Share to:

 

เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554

เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554
สรุปอุบัติเหตุ
วันที่16–24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สรุปสภาพอากาศปิด การหลงสภาพการบิน และการสูญเสียการควบคุมเครื่อง
จุดเกิดเหตุป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
12°54′27″N 99°38′53″E / 12.90750°N 99.64806°E / 12.90750; 99.64806
เสียชีวิต17
บาดเจ็บ1
อากาศยานลำแรก

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ 1 (ฮ.ท.1)
หรือ "ฮิวอี้"
ประเภทเบลล์ UH-1 Iroquois
ดําเนินการโดยกองทัพบกไทย
ต้นทางใกล้ฐานทหารรักษาความสงบชายแดนไทย-พม่า ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
ปลายทางไม่ทราบ
จำนวนคน5
ผู้โดยสาร0
ลูกเรือ5
เสียชีวิต5
บาดเจ็บ0
สูญหาย0
รอดชีวิต0
อากาศยานลำที่สอง

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป (ฮ.ท.60)
หรือ "แบล็กฮอว์ก"
ประเภทซิคอร์สกี UH-60 Black Hawk
ดำเนินการโดยกองทัพบกไทย
ต้นทางบ้านเขาไม้แดง ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
ปลายทางใกล้ฐานทหารรักษาความสงบชายแดนไทย-พม่า ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
จำนวนคน9
ผู้โดยสาร3
ลูกเรือ6
เสียชีวิต9
บาดเจ็บ0
สูญหาย0
รอดชีวิต0
อากาศยานลำที่สาม

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ 212 (ฮ.ท.212)
หรือ "เบลล์ 212"
ประเภทเบลล์ 212
ดำเนินการโดยกองทัพบกไทย
ต้นทางบ้านหนองเกต ตำบลแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
ปลายทางใกล้ฐานทหารรักษาความสงบชายแดนไทย-พม่า ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
จำนวนคน4
ผู้โดยสาร0
ลูกเรือ4
เสียชีวิต3
บาดเจ็บ1
สูญหาย0
รอดชีวิต1

เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554 เป็นอุบัติเหตุครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่

เฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำต่อเนื่องกันในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต และนำมาซึ่งความโศกเศร้าของบุคคลในครอบครัว[1]

เหตุการณ์

ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานถึงอุบัติเหตุ ที่เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ปฏิบัติหน้าที่จับกุมผู้บุกรุกป่าไม้ เนื่องด้วยสภาพอากาศปิด ได้ส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวตกลงไปในบริเวณตะเข็บชายแดน ในวันที่ 17 กรกฎาคม มีรายงานการพบศพผู้เสียชีวิต 5 นาย ซึ่งต่อมา ในวันที่ 18 กรกฎาคม ทางกองทัพบกไทยได้ส่งทีมช่วยเหลือไปรับศพโดยใช้เฮลิคอปเตอร์แบบแบล็กฮอว์กเป็นพาหนะ และเนื่องด้วยสภาพอากาศปิด จึงเลื่อนภารกิจดังกล่าวออกไปหนึ่งวัน จนมาถึงในวันที่ 19 กรกฎาคม ได้มีการส่งทหาร 8 นายและนักข่าว 1 นายเดินทางไปรับศพ ผลปรากฏว่าเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กได้ตกลงไปในป่า การกระแทกกับพื้นส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์แตกกระจาย และผู้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวเสียชีวิตทั้ง 9 ราย[2] ในเบื้องต้น ได้มีการลำเลียงศพมาบางส่วน และในวันที่ 24 กรกฎาคม ทางหน่วยได้ส่งทีมไปรับศพผู้สูญเสียเจ็ดรายที่เหลือ โดยได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 212 (ฮ.ท.212) (เบลล์ 212) จำนวน 3 ลำ ปรากฏว่าลำสุดท้ายได้ตกลงไปในป่า และเพลิงลุกไหม้[3] มีรายงานผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวสามราย และรอดชีวิตหนึ่งราย ซึ่งทีมช่วยเหลือได้ประสานงานโดยการนำรถไปรับศพมาเพื่อทำพิธีทางศาสนาที่จังหวัดกาญจนบุรีอย่างสมเกียรติ[4]

ผู้เสียชีวิต

เฮลิคอปเตอร์ลำที่ 1

  1. พันตรีเกียรติศักดิ์ จันเอี่ยม นักบินสังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (นักบิน 1)
  2. ร้อยโทปรัชญา นวลศรี นักบินสังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (นักบิน 2)
  3. จ่าสิบเอกรังสรรค์ พลสายบัว ช่างเครื่องปีกหมุน สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (ช่างเครื่อง)
  4. จ่าสิบเอกณรงค์เดช พงษ์นุ่มกูล ตำแหน่งช่างปีกหมุน สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (ช่างเครื่อง)
  5. พันตรีกิติภูมิ เอกพันธ์ รองผู้บังคับการกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 19 (นายทหารยุทธการหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ)[2][6]

เฮลิคอปเตอร์ลำที่ 2

  1. พันตรีประพันธ์ เจียมสูงเนิน (นักบิน 1 - ผู้บังคับหมวดบริการและซ่อมบำรุง กองบินปีกหมุนที่ 9 ผสม)
  2. พันตรีชูพันธ์ พลวรรณ (นักบิน 2 - นักบินกองบินปีกหมุนที่ 9 ผสม)
  3. จ่าสิบเอกสมคิด วงษ์ตาแสง (ช่างเครื่อง - ช่างบินปีกหมุน กองบินปีกหมุนที่ 9 ผสม)
  4. สิบเอกอร่าม วงศ์สิงห์ (ช่างซ่อมเครื่องบินปีกหมุนโจมตี ตอนซ่อมบำรุงเครื่องบิน หมวดบริการและซ่อมบำรุง กองบินปีกหมุนที่ 9)
  5. พลตรีตะวัน เรืองศรี (ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9)
  6. ร้อยเอกเจษ สุขใจ (รองผู้บังคับการร้อยลาดตระเวณระยะไกล ที่ 9)
  7. ร้อยเอกจักรพันธ์ บำรุงพืช (นายทหารยุทธการ ฝ่ายยุทธการและการข่าว ร้อยลาดตระเวณระยะไกล ที่ 9)
  8. สิบตรีอิทธิศักดิ์ หิณะสุทธิ์ (พลทหารโทรเลข ร้อยลาดตระเวณระยะไกล ที่ 9)
  9. ศรวิชัย คงตันนิกูล (ช่างภาพสายการเมืองสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 - อดีตช่างภาพสายการเมืองสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย)[2][7]

เฮลิคอปเตอร์ลำที่ 3

  • เฮลิคอปเตอร์ : เบลล์ 212
  • วันที่เกิดเหตุ : 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (พิกัด NQ 719299[5])
  1. พันตรีฐิระรัตน์ แก้วกระมล ผู้บังคับอากาศยาน ตอนขนส่งทางอากาศ หมวดขนส่งกำเนิด สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 ศูนย์การบินทหารบก (นักบิน 1)
  2. ร้อยโทปูรณะ หวานใจ ตอนขนส่งทางอากาศ หมวดขนส่งทางอากาศ สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (นักบิน 2)
  3. จ่าสิบเอกวิเชียร จันทร์พัฒน์ ช่างซ่อมบินปีกหมุน หมวดบริการและซ่อมบำรุงเครื่องบิน (ช่างเครื่อง)

ในลำที่ 3 นี้ มีผู้รอดชีวิต 1 นายคือ สิบเอกพัฒนพร ต้นจันทร์ (ช่างเครื่อง)[8][9]

สาเหตุ และการสืบสวน

ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานความคืบหน้าในการกู้ซากแบล็กฮอว์ก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่สูนย์ประสานงาน ได้รับรายงานว่ามีการพบ ELT 96 สีส้ม หรือกล่องดำ ที่บันทึกการบินของเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กที่ประสบอุบัติเหตุแล้ว[10] โดยสันนิษฐานว่า จากสภาพของแบล็กฮอว์กที่ตกจนชิ้นส่วนแตกกระจายแต่ล้อยางไม่แตกนั้น อาจเกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์ตกลงไปแบบหงายท้องเนื่องด้วยหลงสภาพการบิน[5] ส่วนในวันที่ 24 กรกฎาคม ได้มีการชี้แจงว่าเฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 ไม่ได้ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเหมือนเฮลิคอปเตอร์ที่ตก 2 ลำแรก หากแต่เกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 เสียการทรงตัว และเกิดการสูญเสียการบังคับ เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 จึงตกลงมา[11]

สิ่งสืบเนื่อง

นายทหารทุกนาย ต่างได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ[4] และได้รับการเลื่อนยศจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้น แยกเป็น 7 ขั้นที่เกิดจากการปฏิบัติภารกิจการบินทางอากาศ และทุกนายได้ถูกบรรจุกำลังในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ตลอดจนปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ทั้งออกสนามมากกว่า 6 เดือน จึงได้รับเพิ่มอีก 1 ขั้น รวมเป็น 8 ขั้น รวมถึงครอบครัวต่างได้รับการช่วยเหลือทางสวัสดิการประมาณรายละกว่า 2 ล้านบาท และครอบครัวของช่างภาพผู้สูญเสียชีวิตนั้นได้รับการช่วยเหลือจากทางการในระดับเดียวกัน[12] และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งมีดังนี้:

เฮลิคอปเตอร์ : ฮิวอี้

  1. พันตรีกิติศักดิ์ จีนเอี่ยม (นักบิน 1) ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
  2. ร้อยโทปรัชญา นวลศรี (นักบิน 2) ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
  3. จ่าสิบเอกรังสรรค์ พลสายบัว (ช่างเครื่อง) ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
  4. จ่าสิบเอกณรงค์เดช พงษ์นุ่มกูล (ช่างเครื่อง) ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
  5. พันตรีกิติภูมิ เอกพันธ์ (นายทหารยุทธการหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ) ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย

เฮลิคอปเตอร์ : แบล็กฮอว์ก

  1. พันตรีประพันธ์ เจียมสูงเนิน (นักบิน 1) ได้เลื่อนยศเป็น พลโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
  2. พันตรีชูพันธ์ พลวรรณ (นักบิน 2) ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
  3. จ่าสิบเอกสมคิด วงษ์ตาแสง (ช่างเครื่อง) ได้เลื่อนยศเป็น พันโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
  4. สิบเอกอร่าม พงษ์สิงห์ ได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
  5. พลตรีตะวัน เรืองศรี (ผู้บัญชากองพลทหารราบที่ 9) ได้เลื่อนยศเป็น พลเอก พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ
  6. ร้อยเอกเจษ สุขใจ ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
  7. ร้อยเอกจักรพันธ์ บำรุงพืช ได้เลื่อนยศเป็น พันโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
  8. สิบตรีอิทธิศักดิ์ หิณะสุทธิ์ ได้เลื่อนยศเป็น ร้อยโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
  9. ศรวิชัย คงตันนิกูล (ช่างภาพสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5)[2] โดยกองทัพบกจะให้เงินช่วยเหลือใกล้เคียงกับกำลังพลของกองทัพบก

นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ยังได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลการกุศลของชมรมผู้สื่อข่าวการเมือง ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวช่างภาพประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 นี้เช่นกัน[13]

เฮลิคอปเตอร์ : เบลล์ 212

  1. พันตรีฐิระรัตน์ แก้วกมล (นักบิน 1) ได้เลื่อนยศเป็น พลโท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
  2. ร้อยโทบูรณา หวานใจ (นักบิน 2) ได้เลื่อนยศเป็น พันโท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
  3. จ่าสิบเอกวิเชียร จันทร์พัฒน์ ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
  4. สิบเอกพัฒนพร ต้นจันทร์ ได้เงินบำรุงขวัญและค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[14] พระราชทานดอกไม้เยี่ยมไข้ โดยให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการนี้ด้วย และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรีได้เข้าเยี่ยมด้วยตนเอง

ความเชื่อ

ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีความเชื่อว่า ที่เฮลิคอปเตอร์ตกถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ผู้เสียชีวิตมากมายนั้น เป็นเพราะแรงอาถรรพ์หรือคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในผืนป่าแห่งนั้น โดยชาวกะเหรี่ยงอาวุโสที่มีอายุกว่า 103 ปี ที่มีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่า ปู่คออี๋ ซึ่งเป็นผู้นำจิตวิญญาณและเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องคาถาอาคม กล่าวว่าเป็นเพราะแรงคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เจ็บแค้นที่ถูกทหารไทยขับไล่ที่อยู่อาศัยจนมีผู้บาดเจ็บและล้มตาย เมื่อปี พ.ศ. 2538 อีกทั้งมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 17 ศพ ซึ่งเลข 7 เป็นเลขอาถรรพ์ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง เนื่องจากเลข 7 เมื่อเขียนกลับหัวแล้วจะคล้ายกับคำว่าตายในภาษากะเหรี่ยงโบราณ[15]

