Share to:

 

เอกสิทธิ์คนขาว

เอกสิทธิ์คนขาว (อังกฤษ: white privilege) หรือเอกสิทธิ์ผิวขาว (อังกฤษ: white skin privilege) เป็นคำเรียกเอกสิทธิ์ทางสังคมซึ่งให้ประโยชน์แก่บุคคลที่ถูกระบุว่าเป็นคนขาวในประเทศตะวันตก นอกเหนือจากสิ่งที่คนผิวสีเผชิญทั่วไปในพฤติการณ์สังคม การเมืองหรือเศรษฐกิจเดียวกัน ทัศนมิติวิชาการอย่างทฤษฎีเชื้อชาติวิจารณ์และการศึกษาความขาวใช้มโนทัศน์ "เอกสิทธิ์คนขาว" เพื่อวิเคราะห์ว่าคตินิยมเชื้อชาติและสังคมที่มีลักษณะนิยมเชื้อชาติมีผลต่อชีวิตของคนขาวหรือคนผิวขาว

เพ็กกี แม็กอินทอช (Peggy McIntosh) อธิบายว่า คนขาวในสังคมตะวันตกได้ประโยชน์ที่คนไม่ขาวมิได้ประสบ เป็น "แพ็กเกจสินทรัพย์ที่มิได้หามาที่มองไม่เห็น"[1] เอกสิทธิ์คนขาวหมายถึงทั้งประโยชน์แบบทำให้ทั้งที่ชัดเจนและไม่ค่อยชัดเจนซึ่งคนขาวไม่รับรู้ว่าพวกตนมี ซึ่งทำให้มันต่างจากความลำเอียงหรือความเดียดฉันท์ชัดเจน เอกสิทธิ์เหล่านี้รวมถึงการยืนยันทางวัฒนธรรมซึ่งคุณค่าของตนของบุคคล สถานภาพทางสังคมที่เหนือกว่าโดยสันนิษฐาน และเสรีภาพในการย้าย ซื้อ ทำงาน เล่นและพูดอย่างเสรี พบเห็นผลเหล่านี้ได้ในบริบทวิชาชีพ การศึกษาและบุคคล มโนทัศน์เอกสิทธิ์คนขาวยังส่อความถึงสิทธิการสมมติความเป็นสากลของประสบการณ์ของตนเอง ทำให้ประสบการณ์ของผู้อื่นแตกต่างหรือพิเศษขณะที่มองตนเองว่าเป็นปกติ[2][3]

มโนทัศน์ดังกล่าวได้รับความสนใจและการคัดค้านบ้าง นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าคำนี้ใช้มโนทัศน์ "ผิวขาว" เป็นตัวแทนของเอกสิทธิ์ทางชนชั้นหรือทางสังคมอื่นหรือเป็นสิ่งทำให้ไขว้เขวจากปัญหาความไม่เสมอภาคพื้นเดิมที่อยู่ลึกกว่า[4][5] ผู้อื่นกล่าวว่า มิใช่ว่าความขาวเป็นตัวแทน แต่มีเอกสิทธิ์ทางสังคมอื่นจำนวนมากที่เชื่อมโยงกับเอกสิทธิ์ดังกล่าว ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนและระมัดระวังเพื่อระบุว่าความขาวส่งเสริมเอกสิทธิ์อย่างไร[6] นักวิจารณ์เอกสิทธิ์คนขาวยังเสนอนิยามความขาวทางเลือกและข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดของอัตลักษณ์ผิวขาว โดยแย้งว่ามโนทัศน์ "เอกสิทธิ์คนขาว" ละเลยข้อแตกต่างสำคัญระหว่างประชากรย่อยผิวขาวกับปัจเจกบุคคลและเสนอว่าญัตติความขาวนั้นไม่สามารถครอบคลุมคนขาวทุกคนได้[7][8] พวกเขาสังเกตปัญหาการรับรู้ความแตกต่างของคนผิวสีและชาติพันธุ์ภายในกลุ่มเหล่านี้[6] นักวิจารณ์อนุรักษนิยมได้เสนอคำวิจารณ์มโนทัศนี้โดยตรงกว่า ผู้หนึ่งเขียนว่า "ปัจจุบัน ... ชีวิตของชนกลุ่มน้อยไม่ถูกขัดขวางด้วยความเดียดฉันท์และ 'เอกสิทธิ์คนขาว' อีกต่อไป"[9] ขณะที่อีกผู้หนึ่งกล่าวว่ามโนทัศน์ดังกล่าวเป็นอุปสรรคในทางบรรลุสังคมที่เท่าเทียม[10]

