Share to:

 

เศรษฐกิจยุโรป

เศรษฐกิจยุโรป ประกอบด้วยผู้คนกว่า 731 ล้านคนในประเทศต่าง ๆ 48 ประเทศ เช่นเดียวกับทวีปอื่น ๆ ความร่ำรวยของรัฐในทวีปยุโรปมีความแตกต่างกันออกไป แม้ว่าคนยากจนที่สุดของทวีปนี้จะดีกว่าคนยากจนที่สุดของทวีปอื่น ๆ ในแง่ของจีดีพีและมาตรฐานการครองชีพก็ตาม การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ประเทศในยุโรปใกล้ชิดกันมากขึ้น ปิดท้ายในการก่อตัวสหภาพยุโรป (อียู) และในปี ค.ศ. 1999 ได้มีการนำสกุลเงินยูโรมาใช้ร่วมกัน ความแตกต่างของความมั่งคั่งทั่วทวีปยุโรปสามารถเห็นได้อย่างคร่าว ๆ ในช่วงก่อนสงครามเย็น กับบางประเทศที่บาดหมางเรื่องการแบ่งแยก (กรีซ, โปรตุเกส, สโลวีเนีย และสาธารณรัฐเช็ก) ขณะที่ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่มีค่าจีดีพีต่อหัวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกและมีการพัฒนาสูงมาก (ลิกเตนสไตน์, ลักเซมเบิร์ก, โมนาโก, อันดอร์รา, นอร์เวย์, สวีเดน, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์) แม้ตำแหน่งของพวกเขามากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก (ยกเว้นมอลโดวา) แต่บางเศรษฐกิจในยุโรป ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ (แอลเบเนีย, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, จอร์เจีย, มาซิโดเนีย, คอซอวอ, เซอร์เบีย, เบลารุส, ยูเครน) ก็ยังคงไล่ตามประเทศผู้นำของยุโรป

ตลอดบทความ"ทวีปยุโรป"นี้ และบางส่วนของคำจะรวมถึงรัฐซึ่งมีอาณาเขตเพียงบางส่วนในยุโรปเท่านั้น – เช่น ตุรกี (ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ – ทั้งประเทศหรือเพียงเธรซ), อาเซอร์ไบจาน (คอเคซัส) และสหพันธรัฐรัสเซีย (ส่วนยุโรปไปยังเทือกเขาอูราล) – และรัฐที่มีภูมิศาสตร์ในทวีปเอเชีย โดยอยู่ติดกับทวีปยุโรปและยึดมั่นวัฒนธรรมตามทวีปยุโรป – เช่น อาร์มีเนีย, จอร์เจีย และไซปรัส

ทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 2010 มีผลผลิตมวลรวมในประเทศอยู่ที่ 19.920 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (30.2% ของโลก) เศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปคือประเทศเยอรมนี ซึ่งอยู่ในอันดับที่สี่ของจีดีพีโลก และอันดับห้าในจีดีพีภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (พีพีพี)[2] ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร ในอันดับห้าของจีดีพีโลก, ฝรั่งเศส ในอันดับหกของจีดีพีโลก, อิตาลี ในอันดับเจ็ดของจีดีพีโลก, รัสเซีย ในอันดับสิบของจีดีพีโลก และสเปน ในอันดับสิบสามของจีดีพีโลก[3] ซึ่งทั้ง 6 ประเทศนี้ล้วนอยู่ใน 15 อันดับสูงสุดของโลก ดังนั้นเศรษฐกิจในยุโรปจึงมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของ 10 ประเทศที่ร่ำรวยที่สุด

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปโดยรวมถือได้ว่าร่ำรวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เหนือกว่าสหรัฐที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงวิกฤตการณ์การเงิน[4] ในปี ค.ศ. 2009 ยุโรปยังคงเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่งที่สุดในโลก โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการจำนวน 33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวแทนของความมั่งคั่งมากกว่าหนึ่งในสามของโลก แตกต่างจากอเมริกาเหนือ (29.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ความมั่งคั่งทะลุยอดก่อนวิกฤติสิ้นปี[5]

จาก 500 บริษัทรายใหญ่ที่สุดที่วัดโดยรายได้ (ฟอร์ชูนโกลบอล 500 ในปี ค.ศ. 2010) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ 184 รายในทวีปยุโรป แบ่งเป็น 161 รายตั้งอยู่ในสหภาพยุโรป, 15 รายในสวิตเซอร์แลนด์, 6 รายในรัสเซีย, 1 รายในตุรกี, 1 รายในนอร์เวย์[6]

ตามที่ระบุไว้ในปี ค.ศ. 2010 โดยมานูเอล กัสเตลล์ ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยาชาวสเปน เผยว่า มาตรฐานการครองชีพเฉลี่ยของยุโรปตะวันตกนั้นสูงมาก กล่าวคือ: "ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตกยังคงมีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในโลก รวมถึงประวัติศาสตร์ของโลก"[7]

ดูเพิ่ม

สถิติ:

อ้างอิง

  1. [1]. Last accessed 3 December 2010.
  2. "List of countries by GDP (Purchasing Power Parity) – CIA World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  3. "List of countries by GDP (Official Exchange Rate) – CIA World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  4. "GDP and its breakdown at current prices in US Dollars". United Nations Statistics Division. December 2016.
  5. "Global Wealth Stages a Strong Comeback". Pr-inside.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2011. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  6. "Global 500 2010: Countries – Australia". Fortune. สืบค้นเมื่อ 8 July 2010. Number of companies data taken from the "Pick a country" box.
  7. "End of Millennium". google.co.uk.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya