Willis (บ.ก.). Clinical Methods: The History, Physical, and Laboratory Examinations (3rd ed.). Boston: Butterworths. ISBN 040990077X . PMID 21250251 .
↑ 8.0 8.1
pmhdev. "Upper Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine" . PubMed Health . สืบค้นเมื่อ 2017-11-25 .
↑
pmhdev. "Lower Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine" . PubMed Health . สืบค้นเมื่อ 2017-11-25 .
↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09
Harrison's Principles of Internal Medicine (19e ed.). New York, NY: McGraw-Hill. 2014. Part 14: The Gastrointestinal System, Chs 344,345,348,351,353,365.
↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 Moses, Scott (MD). "Upper Gastrointestinal Bleeding" . www.fpnotebook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-26 .
↑
"What are Colon Cancer Symptoms" . Coloncancer.about.com. 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑
"Colon cancer: Symptoms" . MayoClinic.com. 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑
Lenz, Heinz-Josef (2009-03-06). "What are Early Symptoms of Colorectal Cancer? Watch out for Small Changes" . Alexandria, Virginia: Fight Colorectal Cancer. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-02-23 .
↑
"Colon Cancer Symptoms - Colorectal Cancer Symptoms" . Webmd.com. 2010-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑
"Crohn's Disease: Inflammatory Bowel Diseases (IBD) : Merck Manual Home Edition" . Merckmanuals.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑ Gastric Cancer จาก eMedicine
↑
Chatoor, D; Emmnauel, A (2009). "Constipation and evacuation disorders". Best Pract Res Clin Gastroenterol . 23 (4): 517–30. doi :10.1016/j.bpg.2009.05.001 . PMID 19647687 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
American Gastroenterological Association; Bharucha, AE; Dorn, SD; Lembo, A; Pressman, A (2013-01). "American Gastroenterological Association medical position statement on constipation". Gastroenterology (Review). 144 (1): 211–17. doi :10.1053/j.gastro.2012.10.029 . PMID 23261064 .
↑
"Complications" . nhs.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2017-12-06 .
↑ MD, Scott Moses, (2017-11-05). "Gastrointestinal Bleeding" . www.fpnotebook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-26 . {{cite web }}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์ )
↑ "Peptic ulcer: Symptoms" . MayoClinic.com. 2011-01-06. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑ 23.0 23.1 23.2 Moses, Scott (MD) (2017-11-05). "Peptic Ulcer Disease" . www.fpnotebook.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ 24.0 24.1 Wallace, J. L. (2000-02). "How do NSAIDs cause ulcer disease?". Bailliere's Best Practice & Research. Clinical Gastroenterology . 14 (1): 147–159. doi :10.1053/bega.1999.0065 . PMID 10749095 .
↑
Testerman, Traci L; Morris, James (2014-09-28). "Beyond the stomach: An updated view of Helicobacter pylori pathogenesis, diagnosis, and treatment" . World Journal of Gastroenterology . 20 (36): 12781–12808. doi :10.3748/wjg.v20.i36.12781 . ISSN 1007-9327 . PMC 4177463 . PMID 25278678 .
↑ 26.0 26.1 26.2 "Diverticular Disease" . niddk.nih.gov. 2013-09.
↑ 27.0 27.1
"Diverticulosis today: unfashionable and still under-researched". 2016. PMID 26929783 .
↑
Feldman, Mark (2010). Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal and liver disease pathophysiology, diagnosis, management (9th ed.). MD Consult. p. 2084. ISBN 9781437727678 . {{cite book }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 29.0 29.1 29.2 Linzay, Catherine D.; Pandit, Sudha (2017). StatPearls . Treasure Island (FL): StatPearls Publishing. PMID 29083630 .
↑ "Diverticulosis and Diverticulitis". 2016. PMID 27156370 .
↑ "Diverticular Disease" . niddk.nih.gov. 2013-09.
↑ "Review article: the pathophysiology and medical management of diverticulosis and diverticular disease of the colon". 2015-07. PMID 26202723 . ;
↑ "Diverticulitis: Diverticular Disease: Merck Manual Home Edition" . Merckmanuals.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑ Sagar, Jayesh; Kumar, Vikas; Shah, D K (2006-10). "Meckel's diverticulum: a systematic review" . Journal of the Royal Society of Medicine . 99 (10): 501–505. doi :10.1258/jrsm.99.10.501 . ISSN 0141-0768 . PMC 1592061 . PMID 17021300 .
