เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท (อังกฤษ: F/A-18E/F Super Hornet) เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีชนิดที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เอฟ/เอ-18อีนั้นเป็นแบบที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟนั้นเป็นแบบสองที่นั่งที่มีขนาดใหญ่และก้าวหน้ากว่าเอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีอาวุธเป็นปืนใหญ่อากาศขนาด 20 ม.ม.และสามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้หลากหลาย สามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงสำรองได้ถึงห้าถัง และยังสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้ด้วยการเติมระบบเติมเชื้อเพลิงเข้าไป ด้วยการที่ถูกออกแบบและผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2538 การผลิตเต็มอัตราเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 หลังจากที่แมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้ากับโบอิงหนึ่งเดือนก่อนหน้า ซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2542 เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-14 ทอมแคทตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 และทำงานร่วมกับฮอร์เน็ทแบบดั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2550 กองทัพอากาศออสเตรเลียได้สั่งซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพื่อเข้าแทนที่กองบินเอฟ-111 การพัฒนาต้นกำเนิดซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นแบบที่มีขนาดใหญ่กว่าและก้าวหน้ากว่าของเอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท รุ่นก่อนหน้าได้ทำตลาดโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสโดยใช้ชื่อว่าฮอร์เน็ท 2000 เมื่อต้นทศวรรษที่ 1980 ความคิดของฮอร์เน็ท 2000 ถูกนำไปดัดแปลงให้ก้าวหน้าเป็นเอฟ/เอ-18 พร้อมปีกที่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวที่ยาวกว่าเพื่อบรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเครื่องยนต์[2] การบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ เผชิญหน้ากับปัญหามากมายในต้นทศวรรษที่ 1990 โครงการเอ-12 อเวนเจอร์ได้มุ่งมั่นที่จะเข้ามาแทนที่เอ-6 อินทรูเดอร์และเอ-7 คอร์แซร์ 2 ได้ประสบปัญหาและต้องถูกยกเลิกไป ในเวลานี้เองที่สงครามเย็นสิ้นสุดลงส่งผลให้กองทัพมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการตัดงบ[3] โดยปราศจากโครงการที่ดีกองทัพเรือได้มองว่าการนำแบบเดิมที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้ดีขึ้นดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยการเป็นอีกทางเลือกของเอ-12 แมคดอนเนลล์ ดักลาสได้เสนอโครงการ"ซูเปอร์ฮอร์เน็ท"ที่จะพัฒนาเอฟ/เอ-18[4] และทำหน้าที่เป็นสิ่งที่จะมาแทนที่เอ-6 อินทรูเดอร์ ในเวลาเดียวกันนั้นกองทัพเรือต้องการกองบินสำหรับการป้องกันเพื่อเข้าทำหน้าที่โครงการเดิมที่ถูกยกเลิกไป ซึ่งเป็นข้อเสนอที่จะทำให้เอฟ-22 แร็พเตอร์ใช้งานกับกองทัพเรือได้[2] เปลี่ยนสู่ซูเปอร์ฮอร์เน็ทซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกสั่งซื้อครั้งแรกโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2535 กองทัพเรือยังได้สั่งโดยตรงว่าเครื่องบินที่จะมาแทนที่เอฟ-14 ทอมแคทนั้นต้องเน้นเรื่องการต่อสู้ทางน้ำเป็นหลักจนกว่าจะมีการนำเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ใช้[5] กองทัพเรือยังคงใช้ชื่อเอฟ/เอ-18 