เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน [ 1] (อังกฤษ : Emma Charlotte Duerre Watson ; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2533)[ 2] เป็นนักแสดง นางแบบ และนักกิจกรรมหญิงชาวบริติช เกิดในปารีส และเติบโตในออกซฟอร์ดไชร์ วอตสันเข้าเรียนโรงเรียนดรากอนสกูล ขณะเป็นเด็ก และเรียนการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์ สาขาออกซฟอร์ด เธอเป็นที่จดจำจากบทบาทการแสดงในบทเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ปรากฏตัวในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ แปดภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 โดยก่อนหน้านั้นเธอเคยแสดงเฉพาะละครในชั้นเรียน[ 3] แฟรนไชส์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทำให้วอตสันมีชื่อเสียงทั่วโลก ได้รับคำยกย่อง และรายได้มากกว่า 10 ล้านปอนด์[ 4] เธอยังคงรับงานแสดงนอกจากภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ อีก เรื่องแรกคือพากย์เสียงในภาพยนตร์ การผจญภัยของเดเปอโร และปรากฏในภาพยนตร์โทรทัศน์ฉบับดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง รองเท้าบัลเลต์ ตั้งแต่นั้นมา เธอได้รับบทในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก และวัยร้าย วัยลัก ได้รับบทเป็นตนเองในฉบับ "เกินจริง" ปรากฏตัวชั่วครู่ในภาพยนตร์ วันเนี๊ย...จบป่ะ [ 5] และรับบทเป็นบุตรบุญธรรมของตัวละครหลักในเรื่อง โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก [ 6]
ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ถึง 2557 วอตสันแบ่งเวลาระหว่างงานภาพยนตร์กับการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบราวน์ และวิทยาลัยวูสเตอร์ ออกซฟอร์ด และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบราวน์ ระดับปริญญาต รีในสาขาวรรณกรรมอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557[ 7] งานนางแบบของเธอเป็นโครงการรณรงค์ของบริษัทเบอร์เบอรี และลังโกม [ 8] [ 9] เธอยังช่วยออกแบบเสื้อผ้าในนามของที่ปรึกษาด้านแฟชั่นให้กับพีเพิลทรีด้วย[ 10] ในปี พ.ศ. 2557 เธอได้รับเกียรติจากรางวัลแบฟตา โดยชนะรางวัลสาขาศิลปินบริติชแห่งปี[ 11] ในปีเดียวกันนั้น เธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตสันถวไมตรี ขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ และช่วยริเริ่มโครงการรณรงค์ฮีฟอร์ชี (HeForShe) ที่รณรงค์ให้ผู้ชายสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ [ 12]
ประวัติในวัยเด็ก
เอ็มมา วอตสันเกิดที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เธอเป็นลูกสาวของทนายความชาวอังกฤษชื่อ แจ็กลีน ลิวสบี และคริส วอตสัน[ 13] [ 14] [ 15] วอตสันอาศัยอยู่ในปารีสจนอายุ 5 ขวบ พ่อแม่ของเธอแยกทางกันตั้งแต่เธอยังเด็ก หลังจากพ่อแม่หย่าร้างกัน วอตสันย้ายกลับมาอยู่กับมารดาที่ออกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ และอยู่กับบิดาที่ลอนดอน ในวันสุดสัปดาห์[ 13] [ 16] วอตสันเคยกล่าวว่าเธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้บ้าง แม้ว่า "ไม่คล่องแคล่ว" เท่าที่เคย[ 17] หลังจากย้ายไปที่ออกซฟอร์ดกับมารดาและน้องชาย เธอเข้าศึกษาที่โรงเรียนดรากอนสกูล ในออกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 เธออยากเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 6 ขวบ[ 18] และเรียนร้องเพลง เต้นรำ และการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์ แบบไม่เต็มเวลา[ 19]
เมื่ออายุ 10 ขวบ วอตสันได้แสดงในละครเวทีของโรงเรียนสเตจโคชหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง อาร์เธอร์: เดอะยังเยียร์แอนด์เดอะแฮปปีพรินซ์ [ 20] แต่เธอไม่เคยแสดงมืออาชีพใด ๆ ก่อนภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ หลังจบโรงเรียนดรากอนสกูล วอตสันย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเฮดิงตันสกูล [ 13] ขณะอยู่ที่กองถ่ายภาพยนตร์ เธอและเพื่อน ๆ มีครูสอนพิเศษให้วันละห้าชั่วโมง[ 21] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เธอเข้าสอบ GCSE 10 วิชา ได้รับเกรด A* 8 วิชา และเกรด A 2 วิชา[ 13] [ 22]
อาชีพการงาน
2542–2546: จุดเริ่มต้นและความสำเร็จครั้งแรก
ภาพพิมพ์ฝ่ามือ รอยเท้า และไม้กายสิทธิ์ ของ (จากซ้ายไปขวา) วอตสัน แรดคลิฟฟ์ กรินต์ พ.ศ. 2550