อีกทั้ง ในเหตุการณ์อุบัติเหตุครั้งแรก เมื่อพบศพผู้เสียชีวิตแล้วทั้งหมด 5 ศพ แต่ไม่พบชิ้นส่วนศีรษะที่ขาดหายไป และเมื่อจะนำศพขนกลับ ไม่สามารถกระทำได้เพราะมีฝนตกลงมา เชื่อว่าเป็นเพราะยังหาชิ้นส่วนของร่างกายไม่ครบ นอกจากนี้แล้ว ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุครั้งที่ 2 เมื่อ พล.ต.ตะวัน เรืองศรี หัวหน้าหน่วยที่ค้นหาเหตุอุบัติเหตุครั้งแรก ก่อนขึ้นเครื่องเริ่มปฏิบัติการณ์ได้เอ่ยประโยคที่เสมือนเป็นลางบอกเหตุว่า "เดินทางไปด้วยตัวเองเพื่อนำน้อง ๆ ทั้ง 5 กลับมาให้ได้ในวันนี้ (19 ก.ค.) เพราะญาติ ๆ ของพวกเขารออยู่" และเมื่อสื่อมวลชนได้พยายามติดตามขอเข้าไปทำข่าวในพื้นที่ด้วย ปรากฏว่า พล.ต.ตะวัน ได้กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า "อย่าไปเลย เดี๋ยวก็ตกกันหมด"[16]

ทางด้านนักโหราศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ย มีความเห็นว่าบริเวณพื้นที่ป่าแก่งกระจานนั้น มีลักษณะฮวงจุ้ยคล้ายกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา[17] นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาพถ่ายของอุบัติเหตุครั้งที่ 3 ที่เมื่อเผยแพร่ออกมาแล้ว มีรูปของสิ่งที่ดูคล้ายคน 2 คน นั่งอยู่ในจุดเกิดเหตุท่ามกลางเปลวไฟ อย่างไรก็ตาม ทางกองทัพบกได้ปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้ทำให้กำลังพลของกองทัพเสียขวัญ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจได้มีการทำพิธีทำบุญครั้งใหญ่[18]

อ้างอิง

  1. ครอบครัวโศกเศร้า รับศพ 5 นายทหาร ฮ.ตก
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "สรุปเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตก 2 ลำ 14 ศพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  3. "ด่วน! เฮลิคอปเตอร์ตกในป่าแก่งกระจานลำที่ 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  4. 4.0 4.1 กองทัพจัดพิธีศพนายทหารทั้ง 5 นายอย่างสมเกียรติ[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ทีมข่าวความมั่นคง. คมชัดลึก. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3615. วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554. ISSN 16851390. หน้า 3
  6. ร่วมไว้อาลัยทหาร - ช่างภาพช่อง 5 เหยื่อ ฮ.ตก
  7. "ประวัติผู้เสียชีวิตเครื่องแบล็กฮอว์กตก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2011-08-27.
  8. "เฮลิคอปเตอร์ตกซ้ำลำ 3 ที่แก่งกระจาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-10. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  9. องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญน้ำหลวงอาบศพ[ลิงก์เสีย]
  10. พบกล่องดำแบล็กฮอว์กแล้ว-ลำเลียง 2 ศพถึงเนิน 800[ลิงก์เสีย]
  11. กู้สำเร็จ 4 ศพสุดท้าย แบล๊กฮอว์ก ส่งถึงศูนย์ฝึกรบพิเศษแก่งกระจานแล้ว
  12. ผบ.ทบ.เสียใจกับเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กตก ย้ำดูแลครอบครัว[ลิงก์เสีย]
  13. Thiti Wannamonta. Bangkok Post. Thursday, 28 July, 2011. ISSN 1686-4271. Page 1 (อังกฤษ)
  14. “ในหลวง-ราชินี” พระราชทานกระเช้าดอกไม้ให้ “ส.อ.พัฒนพร”[ลิงก์เสีย]
  15. แก่งกระจานอาถรรพณ์ ฮ.ร่วงซ้ำลำที่ 3 โหม่งพื้นไฟท่วมพลีชีพ 3 เจ็บ 1 จากเดลินิวส์
  16. คำพูดสุดท้าย พล.ต.ตะวัน จะนำศพน้อง ๆ กลับบ้าน จากสนุกดอตคอม
  17. แกะรอย 'อาถรรพ์' แก่งกระจาน 'โศกนาฏกรรม' เฮลิคอปเตอร์-แบล็กฮอว์กตก!!!
  18. กองทัพแจงเหตุ ฮ หม่งโลก -เตรียมทำบุญใหญ่สร้างขวัญกำลังพลเก็บถาวร 2011-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากผู้จัดการออนไลน์
Kembali kehalaman sebelumnya