เพื่อช่วยให้โครงการดูน่าสนใจต่อสภาคองเกรสที่มันเป็นแบบดัดแปลง แม้ว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทจะเป็นเครื่องบินที่ใหม่เกือบหมดก็ตาม ฮอร์เน็ทและซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีความคล้ายคลึงกันที่รวมทั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศ เก้าอี้ดีดตัว เรดาร์ อาวุธ ซอฟต์แวร์ และขั้นตอนในการใช้งานและบำรุงรักษา ในเอฟ/เอ-18อี/เอฟจะมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่คล้ายคลึงกับเอฟ/เอ-18ซี/ดีมากกว่า[2] ซูเปอร์ฮอร์เน็ททำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538[2] การผลิตครั้งแรกของเอฟ/เอ-18อี/เอฟเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2538 การบินทดสอบเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2539 พร้อมกับการลงจอดครั้งแรกบนเรือบรรทุกเครื่องบินในปีพ.ศ. 2540[2] การผลิตอัตราต่ำเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540[6] พร้อมกับการผลิตเต็มอัตราที่เริ่มขึ้นในเดือนกันยายนพ.ศ. 2540[7] การทดสอบดำเนินไปจนถึงปีพ.ศ. 2542 สิ้นสุดด้วยการทดสอบทางทะเลและการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ การทดสอบมีการบิน 3,100 เที่ยวกินเวลาบินไป 4,600 ชั่วโมง[4] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทประสบกับการทอสอบของกองทัพเรือสหรัฐฯ และทำการเปลี่ยนแปลงในปีพ.ศ. 2542[8] และได้รับการยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543[9] ความสามารถในการปฏิบัติการขึ้นแรกหรือไอโอซี (Initial Operational Capability) สำเร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 พร้อมกับฝูงบินที่ฐานทัพเลมอร์ในแคลิฟอร์เนีย กองทัพเรือพบว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นสมราคาและตามความต้องการ[10] แม้ว่าจะมีระบบและรูปลักษณ์ที่เหมือนกัน ซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นแตกต่างอย่างมากจากเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า"ไรโน่"เพื่อแยกแยะมันจากฮอร์เน็ทรุ่นก่อนที่เรียกว่า"ลีเจซี่"และหลีกเลี่ยงความสับสนทางวิทยุ สิ่งนี้ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการบิน เพราะระบบส่งเครื่องบินนั้นต้องตั้งค่าต่างกันไปสำหรับซูเปอร์ฮอร์เน็ทที่มีน้ำหนักมากว่า "ไรโน่"เริ่มใช้กับเอฟ-4 แฟนทอม 2 ซึ่งถูกปลดประจำการในปีพ.ศ. 2530 ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐฯ ใช้ทั้งเอฟ/เอ-18อีที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟสองที่นั่งสำหรับการต่อสู้ โดยเข้ามาแทนที่เอฟ-14 เอ-6 อินทรูเดอร์ เอส-3 ไวกิ้ง และเคเอ-6ดี สำหรับแบบสงครามอิเลคทรอนิกอีเอ-18จี โกรว์เลอร์ที่จะเข้าแทนที่อีเอ-6บี โพรว์เลอร์ ในสงครามเวียดนามความสามารถของซูเปอร์ฮอร์เน็ทเทียบได้กับเอ-1/เอ-4/เอ-7 เอ-6 เอฟ-8/เอฟ-4 เออาร์-5ซี เคเอ-3/เคเอ-6 และอีเอ-6 มันเป็นที่คาดกันว่าจะประหยัดเงินได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ในกองบินที่นำซูเปอร์ฮอร์เน็ทมาแทนที่เครื่องบินชนิดอื่นๆ[11] ในปีพ.ศ. 2546 กองทัพเรือได้ระบุถึงข้อบกพร่องที่ส่วนติดตั้งใต้ปีของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ซึ่งสามารถลดอายุการใช้งานของมันได้หากไม่ทำการซ่อมแซม ปัญหาได้รับการแก้ไขนำไปสู่เครื่องบินใหม่ที่จะเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2552[12] ในต้นปีพ.ศ. 2551 โบอิงได้ปรึกษาเรื่องการสร้างซูเปอร์ฮอร์เน็ทบล็อก 3 พร้อมกับกองทัพสหรัฐฯ และออสเตรเลีย มันจะเป็นการพัฒนารุ่นที่ 4.75 พร้อมกับความสามารถในการล่องหนและพิสัยที่เพิ่มขึ้น มันจะเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2567 โดยเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 6[13] การออกแบบซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีขนาดใหญ่กว่าฮอร์เน็ทธรรมดา 20% น้ำหนักเปล่าที่มากกว่า 3,000 กิโลกรัม และน้ำหนักสูงสุดที่มากกว่า 6,800 กิโลกรัม ซูเปอร์ฮอร์เน็ทบรรทุกเชื้อเพลิงภายในได้มากกว่า 33%[14] เพื่อเพิ่มพิสัยการทำภารกิจอีก 41% และความคงทนมากกว่า 50% น้ำหนักเปล่าของซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือประมาณ 5,000 กิโลกรัมซึ่งน้อยกว่าเอฟ-14 ทอมแคท ในขณะที่การบรรทุกอาวุธก็ไม่เท่าเทียมกับเอฟ-14 ทั้งๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า [15] การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างลำตัวส่วนหน้าไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีส่วนคล้ายคลึงเพียงเล็กน้อยกับแบบเอฟ/เอ-18ซี/ดี[14] ลำตัวถูกยืดออกไปอีก 34 นิ้ว (0.86 ม.) เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับเชื้อเพลิงและระบบอิเลคทรอนิกอากาศและเพิ่มพื้นที่ปีกอีก 25%[16] อย่างไรก็ตามซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีส่วนที่น้อยกว่าฮอร์เน็ทดั้งเดิม 42%[17] เครื่องยนต์เจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ414 ได้พัฒนามาจากเครื่องยนต์เอฟ404 ของฮอร์เน็ทแต่ทรงพลังกว่า 35%[16] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทสามารถกลับสู่เรือบรรทุกเครื่องบินพร้อมกับเชื้อเพลิงและอาวุธที่มากกว่าฮอร์เน็ทดั้งเดิม ความสามารถนี้เรียกว่า"บริงแบ็ค" (Bringback) บริงแบ็คสำหรับซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นคือน้ำหนักที่เพ่มขึ้น 4,000 กิโลกรัม[18] ความแตกต่างอื่นยังรวมทั้งช่องรับลมทรงเหลี่ยมและปีกเพิ่มสำหรับติดอาวุธ (ทั้งหมด 11 ตำบล)[19] ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลกด้านอากาศพลศาสตร์ที่สำคัญคือปีกเสริมที่ส่วนหน้าหรือเล็กซ์ (leading edge extension, LEX) ซึ่งสร้างแรงลมที่จะยกจนเกิดมุมปะทะระดับสูง และลดความไม่สเถียรเพื่อเพิ่มการเอียง มันส่งผลให้อัตราการเลี้ยวได้มากถึง 40 องศาต่อวินาที[14] และแรงต้านทานระดับสูงเพื่อปลีกออกจากการบิน[20] การลดการตรวจจับจากเรดาร์ความอยู่รอดคือสิ่งสำคัญของซูเปอร์ฮอร์เน็ท กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้นำความสมดุลเข้ามาในการออกแบบ[21] นี่หมายความว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีซ่อนตัวอย่างระบบล่องหน เพื่อแยกออกจากปัจจัยอื่นๆ แทนที่จะเป็นแบบนั้นการออกแบบของมันทำงานร่วมกับการล่องหน ความสามารถในสงครามอิลเคทรอนิก ลดความอ่อนแอต่อขีปนาวุธ เพื่อใช้อาวุธจากระยะที่ปลอดภัย และยุทธวิธีใหม่ซึ่งรุนแรงและเป็นหมู่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องบินขับไล่และลูกเรือ[22] โครงสร้างเรดาร์ของเอฟ/เอ-18อี/เอฟได้ลดอย่างมากจากบางมุมมอง โดยเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง[2] การออกแบบของช่องรับลมเครื่องยนต์ลดโครงสร้างด้านหน้าในเรดาร์ของเครื่องบิน