Share to:

 

เสภาพระราชพงศาวดาร

เสภาพระราชพงศาวดาร
กวีพระสุนทรโวหาร (ภู่)
ประเภทเสภา
คำประพันธ์กลอนเสภา
ความยาว2 ตอน
ยุครัชกาลที่ 4
ปีที่แต่งพ.ศ. 2397
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

เสภาพระราชพงศาวดาร เป็นพงศาวดารที่ประพันธ์ในลักษณะเสภา ประพันธ์โดยพระสุนทรโวหาร (ภู่) (สุนทรภู่) โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการดำรัสฯ สั่งให้พระสุนทรโวหาร (ภู่) แต่งขึ้นสำหรับขับถวายทรงฟังในเวลาทรงเครื่องใหญ่ ตามแบบอย่างครั้งรัชกาลที่ 2 ต่อมาโปรดฯ ให้ใช้เป็นบทสำหรับนางในขับส่งมโหรีหลวงด้วย น่าจะเป็นผลงานสุดท้ายที่สุนทรภู่แต่ง เข้าใจว่าแต่งเมื่อราวปีขาล พ.ศ. 2397

เสภาเรื่องนี้หายไปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการค้นหากันนานแต่ไม่พบ จึงเข้าใจว่าสูญหายแล้ว แต่ด้วยมีผู้ท่องจำไว้ได้คนละเล็กละน้อย มา จนเมื่อ พ.ศ. 2463 หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครหาฉบับหนังสือเสภาเรื่องพระราชพงศาวดารได้ จึงปรากฎว่ายังอยู่บริบูรณ์ ต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้พิมพ์ในงานฉลองพระชัณษาครบ 60 ปี เมื่อปีจอ พ.ศ. 2465 พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร[1]

เนื้อหา

เนื้อหาแบ่งเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 เรื่องตีเมืองขอม เริ่มต้นเมื่อแรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงพระนามพระรามาธิบดีขึ้นครองราชย์ ต่อจากนั้นกล่าวถึงพระราเมศวร ยกกองทัพไปรบกับกัมพูชา พระบรมราชาไปช่วยจนรบชนะ ส่วนตอนที่ 2 เรื่องศึกหงสาวดี ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ คราวที่พระเจ้าหงสาวดีขอช้างเผือก[2] เหตุที่เนื้อหา 2 ตอนขาดจากกันเพราะเสภาคงไม่น่าฟัง จึงโปรดฯ ให้ข้ามไปแต่งตอนศึกพระเจ้าหงสาวดีในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ หลังจากนั้นสุนทรภู่ถึงแก่กรรม เสภาพระราชพงศาวดารจึงจบเพียงเท่านั้น

เนื้อหาพงศาวดาร สันนิษฐานว่าสุนทรภู่น่าจะนำโครงเรื่องมาจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากลุ่มฉบับความพิสดารที่ชำระกันในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ น่าจะได้แก่ฉบับที่เรียกว่า พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน[3]

อ้างอิง

  1. "เสภา เรื่องพระราชพงศาวดาร". วัชรญาณ.
  2. "เสภาพระราชพงศาวดาร". ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย.
  3. ศานติ ภักดีคำ. "เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่ : ภาพสะท้อนโลกทัศน์ ประวัติศาสตร์ไทย สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์".

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya