เอิร์ท (อังกฤษ: earth) อาจแปลได้ว่า "ปฐวีธาตุ" (ธาตุดิน) นิยามโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษ จึงอาจอ้างเทียบกับ "ธาตุดิน" กล่าวคือหมายถึง มวลสารที่ประกอบขึ้นเป็นแผ่นดินโลก หรือสสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
สำหรับนิยามทางเคมี และวิทยาแร่ อาจเจาะจงหมายถึง แร่หรือสารประกอบกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทออกไซด์ของธาตุโลหะ ที่ปรากฏพบได้ในธรณีภาค (ชั้นหิน) ของโลก
รวมถึง ธาตุเคมี ที่ประกอบขึ้นเป็นแร่หรือสารประกอบนั้น
โดยมีข้อสังเกตว่า
- แร่ สารประกอบ และธาตุเคมี ที่ปรากฏพบได้ในบรรยากาศภาคของโลก ไม่จัดเป็นเอิร์ท แม้ว่ามีปรากฏในธรณีภาคก็ตาม
- เอิร์ทบางชนิดสามารถละลายน้ำได้ แต่ปรากฏในอุทกภาคตามธรรมชาติน้อยมาก)
- เอิร์ท มีสถานะเป็นของแข็ง ที่ STP
- เอิร์ท แสดงสมบัติความเป็นโลหะ เช่น สารบริสุทธิ์สีเงินวาว สารประกอบที่ละลายน้ำได้ให้อิออนบวก ฯลฯ
ความเข้าใจถึงธาตุเคมีในกลุ่มเอิร์ท เริ่มค้นพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
ก่อนหน้านั้น ตำราเก่าแก่มักเรียก รูปแบบตามธรรมชาติของธาตุที่มาจากปฐพีภาค (และธรณีภาค) ของโลก ว่า "เอิร์ท"
และยังคงใช้สืบกันมาถึงปัจจุบัน รวมถึงในทางเคมีด้วย
ซึ่งรากศัพท์คำว่า "เอิร์ท" หมายถึงตัวโลกเองด้วย โดยอาจกร่อนมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "แตร์" (ฝ. terre) ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า "เทอร์รา" (ล. terra)
และหลายภาษาใช้คำนี้หรือคำที่เพี้ยนจากคำนี้
ในปัจจุบัน ธาตุเคมีในกลุ่มเอิร์ท จำแนกเป็น 2 กลุ่ม
ดูเพิ่ม