การวางตำแหน่งของปีกเสริมของเครื่องยนต์ถูกออกแบบมาเพื่อกระจายรัศมีไปที่ด้านข้าง โครงสร้างในช่องรับลมจะเปลี่ยนทิศทางของพลังงานเรดาร์ไปจากใบพัดที่กำลังหมุน[23] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทยังมีการวางตำแหน่งที่เชื่อมต่อแผงต่างๆ แบบซี่เลื่อน สิ่งที่ดึงดูดความสนใจถูกนำออกหรือหลุมที่สร้างเสียงดัง ที่ซึ่งเอฟ/เอ-18เอ-ดีใช้ตะแกรงเพื่อปกปิดไอเสียและช่องรับลม เอฟ/เอ-18อี/เอฟใช้แผงที่เจาะเป็นรูซึ่งเรดาร์จะเห็นไม่ชัด มีการวางตำแหน่งของแผงที่ระมัดระวังอย่างมากเพื่อกระจายคลื่นที่ส่งมาจากเรดาร์ให้ออกไปจากเครื่องบิน[2] มันเป็นที่อ้างกันว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทใช้การลดเรดาร์ที่เยี่ยมที่สุดเหนือเครื่องบินขับไล่ในสมัยเดียวกันในขณะนั้น ระบบอิเลคทรอนิกอากาศระบบอิเลคทรอนิกอากาศและซอฟต์แวร์ดั้งเดิมของซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีความเหมือนกับเอฟ/เอ-18ซี/ดี 90%[24] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีจุดเด่นที่คันบงคับ จอแสดงผล ขนาดที่ใหญ่กว่า จอแสดงผลสีแบบแอลซีเอ็ม และจอแสดงผลเชื้อเพลิงเครื่องยนต์แบบใหม่[24] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีระบบฟลายบายไวร์ (fly-by-wire) สี่ระบบ[25] เช่นเดียวกับระบบควบคุมการบินดิจิทัลซึ่งตรวจจับและมองหาความเสียหาย[20] รุ่นแรก ที่ผลิตออกมานั้นใช้เรดาร์แบบเอพีขี-73 ต่อมาถูแทนที่โดยเอพีจี-79 อิฟราเรดจับเป้าด้านหน้าแบบเอเอ็น/เอเอสคิว-228 เป็นเซ็นเซอร์และตัวชี้เป้าเลเซอร์หลักของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ระบบป้องกันทำงานร่วมกันผ่านระบบไอดีอีซีเอ็ม (Integrated Defensive Countermeasures system) ระบบนี้รวมทั้งเครื่องปล่อยพลุแบบเอแอลอี-47 พลุเอแอลอี-50 เรดาร์เตือนภัยแบบเอเอ็น/เอแอลอาร์-67(วี)3 เครื่องป้องกันการรบกกวนทางอากาศเอแอลคิว-165 และระบบเตือนภัยขีปนาวุธอัลตราไวโอเลตและอินฟราเรดแบบเอเอ็น/เอเออาร์-47 ลูกเรือมีความสามารถที่จะใช้กล้องมองกลางคืนอีกด้วย บทบาทในการเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงซูเปอร์ฮอร์เน็ทไม่เหมือนกับฮอร์เน็ทรุ่นก่อนหน้าตรงที่มันสามารถติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศหรือเออาร์เอสได้ (aerial refueling system, ARS) เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กับเครื่องบินลำอื่น[26] ระบบเออาร์เอสรวมทั้งถังด้านนอกขนาด 330 แกลลอนสหรัฐฯ (1,200 ลิตร) พร้อมกับท่อและถังด้านนอกขนาด 480 แกลลอนสหรัฐฯ (1,800 ลิตร) สี่ถัง และถังภายในทำให้มีเชื้อเพลิงทั้งสิ้น 13,000 กิโลกรัม (29,900 ปอนด์)[26][27] การพัฒนามันเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2548 เครื่องบินที่สร้างใหม่ได้รับเรดาร์เอพีจี-79 สำหรับเครื่องบินที่ผลิตออกมาก่อนหน้านั้นที่ใช้เรดาร์เอพีจี-73 ก็จะถูกแทนที่โดยเอพีจี-79 เช่นกัน[28] เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เครื่องบินที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจำนวน 135 ลำได้รับเรดาร์แบบใหม่[29] เรดาร์เอพีจี-79 แบบใหม่นั้นให้ข้อได้เปรียบหลายอย่างกับซูเปอร์ฮอร์เน็ท เรดาร์ใหม่นี้สามารถทำให้ลูกเรือทำการโจมตีแบบอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้ในเวลาเดียวกัน เอพีจี-79 