↑ "Learn the Facts About Crohn's Disease" . Crohn’s and Colitis . สืบค้นเมื่อ 2017-12-06 .
↑ 36.0 36.1 "What is Crohn's Disease | Causes of Crohn's | Crohn's & Colitis Foundation" . www.crohnscolitisfoundation.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-06 .
↑ "Ulcerative Colitis" . NIDDK . 2014-09. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06 .
↑ "Crohn's disease: Symptoms" . MayoClinic.com. 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑
Travis, SP; Higgins, PD; Orchard, T; Van Der Woude, CJ; Panaccione, R; Bitton, A; O'Morain, C; Panés, J; Sturm, A; Reinisch, W; Kamm, MA; D'Haens, G (2011-07). "Review article: defining remission in ulcerative colitis" . Aliment Pharmacol Ther (Review). 34 (2): 113–24. doi :10.1111/j.1365-2036.2011.04701.x . PMID 21615435 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Walmsley, R.S.; Ayres, R.C.S.; Pounder, R.E.; Allan, R N (1998). "A simple clinical colitis activity index" . Gut . 43 (1): 29–32. doi :10.1136/gut.43.1.29 . ISSN 0017-5749 . PMC 1727189 .
↑ Walmsley, R S; Ayres, R.C.S.; Pounder, R E; Allan, R.N. (1998). "A simple clinical colitis activity index: Table One" . Gut . 43 (1): 29–32. doi :10.1136/gut.43.1.29 . ISSN 0017-5749 . PMC 1727189 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-06-17. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24 .
↑ 42.0 42.1 MedlinePlus Encyclopedia Enteritis
↑ MedlinePlus Encyclopedia Campylobacter infection
↑ 44.0 44.1 "Shigellosis" . National Center for Emerging and Zoonotic Infectious Diseases, Centers for Disease Control and Prevention .
↑ MedlinePlus Encyclopedia Salmonella enterocolitis
↑
"Salmonella infection: Symptoms" . MayoClinic.com. 2011-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑ MedlinePlus Encyclopedia Bacterial gastroenteritis
↑ MedlinePlus Encyclopedia E. coli enteritis
↑ MedlinePlus Encyclopedia Radiation enteritis
↑ Rubin's Pathology: Clinicopathologic Foundations of Medicine . p. 612.
↑ "The role of endoscopy in portal hypertension". 2005. PMID 15920321 .
↑ "Esophageal varices: Symptoms" . MayoClinic.com. 2010-10-30. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31 .
↑ 53.0 53.1 "Hemorrhoids" . National Digestive Diseases Information Clearinghouse, National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases, National Institutes of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-03-11. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14 .
↑
"Hemorrhoids: Symptoms" . Mayo Clinic.
↑
pmhdev. "Anemia - National Library of Medicine" . PubMed Health . สืบค้นเมื่อ 2017-12-09 .
↑ 56.0 56.1 56.2 56.3
"Anemia - Symptoms and causes - Mayo Clinic" . www.mayoclinic.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-09 .
↑ 57.0 57.1 57.2 "Anemia | Symptoms and Conditions | MUSC DDC" . ddc.musc.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-07 .
↑ "Treatment of Colon Cancer, by Stage" . www.cancer.org . สืบค้นเมื่อ 2017-12-09 .
↑ "Treatment Choices by Type and Stage of Stomach Cancer" . www.cancer.org . สืบค้นเมื่อ 2017-12-09 .
↑ "Constipation - Diagnosis and treatment - Mayo Clinic" . www.mayoclinic.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-09 .
↑ 61.0 61.1 McCallion, K.; Gardiner, K. R. (2001-12-01). "Progress in the understanding and treatment of chronic anal fissure" . Postgraduate Medical Journal (ภาษาอังกฤษ). 77 (914): 753–758. doi :10.1136/pmj.77.914.753 . ISSN 0032-5473 . PMC 1742193 . PMID 11723312 .
↑ Stacey, Rhodri; Green, John T. (2014-01). "Radiation-induced small bowel disease: latest developments and clinical guidance" . Therapeutic Advances in Chronic Disease . 5 (1): 15–29. doi :10.1177/2040622313510730 . ISSN 2040-6223 . PMC 3871275 . PMID 24381725 .