ในปี พ.ศ. 2542 การคัดเลือกนักแสดงภาพยนตรเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เริ่มขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายที่ขายดีที่สุดของเจ. เค. โรว์ลิง เจ้าหน้าที่ที่คัดเลือกนักแสดงพบวอตสันผ่านทางครูของเธอที่โรงละครออกซฟอร์ด และโปรดิวเซอร์รู้สึกประทับใจในความมั่นใจในตนเองของเธอ หลังการออดิชันแปดครั้ง โปรดิวเซอร์ เดวิด เฮย์แมน บอกวอตสันและผู้สมัครอีกสองคนคือ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ต กรินต์ ว่าพวกเขาได้รับเลือกให้เป็นตัวละครเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ และรอน วีสลีย์ โดยเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน โรว์ลิงสนับสนุนวอตสันตั้งแต่การทดสอบหน้ากล้อง ครั้งแรก[ 18]
ในปี พ.ศ. 2544 วอตสันเปิดตัวแสดงความสามารถครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ภาพยนตร์ทำลายสถิติรายได้ในวันฉายวันแรกและสัปดาห์แรก และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในปีนั้น[ 23] [ 24] นักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของนักแสดงนำทั้งสามคน โดยชื่นชมวอตสันเป็นพิเศษ หนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทลิกราฟ เรียกการแสดงของเธอว่า "น่าชื่นชม"[ 25] และเว็บไซต์ไอจีเอ็น กล่าวว่าเธอ "โดดเด่นมากกว่าคนอื่น ๆ"[ 26] วอตสันได้เข้าชิงรางวัลห้ารางวัลจากเรื่องศิลาอาถรรพ์ และได้รับรางวัลนักแสดงเด็ก สาขานักแสดงนำเด็กหญิง[ 27]
ปีต่อมา วอตสันรับบทเป็นเฮอร์ไมโอนี่อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ภาพยนตร์เรื่องที่สองในชุด นักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของเธอ หนังสือพิมพ์เดอะลอสแอนเจลิสไทมส์ กล่าวว่าวอตสันและเพื่อน ๆ เติบโตขึ้นจากเรื่องเดิม[ 28] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ วิจารณ์ผู้กำกับ คริส โคลัมบัส ที่จ้างวอตสันมาเป็นตัวละครยอดนิยมด้วยค่าตัวที่น้อย[ 29] การแสดงของวอตสันทำให้เธอได้รับรางวัลออตโตจากนิตยสารเยอรมัน บราโว [ 30]
2547–2554: ความสำเร็จต่อเนื่องจากแฮร์รี่ พอตเตอร์ และบทบาทอื่น ๆ
วอตสันในงานปฐมฤกษ์ของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ในปี พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ออกฉาย วอตสันรู้สึกพอใจในบทบาทเฮอร์ไมโอนี่ซึ่งเธอแสดงออกอย่างเต็มที่มากขึ้น โดยเธอเรียกตัวละครของเธอว่า "มีเสน่ห์" และเป็น "บทอัศจรรย์"[ 31] แม้ว่านักวิจารณ์ตำหนิการแสดงของแรดคลิฟฟ์ มองว่าเขา "เล่นแข็ง" แต่พวกเขายกย่องวอตสัน หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมเชยการแสดงของวอตสันว่า "โชคดีที่คุณแรดคลิฟฟ์ที่ไร้อารมณ์ถูกชดเชยด้วยความอดทนของคุณวอตสัน แฮร์รี่ได้อวดทักษะพ่อมดที่หลากหลายขึ้น แต่เฮอร์ไมโอนี่ได้รับเสียงปรบมือดังที่สุดจากหมัดปราศจากเวทมนตร์ต่อยเข้าที่จมูกของเดรโก มัลฟอย "[ 32] แม้ว่าเรื่องนักโทษแห่งอัซคาบันจะเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้น้อยที่สุดในภาพยนตร์ชุด แต่การแสดงของวอตสันจะชนะรางวัลออตโตสองรางวัล และรางวัลการแสดงเด็กแห่งปีจากนิตยสารโททัลฟิล์ม [ 33] [ 34]
ด้วยภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ทำให้ทั้งวอตสันและภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญครั้งใหม่ ภาพยนตร์ทำสถิติสำหรับสัปดาห์ออกฉายสัปดาห์แรกของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นภาพยนตร์ไม่ได้เริ่มฉายในสหรัฐอเมริกาในวันสุดสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคม และเป็นภาพยนตร์ที่ฉายสัปดาห์แรกในสุดสัปดาห์ในสหราชอาณาจักร นักวิจารณ์ชื่นชมการเติบโตของวอตสันและการแสดงวัยรุ่นของเธอ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมการแสดงของเธอว่า "เอาจริงเอาจังอย่างน่าประทับใจ"[ 35] สำหรับวอตสัน เรื่องขบขันในภาพยนตร์ส่วนมากเกิดจากความเครียดในหมู่ตัวละครหลักสามคนขณะที่พวกเขากำลังเติบโต เธอกล่าวว่า "ฉันชอบทุกตอนที่เราทะเลาะกัน ฉันคิดว่ามันเหมือนจริงมากที่พวกเขาทะเลาะกันและที่จะมีปัญหามากมาย"[ 36] หลังจากภาพยนตร์เรื่องถ้วยอัคนีได้เข้าชิงสามรางวัล วอตสันชนะรางวัลออตโตเหรียญทองแดง[ 37] [ 38] ต่อมาในปีนั้น วอตสันกลายเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดบนปกนิตยสารทีนโว้ก [ 39] เมื่อเธอปรากฏตัวอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552[ 40] ในปี พ.ศ. 2549 วอตสันรับบทเฮอร์ไมโอนี่ในละครเดอะควีนส์แฮนด์แบก ตอนพิเศษของแฮร์รี่ พอตเตอร์เพื่อธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร [ 41]