ยังให้แผนที่ที่มีการประมวลผลที่ดีกว่าจากระยะที่ปลอดภัย[30] เรดาร์ยังสามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดเล็กอย่างขีปนาวุธที่พุ่งเข้ามาได้อีกด้วย[31] พลุล่อเป้าไฟเบอร์ออปติกแบบเอเอ็น/เอแอลอี-55 จะเข้ามาแทนที่เอแอลอี-50[32] ตัวรบกวนแบบเอเอ็น/เอแอลคิว-214 ถูกเพิ่มเข้าไปในซูเปอร์ฮอร์เน็ทบล็อก 2[33] การพัฒนาครั้งแรกของซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือระบบหมวกพิเศษหรือเจเอชเอ็มซีเอส (Joint Helmet Mounted Cueing System, JHMCS) ถูกส่งให้กับฝูงบินเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 หมวกพิเศษนี้ทำให้ลูกเรือมีความระมัดระวังมากขึ้น ระบบชาร์ป (Shared Reconnaissance Pod, SHARP) ซึ่งเป็นระบบลาดตระเวนทางยุทธวิธีนั้นก็มีความสามารถที่จะทำงานได้ทั้งกลางวันหรือกลางคืนและทุกสภาพอากาศ [34] ในอนาคตการตรวจจับเป้าหมายในอากาศจะใช้อินฟราเรดหาและติดตามแบบไออาร์เอสที (Infrared Search and Track, IRST) ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์พิสัยไกลที่จะส่งคลื่นอินฟราเรดอันเป็นทางออกที่ไม่เหมือนใคร อุปกรณ์ใหม่นี้จะถูกสร้างเข้าไปในที่ด้านหน้าของถังเชื้อเพลิงกลาง คาดกันว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานได้ในปีพ.ศ. 2556[35] การทำงาน
ประวัติการใช้งานกองทัพเรือสหรัฐฯหน่วยแรกที่ได้รับเอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 115 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เอฟ/เอ-18อีสองลำได้ทำการสนับสนุนให้กับปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์โดยเข้าจัดการกับขีปนาวุธพื้นสู่อากาศที่อัลคัทและศูนย์ป้องกันทางอากาศและบังเกอร์ที่ฐานทัพอากาศทัลลิล นักบินนายหนึ่งชื่อจอห์น เทอร์เนอร์ได้ทิ้งระเบิดเจแดมขนาด 900 กิโลกรัมเป็นครั้งแรกของเอฟ/เอ-18อี ในการสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 41 และ 115 ได้บินเข้าทำการสนับสนุนทางอากาศ โจมตี คุ้มกัน กดดันการป้องกันทางอากาศ และเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ เอฟ/เอ-18อีสองลำจากฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 และเอฟ/เอ-18เอฟสองลำจากฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 41 ถูกใช้งานที่แนวหน้าบนเรือยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 ทำหน้าที่ในการเติมเชื้อเพลิงและฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 41 เป็นการควบคุมทางอากาศแนวหน้า ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2548 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 154 และ 147 ได้ทำการทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ขนาด 500 ปอนด์เข้าใส่เป้าหมายที่เป็นศัตรูในทางตะวันออกของแบกแดด[37] ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 211 ใช้เอฟ/เอ-18เอฟซูเปอร์ฮอร์เน็ทพร้อมระเบิดจีบียู-12 และจีบียู-38 เข้าโจมตีกลุ่มตาลิบันและที่มั่นทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคานดาฮาร์ นี่เป็นครั้งแรกที่หน่วยได้ทำการรบโดยใช้ซูเปอร์ฮอร์เน็ท[38] ในปีพ.ศ. 2549-2550 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 103 และ 143 บนเรือยูเอสเอส ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์ ได้ทำการสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก เอ็นดัวริ่งฟรีดอม และปฏิบัติการตามชายฝั่งโซมาลี และพร้อมกับฮอร์เน็ทดั้งเดิมของฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 131 และ 83 พวกเขาได้ทำการทิ้งระเบิด 140 ลูก และทำการยิงกราดเกือบ 70 ครั้ง[39] ในปีพ.