Share to:

 

เสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรกไม่ก้องที่เกิดบริเวณส่วนหลังของปุ่มเหงือกประกอบด้วยเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ไม่ก้อง [ʃ], เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง [ɹ̠̊˔], เสียงเสียดแทรก ลิ้นม้วน ไม่ก้อง [ʂ] และเสียงเสียดแทรก เพดานแข็งปุ่มเหงือก ไม่ก้อง [ɕ] บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะสองเสียงแรก

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ไม่ก้อง
ʃ
หมายเลขไอพีเอ134
การเข้ารหัส
เอนทิตี (ฐาน 10)ʃ
ยูนิโคด (ฐาน 16)U+0283
เอกซ์-แซมปาS
เคอร์เชินบอมS
ตัวอย่างเสียง

 

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ไม่ก้อง (อังกฤษ: voiceless palato-alveolar fricative) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษายอรูบา, ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษายูเครน, ภาษาอาหรับ, ภาษาเปอร์เซีย, ภาษาอังกฤษ (มักเขียนแทนด้วยทวิอักษร sh), ภาษาจีนกลางถิ่นไทเป (เขียนแทนด้วยตัวอักษร ㄕ) เป็นต้น

สัญลักษณ์ในชุดสัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ ⟨ʃ⟩ (คนละตัวกับเครื่องหมายปริพันธ์ ∫) และสัญลักษณ์เอกซ์-แซมปาที่ตรงกันคือ S

เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง
ɹ̠̊˔
ɹ̝̊˗
หมายเลขไอพีเอ151 414 402A 429
การเข้ารหัส
เอกซ์-แซมปาr\_-_0_r

 

เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (voiceless postalveolar non-sibilant fricative) เป็นเสียงพยัญชนะเสียงหนึ่ง พบเป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียง /r/ ในภาษาอังกฤษบางสำเนียง เช่น ภาษาอังกฤษแบบไอริช,[1] สำเนียงมาตรฐานแบบอังกฤษ[2] เป็นต้น

เนื่องจากชุดสัทอักษรสากลไม่มีสัญลักษณ์แยกต่างหากสำหรับเสียงหลังปุ่มเหงือก (สัญลักษณ์ตัวเดียวกันนั้นใช้แทนเสียงโคโรนัลทุกเสียงที่ไม่มีการยกลิ้นสู่เพดานแข็ง) จึงมักถอดเสียงนี้โดยใช้เครื่องหมายเสริมเป็น ɹ̠̊˔ (retracted constricted voiceless [ɹ]) สัญลักษณ์เอกซ์-แซมปาที่ตรงกันคือ r\_-_0_r

อ้างอิง

  1. "Irish English and Ulster English" (PDF). Uni Stuttgart. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 April 2014.
  2. Roach, Peter (2004), "British English: Received Pronunciation", Journal of the International Phonetic Association, 34 (2): 240–241, doi:10.1017/S0025100304001768
Kembali kehalaman sebelumnya