วอตสันที่งานปฐมฤกษ์ของภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ภาพยนตร์เรื่องที่ห้าในแฟรนไชส์คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 จากความสำเร็จด้านรายได้ครั้งใหญ่ ภาพยนตร์ทำสถิติทำรายได้ในสัปดาห์แรกสูงที่สุดที่ 332.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 42] วอตสันชนะรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[ 43] เนื่องจากชื่อเสียงของวอตสันและภาพยนตร์ยังคงดำเนินต่อเนื่อง วอตสันและนักแสดงภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และรูเพิร์ต กรินต์ พิมพ์ฝ่ามือ รอยเท้า และไม้กายสิทธิ์ที่บริเวณหน้าโรงละครกรอแมนส์ไชนีสเธียเตอร์ ในฮอลลิวูดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[ 44]
จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 กล่าวกันว่างานแสดงของวอตสันในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์สร้างรายได้ให้เธอมากกว่า 10 ล้านปอนด์ และเธอตระหนักว่าเธอไม่ต้องทำงานเพื่อเงินอีกต่อไป[ 4] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เธออยู่ในอันดับที่ 6 ในรายชื่อ "ดาราหนุ่มสาวที่มีรายได้มากที่สุด" จัดโดยนิตยสารฟอบส์ [ 45] และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เธอได้ชื่อเป็นดาราสาวที่มีรายได้สูงสุดของฮอลลิวูด โดยมีรายได้ประมาณ 19 ล้านปอนด์ใน พ.ศ. 2552[ 46]
แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องภาคีนกฟีนิกซ์ ประสบความสำเร็จ อนาคตของแฟรนไชส์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กลายเป็นความไม่แน่นอน เมื่อนักแสดงทั้งสามคนลังเลที่จะต่อสัญญาการแสดงบทบาทของพวกเขาต่อไปในภาพยนตร์สองตอนสุดท้าย[ 47] ในที่สุดแรดคลิฟฟ์ยินยอมรับแสดงภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550[ 47] แต่วอตสันยังคงลังเลใจต่อไป[ 48] เธออธิบายว่าเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นการผูกมัดเธอกับบทบาทนี้ไปอีกสี่ปี แต่ในที่สุดเธอยอมรับว่าเธอ "ไม่อยากทิ้ง[บทเฮอร์ไมโอนี่]ไป"[ 49] และรับแสดงบทดังกล่าวในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2550[ 50]
วอตสันกับแดเนียล แรดคลิฟฟ์ (ซ้าย) และรูเพิร์ต กรินต์ ที่งานรอบปฐมฤกษ์ของภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554
วอตสันแสดงภาพยนตร์ที่ไม่ใช่แฮร์รี่ พอตเตอร์ เรื่องแรกคือเรื่อง รองเท้าบัลเลต์ ออกอากาศทางช่องบีบีซีในปี พ.ศ. 2550 ดัดแปลงจากนวนิยายในชื่อเดียวกัน เขียนโดยโนล สเตรตเฟลด์ [ 51] [ 52] ผู้กำกับภาพยนตร์ แซนดรา โกลด์บาเชอร์ ให้ความเห็นว่าวอตสันแสดงได้ "สมบูรณ์แบบ" กับบทบาทนักแสดงหญิง พอลีน ฟอสซิล "เธอมีออร่าที่เฉียบแหลมละเอียดอ่อนที่ทำให้คุณอยากจ้องมองที่เธอ"[ 53] รองเท้าบัลเลต์ ฉายในสหราชอาณาจักรในวันเปิดกล่องของขวัญ ปี พ.ศ. 2550 ให้ผู้ชม 5.7 ล้านคน ได้รับคำวิจารณ์คละกันไป[ 54] [ 55] [ 56]
วอตสันพากย์เสียงให้บทเจ้าหญิงพีในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง เดเปอโร...รักยิ่งใหญ่จากใจดวงเล็ก ภาพยนตร์ตลกสำหรับเด็กนำแสดงโดยแมททิว บรอเดริก และนักแสดงร่วมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ร็อบบี โคลเทรน (รูเบอัส แฮกริด ) แสดงในเรื่องนี้เช่นกัน[ 57] การเดเปอโร...รักยิ่งใหญ่จากใจดวงเล็ก ออกฉายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 และทำรายได้ได้ 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก[ 58]
การถ่ายทำฉากสำคัญให้ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เรื่องที่หก เริ่มขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2550 โดยในส่วนของวอตสัน ถ่ายทำตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ถึง 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[ 59] [ 60] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉายรอบปฐมฤกษ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[ 61] เลื่อนจากเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[ 62] เนื่องจากนักแสดงหลายคนเป็นวัยรุ่นตอนปลาย นักวิจารณ์วิจารณ์พวกเขาในระดับเดียวกับนักแสดงคนอื่น ๆ ในเรื่อง โดยหนังสือพิมพ์ลอสแอนเจลิสไทมส์ บรรยายเป็น "การแนะนำสู่การแสดงแบบทันสมัย"[ 63] หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ รู้สึกว่าวอตสัน "แสดงได้มีเสน่ห์ที่สุดจนถึงทุกวันนี้"[ 64] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทลิกราฟ บรรยายถึงนักแสดงนำว่า "กระตือรือต้น อิสระ และมีพลังที่จะแสดงสิ่งที่พวกเขามีให้กับส่วนที่เหลือของเรื่อง"[ 65] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 วอตสันกล่าวว่าเธออยากเรียนระดับมหาวิทยาลัยหลังเธอถ่ายทำภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ จบทั้งหมด[ 66]
การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต เริ่มวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[ 67] สิ้นสุดวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553[ 68] ด้วยเหตุผลด้านการเงินและบทภาพยนตร์ นวนิยายเล่มนี้ถูกแบ่งออกเป็นภาพยนตร์สองตอนซึ่งถ่ายทำต่อเนื่องกัน[ 69] [ 70] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 ออกฉายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และภาค 2 ออกฉายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554
เธอปรากฏในมิวสิกวิดีโอของวงวันไนต์โอนลี หลังพบกับนักร้องนำ จอร์จ เครก ในงานรณรงค์โฆษณาวินเทอร์/ซัมเมอร์เบอร์เบรี 2010 วิดีโอเพลง "เซย์ยูโดนต์วอนต์อิต " ออกอากาศทางช่องแชนเนิล 4 ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และออกเผยแพร่วันที่ 16 สิงหาคม[ 71]
หลังจบเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ วอตสันแสดงภาพยนตร์เรื่อง 7 วัน แล้วคิดถึงกันตลอดไป รับบทเป็นลูซี ผู้ช่วย ที่ถูกตัวละครหลัก โคลิน คลาร์ก เกี้ยวพาราสี และออกเที่ยวกับเขาหลายครั้ง[ 72] [ 73]
2555–ปัจจุบัน
วอตสันในงานเทศกาลภาพยนตร์ไทรเบกา 2012
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีรายงานว่าวอตสันกำลังพิจารณาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก [ 74] ภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2554 และออกฉายเดือนกันยายน พ.ศ. 2555[ 75]
ภาพยนตร์เรื่อง วัยร้าย วัยลัก (2556) วอตสันรับบทเป็นนิกกี ภาพยนตร์สร้างจากเหตุการณ์ของกลุ่มโจรปล้นบลิงริงที่เกิดขึ้นจริง โดยวอตสันเล่นเป็นอเล็กซิส เนเออส์ ในโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัยรุ่นเจ็ดคนที่เข้ามาพัวพันกับการปล้น ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์คละกันเป็นส่วนใหญ่ แต่นักวิจารณ์ให้คำชมวอตสันที่แสดงเป็นนิกกีอย่างเป็นเอกฉันท์ วอตสันยังได้แสดงในภาพยนตร์ตลกพยากรณ์เรื่อง วันเนี๊ย...จบป่ะ (2556) โดยเธอ เซธ โรเกน เจมส์ แฟรนโก และคนอื่น ๆ เล่นเป็น "ตนเองในแบบเกินจริง"[ 5] และวอตสันได้ทิ้ง "ระเบิด f-bomb " ครั้งที่เป็นที่จดจำในเรื่อง[ 76] เธอกล่าวว่าเธอไม่อาจพลาดโอกาสที่เธอจะได้แสดงภาพยนตร์ตลกเรื่องแรก และ "ทำงานร่วมกับนักแสดงตลกที่ดีที่สุด...ในโลกในตอนนี้"[ 77]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 วอตสันยืนยันบทไอลาในภาพยนตร์เรื่อง โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก ของแดร์เรน อาโรนอฟสกี ถ่ายทำในเดือนถัดมาและออกฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[ 6] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 มีรายงานว่าวอตสันกำลังเจรจาแสดงเป็นตัวละครซินเดอเรลล่า ในภาพยนตร์ดิสนีย์ฉบับคนแสดง เค็นเน็ท แบรเนอ กำกับภาพยนตร์ ขณะเคต แบลนเชตต์ รับบทเป็นแม่เลี้ยงใจร้าย วอตสันได้รับข้อเสนอให้เสนอบทดังกล่าว แต่เธอปฏิเสธ[ 78]
วอตสันได้รับการติดต่อให้แสดงบทเอ็มมา ฟอร์เรสต์ ในภาพยนตร์เรื่องยัวร์วอยซ์อินมายเฮด ในขณะนั้น ผู้กำกับแฮร์รี่ พอตเตอ ร์ เดวิด เยตส์ ก็ได้รับการติดต่อเช่นกัน ในบทสัมภาษณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปรากฏว่าวอตสันไม่ได้แสดงในภาพยนตร์ดังกล่าวแล้ว สแตนลีย์ ทุชชี กล่าวว่าบทนั้นจะให้เอมีลี บลันต์ แสดงแทน[ 79] อย่างไรก็ตาม ก่อนเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 มีการยืนยันว่าวอตสันจะได้กลับมารับบทฟอร์เรสต์อีกครั้ง และภาพยนตร์จะเริ่มถ่ายทำเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน โดยผู้กำกับคนใหม่คือ ฟรานเซสกา เกรกอรินี [ 80]
จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 วอตสันมีกำหนดได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เดวิด เฮย์แมน ในภาพยนตร์เรื่อง ควีนออฟเดอะเทียร์ลิง สร้างจากหนังสือไตรภาพที่ยังไม่วางจำหน่าย เธอจะรับบทนำเป็นฮีโรผู้หญิง เคลซี กลินน์ รวมถึงเป็นผู้ควบคุมงานสร้างด้วย[ 81] วอร์เนอร์บราเธอส์เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์[ 82]
มีรายงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ว่าวอตสันจะแสดงในภาพยนตร์เรื่อง ไวล์เวอร์ยัง ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง 29 ของอะดีนา แฮลเพิร์น ที่เป็นเรื่องราวของคุณยายที่จิตใจยังสาวที่ใช้เวลากับหลานสาว (วอตสัน) แทนที่จะอยู่กับลูกสาวของเธอเอง ภาพยนตร์กำกับโดยสตีเฟน เชอบอสกี ที่เคยร่วมงานกับวอตวันในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก [ 83] วอตสันยังได้รับคัดเลือกแสดงคู่กับอีธาน ฮอว์ก ในภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่อง รีเกรสชัน อเลฮานโดร อาเมนาบาร์ เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2558[ 84]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 วอตสันได้รับเลือกให้เป็นผู้หญิงแห่งปีโดยนิตยสารบริติชจีคิว [ 85] ในเดือนเดียวกันนั้น เธอเป็นนักแสดงหนึ่งในสองคนที่อยู่อันดับสูงสุดของผลสำรวจดาราภาพยนตร์เซ็กซี่ที่สุดแห่งปี 2556 นำหน้าสการ์เลตต์ โจแฮนส์สัน และเจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ จากผลสำรวจออนไลน์ที่มีแฟนคลับภาพยนตร์โหวตมากกว่า 50,000 คน เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ ได้รับโหวตสูงสุดในฐานะนักแสดงชาย[ 86]
วอตสัน ร่วมกับจูดี เดนช์ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ไมก์ ลี จูเลีย ลุยส์-เดรย์ฟัส และมาร์ก รัฟฟาโล ได้รับรางวัลบริเทนเนียอะวอดส์ 2014 จัดขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคมที่ลอสแอนเจลิส วอตสันได้รับรางวัลศิลปินชาวบริติชแห่งปี และมอบรางวัลให้มิลลี หนูแฮมสเตอร์ของเธอที่ตายขณะวอตสันถ่ายทำเรื่องศิลาอาถรรพ์ [ 11]
ปี พ.ศ. 2558 มีผลงานที่เอ็มมาแสดงออกฉาย เช่น โคโลเนีย หนีตาย ร่วมแสดงโดยแดเนียล บรูล และมีคาเอล นีควิสต์ [ 87] วอตสันจะรับบท เบลล์ ในภาพยนตร์คนแสดงดัดแปลง เรื่อง บิวตีแอนด์เดอะบีสต์ พ.ศ. 2560 คู่กับแดน สตีเวนส์ ซึ่งรับบทเป็นบีสต์ .[ 88] เธอจะร้องเพลงในภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ซึ่งเธอเรียกว่า "น่าหวาดกลัวในตัวเอง"[ 89] เธอยังร่วมแสดงในภาพยนตร์ รีเกรสชั่น สัมผัส…ผวา ภาพยนตร์ระทึกขวัญออกฉายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 แสดงร่วมกับอีธาน ฮอว์ก และเพื่อนนักแสดงจากแฮร์รี่ พอตเตอร์ เดวิด ทิวลิส [ 90] และเซ็นชื่อรับแสดงคู่กับทอม แฮงส์ ในภาพยนตร์ดัดแปลงเรื่อง เดอะเซอร์เคิล [ 91]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 วอตสันประกาศว่าพักงานแสดงเป็นเวลาหนึ่งปี เธอวางแผนใช้เวลากับ "การพัฒนาส่วนบุคคล" และงานเกี่ยวกับสิทธิสตรี[ 92]
การเดินแบบและแฟชัน
ในปี พ.ศ. 2548 วอตสันเริ่มงานอาชีพนางแบบด้วยการถ่ายโฟโตชู้ต ให้นิตยสารทีนโว้ก และเป็นดาราอายุน้อยที่สุดที่ได้ขึ้นปก[ 2] สามปีต่อมา สื่อของบริติชรายงานว่าวอตสันจะเป็นพรีเซนเตอร์ของเชอแนลแทนเคียรา ไนต์ลี แต่ทั้งสองคนปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง[ 93] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 หลายปีหลังข่าวลือ วอตสันยืนยันว่าเธอจะร่วมกับเบอร์เบอรี เป็นพรีเซนเตอร์ในโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเธอได้รับค่าตอบแทนประมาณหกหลัก[ 8] [ 94] เธอยังปรากฏตัวในโครงการโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2553 ของเบอร์เบอรีร่วมกับอเล็กซ์ น้องชายของเธอ จอร์จ เครก และแมตต์ กิลเมอร์ นักดนตรี และแม็กซ์ เฮิร์ด นายแบบ[ 95] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 วอตสันได้รับรางวัลสไตล์ไอคอนจากนิตยสารแอล มอบโดยวิเวียน เวสต์วูด[ 96] วอตสันยังคงทำงานโฆษณาแฟชันต่อไปหลังเธอประกาศว่าเธอเป็นพรีเซนเตอร์ให้ผลิตภัณฑ์ลังโคม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[ 9]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 วอตสันประกาศว่าเธอเกี่ยวข้องกับพีเพิลทรี ตราสินค้าค้าแฟชันโดยชอบธรรม [ 10] วอตสันทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาฝ่ายสร้างสรรค์ให้กับพีเพิลทรีสร้างเสื้อผ้าฤดูใบไม้ผลิที่จำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[ 10] [ 97] ขอบเขตของรูปแบบมีแรงบันดาลจจากฝรั่งเศสและลอนดอนตอนใต้[ 97] [ 98] หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ บรรยายคอลเล็กชันนี้ว่า "ฉลาดมาก" แม้ว่ามี "ความหวังเงียบ ๆว่า [เธอ] จะสับสนกับการถักเสื้อผ้าครั้งแรก"[ 99] คอลเล็กชันนี้ถูกเผยแพร่ในนิตยสารหลายฉบับ เช่น ทีนโว้ก [ 100] คอสโมโพลิตัน และพีเพิล วอตสันซึ่งไม่ได้ค่าตัวในการร่วมมือครั้งนี้[ 101] ยืนยันว่าการแข่งขันของเสื้อผ้าชุดนี้มีเล็กน้อย[ 99] แต่แย้งว่า "แฟชันเป็นวิธีที่ดีที่จะให้อำนาจคนและเพิ่มทักษะให้พวกเขาด้วย กล่าวคือ แทนที่จะมอบเงินสดให้การกุศล คุณสามารถช่วยผู้คนได้โดยซื้อเสื้อผ้าที่พวกเขาทำและสนับสนุนสิ่งที่เขาภาคภูมิใจ" และเสริมว่า "ฉันคิดว่าคนหนุ่มสาวอย่างฉันกำลังจะตระหนักกันมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาด้านมนุษยธรรมเกี่ยวกับแฟชันที่ผ่านไปเร็วและต้องการตัดสินใจให้ดี แต่ไม่มีทางเลือกมากขนาดนั้น"[ 99] วอตสันยังคงร่วมงานกับพีเพิลทรี จนออกคอลเล็กชันฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวในปี พ.ศ. 2553[ 102]
