Share to:

 

เอสซีบีพาร์กพลาซา

เอสซีบีพาร์กพลาซา
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ที่ตั้ง9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
เมืองกรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
พิกัด13°49′38″N 100°33′53″E / 13.82722°N 100.56472°E / 13.82722; 100.56472
เริ่มสร้างพ.ศ. 2535
แล้วเสร็จพ.ศ. 2539
ความสูง
หลังคาเอสซีบีพาร์กพลาซา 1 (อาคารสูงที่สุด) 137 เมตร
ชั้นบนสุด37
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น37
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกบริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอส จำกัด

เอสซีบีพาร์กพลาซา (อังกฤษ: SCB Park Plaza) หรือ ไทยพาณิชย์พาร์กพลาซา (อังกฤษ: Siam Commercial Bank Park Plaza) เป็นอาคารสำนักงานในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ใช้เวลาก่อสร้างมากกว่า 4 ปี ด้วยงบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านบาท (400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น) สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2539 เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทในเครือเอสซีบี เอกซ์ โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึงผู้เช่าสำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกอื่น ๆ

การจัดสรรพื้นที่

เอสซีบีพาร์กพลาซาตั้งอยู่บนพื้นที่ 52 ไร่ (8.3 เฮกตาร์; 21 เอเคอร์) อยู่บนถนนรัชดาภิเษก ใกล้กับแยกรัชโยธิน ออกแบบโดย โรเบิร์ต บุย สถาปนิกชาวอเมริกันที่อาศัยในประเทศไทย เป็นหนึ่งในอาคารแรก ๆ ในประเทศไทยที่นำระบบอัจฉริยะมาปรับประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เหมาะสมที่สุด และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในยุคนั้นสำหรับการพัฒนากลุ่มอาคารทั้งหมดเป็นโครงการเดียวภายใต้การออกแบบองค์รวมร่วมกัน[1]

เอสซีบีพาร์กพลาซาประกอบด้วยอาคาร 3 กลุ่ม ได้แก่ อาคารหลักความสูง 37 ชั้น หลังคารูปทรงปิรามิดสีทอง และอาคารที่อยู่ติดกันความสูง 24 ชั้น, อาคารเอสซีบีพาร์กพลาซาเวสต์ ประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง ความสูง 12 ชั้น และ 21 ชั้น และอาคารเอสซีบีพาร์กพลาซาอีสต์ ประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง ความสูง 21 ชั้น และ 5 ชั้น[2] แต่ละกลุ่มตั้งอยู่บนอาคารค้าปลีกที่เชื่อมต่อกัน และมีบริการที่จอดรถอยู่ใต้ดินทั้งหมด การออกแบบเน้นรูปทรงสามเหลี่ยมเป็นส่วนใหญ่ และอาคารที่มีผนังกระจกทั้งหมดก็มีผังพื้นที่ตามตารางสามเหลี่ยม รวมถึงมีช่องแสงหลังคาทรงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ครอบคลุมบริเวณห้องโถงกลางของอาคารหลัก[1]

การใช้งาน

เอสซีบีพาร์กพลาซาเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 2010[3] เช่นเดียวกับสำนักงานของบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่ง สำนักงานใหญ่ของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทยอยู่ที่โครงการนี้จนถึงปี พ.ศ. 2558[4] ได้รับการออกแบบด้วยเป้าหมายที่จะเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมแบบบูรณาการ[1] นอกจากนี้ อาคารชุดยังมีร้านค้าและร้านอาหารจำนวนมากในห้างสรรพสินค้าโพเดียม และเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้ที่อาศัยและทำงานในพื้นที่[5]

อุบัติเหตุ

เคยมีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นในเอสซีบีพาร์กพลาซาทั้งสิ้น 2 ครั้ง ดังนี้

  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เกิดเพลิงไหม้อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคาร 3 ชั้น มีนักดับเพลิงเสียชีวิต 1 ราย[6]
  • มีนาคม พ.ศ. 2559 อุบัติเหตุทางเคมีทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย (ผู้รับเหมา 7 รายและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 1 ราย) ซึ่งกำลังซ่อมบำรุงระบบดับเพลิงในห้องนิรภัยเก็บเอกสารที่ชั้นใต้ดินของอาคาร[7]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 วงศ์กุลพิศาล, ศุภาศัย (2022). "Siam Commercial Bank Park Plaza (1996)" [ไทยพาณิชย์พาร์กพลาซา (1996)]. Than Samai in Modern Thai Architecture: Case Studies of Crypto-colonialism [ความทันสมัยในสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่: กรณีศึกษาของอาณานิคมอำพราง] (PhD thesis) (ภาษาอังกฤษ). มหาวิทยาลัยวอชิงตัน. pp. 100–108.
  2. "SCB Park Plaza ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่". tace.co.th (ภาษาไทย และ อังกฤษ). Tortrakul and Associates Consulting Engineer Limited. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
  3. อรุณรัตน์ ใจกล้า (29 September 2017). "Exploring SCB Park Plaza : เราเป็นสิ่งไหนได้ เมื่อคนรุ่นใหม่ต้องการอะไรมากกว่าออฟฟิศ". A Day Magazine.
  4. "เผยโฉม "ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์" มูลค่า 2,600 ล้าน แรงบันดาลใจจากขวดสบู่ลักส์". Positioning Magazine. 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
  5. Roobe, Rachel (23 July 2011). "What You'll Find at SCB Plaza at Ratchayothin in Bangkok, Thailand – Tasty Thailand". สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
  6. "Fire damages three stories of SCB head office, fire fighter killed". The Nation. 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
  7. "3 sentenced over deadly SCB office chemical accident". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 22 December 2017. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°49′38″N 100°33′53″E / 13.827222°N 100.564722°E / 13.827222; 100.564722

Kembali kehalaman sebelumnya