ศ. 2550 โบอิงได้เสนอเอฟ/เอ-18อี/เอฟเพิ่มให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยจะใช้สัญญาหลายปี[40] ในปีพ.ศ. 2551 มีการรายงานว่ากองทัพเรือกำลังตัดสินใจที่จะซื้อเอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพิ่มเพื่อเติมช่องว่างของเครื่องบินขับไล่โจตี[41][42] เมื่อถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 โบอิงได้ส่งซูเปอร์ฮอร์เน็ท 367 ลำให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ[43] ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมได้ประกาศว่ากระทรวงกลามโหมตั้งใจที่จะมีเอฟ/เอ-18อี/เอฟเพิ่มอีก 31 ลำในปีพ.ศ. 2553[44] กองทัพอากาศออสเตรเลียในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลออสเตรเลียได้ทำสัญญาเพื่อให้ได้เอฟ/เอ-18เอฟ 24 ลำให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลียเป็นจำนวนเงิน 6 พันล้านดอลลาร์อออสเตรเลีย เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-111[45] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นผลมาจากการห่วงว่าเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 อาจจะสร้างไม่ทันตอนที่เอฟ-111 ปลดประจำการ นักบินและนายทหารควบคุมการโจมตีทางอากาศของกองทัพอากาศออสเตรเลียจะเริ่มทำการฝึกในสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2552 พร้อมกับฝูงบินหมายเลข 1 และ 6 ที่จะพร้อมปฏิบัติการกับเอฟ/เอ-18เอฟในปีพ.ศ. 2553 การสั่งซื้อได้รับการยืนยันเกิดการโต้แย้งขึ้น พร้อมกับปัญหาที่รวมทั้งนายทหารที่ปลดประจำการบางส่วน รองจอมพลอากาศปีเตอร์ คริสส์ได้กล่าวว่าเขาประหลาดใจอย่างมากที่พบว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะใช้เงิน 6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียไปกับเครื่องบินชั่วคราว[46] คริสส์ยังได้กล่าวถึงหลักฐานที่ได้รับมาก่อนที่ขณะกรรมการด้านอาวุธของสหรัฐฯ จะว่าเอฟ/เอ-18เอฟนั้นด้อยกว่ามิก-29 และซู-30[47] ซึ่งเข้าประจำการแล้วเรียบร้อยหรือไม่ก็ถูกสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้การอากาศเท็ด บุชเฮลได้กล่าวว่าเอฟ/เอ-18เอฟไม่สามารถทำหน้าที่ที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบหมายให้มันได้ และการออกแบบโครงสร้างของเอฟ-111 นั้นยังเหมาะคงกับบทบาททางยุทธวิธีจนถึงปีพ.ศ. 2563[46] บ้างการคัดค้านกล่าวว่าการตัดสินใจซื้อเอฟ/เอ-18เอฟมีเพียงไว้เพื่อที่จะขายซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับออสเตรเลียได้ง่ายเท่านั้น โครงการเอฟ-35 ควรจะประสบกับปัญหา [48] แพ็คเกจเริ่มแรกที่เสนอต่อกองทัพอากาศออสเตรเลียมีดังนี้[49]
ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลแรงงานออสเตรเลียได้ประกาศว่าจะมีการทบทวนการซื้ออันเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนในแผนการกองทัพอากาศออสเตรเลีย พร้อมกับความเป็นไปได้ของการสั่งซื้อเอฟ/เอ-18เอฟที่อาจถูกลดลงหรือยกเลิก เหตุผลหลักคือความเหมาะสมในการปฏิบัติการ ขาดความเหมาะสมในการตรวจสอบกระบวนการ และความเชื่อที่ว่าเครื่องบินชั่วคราวไม่เป็นที่ต้องการนัก[50] ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551รัฐบาลได้ประกาศว่าจำดำเนินแผนเพื่อให้ได้เอฟ/เอ-18เอฟทั้งหมด 24 ลำ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโจเอล ฟิทซ์กิบบอนกล่าวว่ารัฐบาลได้สรุปว่ามันเป็นการจำเป็นที่จะสั่งซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ท ถึงแม้ว่าพวกมันยังคงได้รับคำวิจารณ์จากการวางแผนของรัฐบาลก่อน เขากล่าวว่าไม่มีเครื่องบินที่เหมาะสมที่จะสร้างออกมาในปีพ.