วอตสันได้รับรางวัลนักออกแบบชาวบริติชยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลแฟชันบริติชอะวอดส์ 2014 ในงานยังมีดารามากมาย เช่น เดวิด เบคแคม เอมัล คลูนีย์ เคต มอส และเคียรา ไนต์ลีย์
การศึกษา
หลังจบจากโรงเรียน วอตสันพักเรียนหนึ่งปี[ 103] เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[ 70] แต่กล่าวว่าเธอตั้งใจเรียนต่อไป[ 66] และเธอยืนยันในภายหลังว่าเธอเลือกเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบราวน์ ในพรอวิเดนซ์ รัฐโรดไอส์แลนด์ [ 104] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 หลังจากเรียนมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 18 เดือน วอตสันปรากฏว่าเธอยืดเวลาเรียนออกไปอีก "หนึ่งหรือสองภาคเรียน"[ 105] แม้ว่าเธอเข้าเคยเรียนที่วิทยาลัยวูสเตอร์ ออกซฟอร์ด ระหว่างปีการศึกษา 2554-2555 ในฐานะ "นักเรียนเยือน"[ 106]
วอตสันกล่าวกับเอลเลน ดีเจนเนอเรส ก่อนจบการศึกษาว่าเธอต้องเรียนห้าปีแทนสี่ปี เนื่องจากงานแสดงของเธอ เธอ "พักเรียนสองภาคเรียนเต็ม"[ 107] ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยบราวน์ด้านวรรณคดีอังกฤษ[ 7] ในปี พ.ศ. 2556 เธอได้รับการรับรองให้สอนโยคะและการทำสมาธิ เธอเรียนพิเศษการทำสมาธิเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่อาคารแห่งหนึ่งของชาวแคนาดา โดยเป็นสถานที่ที่ผู้อาศัยไม่ได้รับอนุญาตให้พูด เพื่อ "หาวิธีอยู่บ้านกับตนเอง"[ 108] [ 109] เธอกล่าวกับนิตยสารแอลออสเตรเลีย ว่า อนาคตที่ไม่แน่นอนหมายถึงการค้นหา "หนทางที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยและรู้สึกเหมือนตนอยู่บ้าน เพราะฉันไม่อาจเชื่อใจสถานที่จริง ๆ ได้เลย"[ 110]
ชีวิตส่วนตัว
วอตสันพบและเริ่มคบหากับนักเรียนที่ออกซฟอร์ด วิล แอดาโมวิกซ์ ในปี พ.ศ. 2554 ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยปีแรก[ 111] เขาไปกับเธอในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีมูวีอะวอดส์ 2013 ซึ่งวอตสันได้รับรางวัลเทรลเบลเซอร์[ 112] ทั้งคู่เลิกรากันในต้นปี พ.ศ. 2557[ 113] ต่อมาในปีนั้น วอตสันคบหากับนักกีฬารักบี้ของออกซฟอร์ดชื่อ แมทธิว แจนนี [ 114] ความสัมพันธ์สิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายน ผู้แถลงข่าวแทนวอตสันกล่าวว่าทั้งคู่เลิกรากันเนื่องจาก "ตารางงานไม่มีเวลาว่าง"[ 115]
ขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องโนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก วอตสันถูกถามเกี่ยวกับศรัทธา และเธอบรรยายตนว่าเป็นผู้มีจิตใจรอบรู้กว้างขวาง มีศรัทธา[ 116]
งานเกี่ยวกับสิทธิสตรี
วอตสันส่งเสริมการศึกษาของเด็กหญิงด้วยการแวะเยี่ยมประเทศบังกลาเทศ และแซมเบีย [ 117] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 เธอมีนัดพบในฐานะทูตสันถวไมตรี สตรีของสหประชาชาติ [ 12] ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้น วอตสันซึ่งยอมรับว่ารู้สึกกังวลใจ[ 118] ส่งที่อยู่ให้สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์กเพื่อออกโครงการรณรงค์ฮีฟอร์ชี (HeForShe) ซึ่งเรียกร้องให้ผู้ชายสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ ในสุนทรพจน์ครั้งนั้น เธอกล่าวว่าเธอเริ่มสงสัยถึงสมมุติฐานเกี่ยวกับเพศเมื่ออายุแปดขวบเมื่อเธอถูกเรียกว่า "เจ้ากี้เจ้าการ" (ลักษณะนิสัยที่ทำให้เธอเป็นผู้สมบูรณ์แบบ)[ 119] ขณะที่เด็กชายไม่ถูกเรียกเช่นนั้น และขณะอายุ 14 ปี เมื่อเธอ "ถูกสื่อบางแหล่งให้ความสำคัญทางเพศ"[ 120] คำกล่าวของวอตสันได้ชื่อว่ามีคตินิยมสิทธิสตรี "ความเชื่อที่ว่าผู้ชายและผู้หญิงควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน" และเธอประกาศว่าเรื่องที่เธอ "เกลียดผู้ชาย" เป็นสิ่งที่เธอ "ต้องหยุดให้ได้"[ 118] ต่อมาวอตสันได้รับภัยคุกคามหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ไม่ถึง 12 ชั่วโมง ทำให้เธอรู้สึก "โกรธเกรี้ยว ถ้าพวกเขาพยายามทำให้ฉันเลิกทำสิ่งนี้ มันจะเป็นตรงข้ามกันเลย"[ 121] ในปี พ.ศ. 2558 มาลาลา ยูซาฟไซ บอกกับวอตสันว่าเธอตัดสินใจเรียกตนเองว่าผู้สนับสนุนสิทธิสตรีหลังจากได้ฟังสุนทรพจน์ของวอตสัน[ 122]
เรื่องที่แสดง
รางวัลที่ได้รับ
อ้างอิง
↑ "Emma Watson". Late Show with David Letterman . ตอน 3145. 8 July 2009. CBS.