จีนา ครอสลีย์-คอร์คอแรน (Gina Crosley-Corcoran) เขียนในบทความ "การอธิบายเอกสิทธิ์คนขาวแก่คนขาวไส้แห้ง" (Explaining White Privilege to a Broke White Person) ในฮัฟฟิงตันโพสต์ ว่า ทีแรกเธอเป็นปรปักษ์กับแนวคิดว่าเธอมีเอกสิทธิ์คนขาว โดยเดิมเชื่อว่า "ผิวขาวของฉันไม่ได้ช่วยคุ้มครองฉันมิให้ประสบความยากจนเลย" จนกระทั่งเธอถูกนำให้อ่าน "การแกะถุงเป้ที่มองไม่เห็น" (Unpacking the invisible knapsack) ของเพ็กกี แม็กอินทอช เธอว่า "มโนทัศน์ส่วนร่วมรับรู้ว่าบุคคลสามารถมีเอกสิทธิ์ได้ในทางแบบและไม่มีเอกสิทธิ์อย่างแน่นอนในแบบอื่น"[11][12] ผู้เขียนบางคนสังเกตว่า "มโนทัศน์เอกสิทธิ์คนขาวที่ฟังดูเป็นวิชาการ" บางครั้งดึงการป้องกันไม่ได้และความเข้าใจผิดในหมู่คนขาว บางส่วนเนื่องจากวิธีที่มโนทัศน์เอกสิทธิ์คนขาวถูกนำมาสู่ความสนใจกระแสหลักผ่านการรณรงค์สื่อสังคมอย่างแบล็กไลฟส์แมตเทอร์ (Black Lives Matter)[13] คอรี ไวน์เบิร์ก (Cory Weinburg) เขียนในอินไซด์ไฮเออร์เอ็ด ยังได้กล่าวว่ามโนทัศน์เอกสิทธิ์คนขาวถูกผู้มิใช่นักวิชาการตีความผิดบ่อยครั้งเพราะมันเป็นมโนทัศน์วิชาการซึ่งเพิ่งถูกนำสู่กระแสหลัก นักวิชาการที่ไวน์เบิร์กสัมภาษณ์ซึ่งศึกษาเอกสิทธิ์คนขาวโดยไม่ถูกรังควานมาหลายทศวรรษประหลาดใจกับความเป็นปรปักษ์ที่เพิ่มขึ้นเฉียบพลันจากนักวิจารณ์ฝ่ายขวาตั้งแต่ปี 2557[12]

อ้างอิง

  1. McIntosh, Peggy. "White privilege: Unpacking the Invisible Knapsack" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28. Independent School, Winter90, Vol. 49 Issue 2, p31, 5p
  2. Vice, Samantha (7 September 2010). "How Do I Live in This Strange Place?". Journal of Social Philosophy. 41 (3): 323–342. doi:10.1111/j.1467-9833.2010.01496.x.
  3. Martin-McDonald, K; McCarthy, A (January 2008). "'Marking' the white terrain in indigenous health research: literature review". Journal of advanced nursing. 61 (2): 126–33. doi:10.1111/j.1365-2648.2007.04438.x. PMID 18186904.
  4. Arnesen, Eric (October 2001). "Whiteness and the Historians' Imagination". International Labor and Working-Class History. 60: 3–32.
  5. Hartigan, Odd Tribes (2005), pp. 1–2.
  6. 6.0 6.1 Blum, Lawrence (2008). "'White Privilege': A Mild Critique1". Theory and Research in Education. 6: 309–321. doi:10.1177/1477878508095586.
  7. Forrest, James; Dunn, Kevin (June 2006). "'Core' Culture Hegemony and Multiculturalism" (PDF). Ethnicities. 6 (2): 203–230. doi:10.1177/1468796806063753.
  8. Blum, L. (1 November 2008). "'White privilege': A Mild Critique". Theory and Research in Education. SAGE Publications. 6 (3): 309–321. doi:10.1177/1477878508095586.
  9. Steele, Shelby (2015). Shame: How America's Past Sins Have Polarized Our Country. Basic Books. pp. 26. ISBN 978-0465066971.
  10. Marcus, David. "Privilege Theory Destroys The American Ideal Of Equality". The Federalist. สืบค้นเมื่อ December 20, 2015.
  11. Crosley-Corcoran, Gina (May 8, 2014). "Explaining White Privilege to a Broke White Person". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ January 19, 2016.
  12. 12.0 12.1 Weinburg, Cory (May 28, 2014). "The White Privilege Moment". Inside Higher Ed. สืบค้นเมื่อ 19 January 2016.
  13. Brydum, Sunnivie (December 31, 2014). "The Year in Hashtags: 2014". The Advocate. สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.
Kembali kehalaman sebelumnya