ศ. 2553 สำหรับความต้องการเอฟ-111 ที่ตั้งโดยรัฐบาลเก่าและมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บเอฟ-111 ให้ทำงานในปัจจุบัน[51] รัฐบาลยังได้มองหาอีเอ-18จี โกรว์เลอร์ที่อาจส่งออกด้วย[52] ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโจเอล ฟิทซ์กิบบอนได้ประกาศว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ท 12 จาก 24 ลำจะเข้าการผลิตที่ดัดแปลงให้เป็นอีเอ-18จี มันมีราคาประมาณ 35 ล้านดอลาร์ออสเตรเลีย การตัดสินใจสุดท้ายในการดัดแปลงให้เป็นอีเอ-18จีที่มีมูลค่า 300 ล้านดอลาร์ออสเตรเลียนั้นจะเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2565[53] การประกอบซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลียครั้งแรกเริ่มในเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงงานของโบอิงในเซนท์หลุยส์รัฐมิสซูรี[54] ประเทศที่อาจเป็นผู้ใช้งานในอนาคตโบอิงได้เสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับมาเลเซียโดยเป็นส่วนหนึ่งของการซื้อเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทในปีพ.ศ. 2545 อย่างไรก็ตามการจัดซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกระงับหลังจากที่รัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะซื้อซุคฮอย ซู-30เอ็มเคเอ็มแทนในปีพ.ศ. 2550 แต่นายพลดาทัค นิค อิสมาไล นิค มูฮาเม็ดได้กล่าวว่ากองทัพอากาศมาเลเซียไม่ได้วางแผนที่จะยุติการจัดซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพราะพวกเขาต้องการมัน[55] โบอิงได้ส่งข้อเสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับรัฐบาลเดนมาร์กและบราซิลในปีพ.ศ. 2551 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดสามลำในการแข่งขันของเดนมาร์กเพื่อหาสิ่งที่จะมาแทนที่เอฟ-16 จำนวน 48 ลำ[56][57] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 มีการรายงานว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสามที่เข้าแข่งขันในบราซิล บราซิลเริ่มต้องการเครื่องบินเป็นจำนวน 36 ลำพร้อมกับความเป็นไปได้ในการซื้อทั้งสิ้น 120 ลำ[58][59] โบอิงตกลงในข้อเสนอสำหรับการแข่งขันเครื่องบินรบหลากบทบาทของอินเดียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 แบบอื่นของซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเสนอให้กับอินเดียนั้นชื่อเอฟ/เอ-18ไอเอ็น มันจะรวมทั้งเรดาร์เอพีจี-79 ของเรย์ธีออน[1] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 โบอิงตกลงในข้อเสนอให้กับอินเดียเพื่อแสดงความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทของอินเดียเพื่อทำการผลิต[60] ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 โบอิงได้เสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทในโครงการของกรีซ[61] แบบต่างๆ
ประเทศผู้ใช้งาน
รายละเอียด เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
สื่อบันเทิงเอฟ/เอ-18 เอฟเป็นเครื่องบินที่ถูกยิงตกโดยกองกำลังเซอร์เบียในภาพยนตร์เรื่องบีไฮนด์ เอ็นเนมี ไลน์ส ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เอฟ-18 ฮอร์เน็ท
|