↑ 2.0 2.1 Walker, Tim (29 September 2012). "Emma Watson: Is there Life After Hermione?" . The Independent . สืบค้นเมื่อ 12 January 2008 .
↑ "Daniel Radcliffe, Rupert Grint and Emma Watson to Reprise Roles in the Final Two Instalments of Warner Bros. Pictures' Harry Potter Film Franchise" (Press release). Warner Bros. 23 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-04-02. สืบค้นเมื่อ 23 March 2007 .
↑ 4.0 4.1 Peck, Sally (10 July 2007). "Harry Potter's Sidekick 'Rich Enough To Retire' " . London: The Telegraph . สืบค้นเมื่อ 25 February 2014 .
↑ 5.0 5.1 Puig, Claudia (11 June 2013). "This Is the End—and It's Hilarious" . USA Today . สืบค้นเมื่อ 18 November 2014 .
↑ 6.0 6.1 "Emma Watson Gets Biblical With Darren Aronofsky's 'Noah' " . indiewire.com. 7 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ 24 July 2012 .
↑ 7.0 7.1 "Emma Watson Graduates from Brown University" . The Telegraph (UK). 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 25 May 2014 .
↑ 8.0 8.1 "Go Behind the Scenes with Emma Watson On the Burberry Shoot" . Vogue News. June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014 .
↑ 9.0 9.1 Oliver, Dana (14 March 2011). "Emma Watson Named New Face of Lancome" . Huffington Post . สืบค้นเมื่อ 2 September 2011 .
↑ 10.0 10.1 10.2 Holmes, Rachael (17 September 2009). "Emma Watson launches ethical fashion range with People Tree" . The Guardian . UK. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010 .
↑ 11.0 11.1 King, Susan (31 October 2014). "At BAFTA Event, Emma Watson Dedicates Award to Her Long Dead Hamster" . Los Angeles Times . สืบค้นเมื่อ 31 October 2014 .
↑ 12.0 12.1 "Emma Watson named UN Women Goodwill Ambassador" . The Independent. 8 July 2014.
↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 "Life & Emma" . Official website . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010 .
↑ "Warner Bros. Official site" . Adobe Flash . harrypotter.warnerbros.co.uk. สืบค้นเมื่อ 28 March 2006 (click appropriate actor's image, click "Actor Bio"){{cite web }}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์ )
↑ Barlow, Helen. "A life after Harry Potter" . The Sydney Morning Herald . สืบค้นเมื่อ 16 March 2006 .
↑ Self, Will (17 August 2012). "Emma Watson, The Graduate" . The New York Times .
↑ "Q&A with Emma Watson – The Hour Publishing Company: Entertainment News" . Thehour.com. 18 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014 .
↑ 18.0 18.1 Watson, Emma. "Emma" . Emma Watson's Official Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 3 August 2007 .
↑ Reece, Damian (4 November 2001). "Harry Potter drama school to float" . The Daily Telegraph . UK. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010 .
↑ Watson, Emma. "Emma & Screen" . Official Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-05-07. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010 .
↑ Muir, Kate (15 May 2004). "Cast Interviews" . The Times . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-02-11. สืบค้นเมื่อ 12 January 2008 .
↑ "Pupils 'sitting too many GCSEs' " . BBC News. 24 August 2006. สืบค้นเมื่อ 27 May 2007 .
↑ "Harry Potter magically shatters records" . Hollywood.com. 18 November 2001. สืบค้นเมื่อ 21 September 2007 .
↑ "2001 Worldwide Grosses" . Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 29 May 2007 .
↑ Hiscock, John (4 November 2007). "Magic is the only word for it" . The Daily Telegraph . UK. สืบค้นเมื่อ 23 September 2007 .
↑ Linder, Brian (17 November 2001). "Review of Harry Potter and the Sorcerer's Stone " . IGN . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-12-29. สืบค้นเมื่อ 23 September 2007 .
↑ 27.0 27.1 27.2 "2002 nominations and winners" . Young Artist's Awards. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-04-14. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007 .
↑ Kenneth Turan (15 November 2002). "Harry Potter and the Chamber of Secrets" . Los Angeles Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 28 December 2005. สืบค้นเมื่อ 22 September 2007 .
↑ Ellen, Barbara (14 November 2002). "Film of the week" . The Times . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-05-17. สืบค้นเมื่อ 23 September 2007 .
↑ 30.0 30.1 "Bravo Otto – Sieger 2003" . Bravo magazine (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2007 .
↑ Trout, Jonathon (1 June 2004). "Daniel Radcliffe, Rupert Grint, Emma Watson" . BBC. สืบค้นเมื่อ 3 August 2007 .
↑ A. O. Scott (3 June 2004). "Harry Potter and the Prisoner of Azkaban: Film review" . The New York Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 25 May 2008. สืบค้นเมื่อ 23 September 2007 .
↑ "Dan Wins Another Otto Award" . DanRadcliffe.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007 .
↑ "Bravo Otto Awards 2005" (Press release) (ภาษาเยอรมัน). Presseportal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007 .
↑ Dargis, Manohla (17 November 2005). "The Young Wizard puts away childish things" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 24 September 2007 . [ลิงก์เสีย ]
↑ "Daniel Radcliffe, Emma Watson and Rupert Grint" . IGN. 15 November 2005. สืบค้นเมื่อ 3 August 2007 .
↑ "Goblet of Fire awards" . Broadcast Film Critics Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 29 December 2007. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007 .
↑ 38.0 38.1 Carroll, Larry (2006-04-24). "Alba, Carell, 'Crashers,' 'Virgin' Big Nominees For MTV Movie Awards" . MTV . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2007-09-22 .
↑ Horn, Steven (26 June 2007). "Interview with Emma Watson" . IGN. สืบค้นเมื่อ 30 September 2007 .
↑ Waterman, Lauren. "emma enchanted" . Teen Vogue . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ 12 October 2009 .
↑ "New Harry Potter scene for queen" . BBC News. 12 June 2006. สืบค้นเมื่อ 6 August 2007 .
↑ "All Time worldwide opening records" . Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 25 September 2007 .
↑ 43.0 43.1 Pryor, Fiona (28 September 2007). "Potter wins film awards hat-trick" . BBC News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 29 September 2007 .
↑ Howell, Peter (11 January 2008). "Stardom fades, but cement lives on" . Toronto Star . สืบค้นเมื่อ 22 January 2008 .
↑ Burman, John (10 March 2009). "In Pictures: Hollywood's Most Valuable Young Stars" . Forbes . สืบค้นเมื่อ 18 April 2009 .
↑ "Harry Potter star Emma Watson is top-earning actress" . BBC News. 5 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 February 2010 .
↑ 47.0 47.1 "Harry Potter Will Be Played By Daniel Radcliffe in Final Two Flicks" . MTV. 2 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 18 April 2009 .
↑ "Will Harry Potter lose one of its stars?" . Newsweek . 2 October 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 5 October 2006. สืบค้นเมื่อ 25 September 2007 .
↑ "Hermione is back" . news.com.au. 25 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 12 April 2009 .
↑ Edidin, Peter (24 March 2007). "Gang's all here" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 12 April 2009 .
↑ Warman, Matt (21 December 2007). "Dancing towards their dreams" . The Daily Telegraph . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-06-24. สืบค้นเมื่อ 12 January 2008 .
↑ Pielou, Adriaane (26 December 2007). "Ballet Shoes saw me through" . The Daily Telegraph . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-05-23. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008 .
↑ "A Christmas treat for all the family" (Press release). BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 30 November 2007. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008 .
↑ "BBC One Transmission Details, weeks 52/1" (Press release). BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 9 December 2007. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008 .
↑ Tryhorn, Chris (27 December 2007). "Viewers sold on Old Curiosity Shop" . The Guardian . UK. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008 .
↑ Teeman, Tim (27 December 2007). "Last Night's TV" . The Times . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-05-17. สืบค้นเมื่อ 1 January 2008 .
↑ Watson, Emma. "Filmography" . Official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010 .
↑ "The Tale of Despereaux" . Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010 .
↑ Watson, Emma (28 November 2007). "Ballet Shoes interviews" . Emma Watson's official website news. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 12 April 2009 .
↑ Watson, Emma (22 May 2008). "Ballet Shoes interviews" . Emma Watson's official website news. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 12 April 2009 .
↑ "Harry Potter and the Half-Blood Prince Global Release Dates" . Warner Bros. Pictures. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010 .
↑ "Potter film release date delayed" . BBC News. 15 August 2008. สืบค้นเมื่อ 28 July 2009 .
↑ Turan, Kenneth (14 July 2009). "Review: 'Harry Potter and the Half-Blood Prince' " . Los Angeles Times . สืบค้นเมื่อ 28 July 2009 .
↑ Kois, Dan (14 July 2009). "Critic Review for Harry Potter and the Half-Blood Prince" . The Washington Post . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-02-16. สืบค้นเมื่อ 28 July 2009 .
↑ Sandhu, Sukhdev (16 July 2009). "Harry Potter and the Half-Blood Prince, review" . The Daily Telegraph . UK.
↑ 66.0 66.1 Long, Camilla (7 December 2008). "What next in life for Emma Watson" . The Times . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 10 December 2008 .
↑ Watson, Emma (17 February 2009). "Filming begins" . Emma Watson's official website news. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 12 April 2009 .
↑ Schwartz, Alison (14 June 2010). "Daniel Radcliffe Calls Wrapping Up Harry Potter Devastating" . People . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-02-08. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011 .
↑ Jack Malvern (14 March 2008). "Longer spell at box office for Harry Potter". The Times . UK.
↑ 70.0 70.1 Olly Richards (14 March 2008). "Potter Producer Talks Deathly Hallows" . Empire . สืบค้นเมื่อ 14 March 2008 .
↑ "Say You Don't Want It" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 2016-04-28 .
↑ "Emma in My Week With Marilyn" . emma-watson.net. 8 October 2010. สืบค้นเมื่อ 3 November 2010 .
↑ "Emma Watson Joins My Week with Marilyn" . movieweb.net. 24 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-09-29. สืบค้นเมื่อ 23 December 2010 .
↑ McNary, Dave (19 May 2010). "Watson, Lerman in talks for 'Perks' " . Variety . สืบค้นเมื่อ 16 July 2010 .
↑ Watson, Emma (10 February 2011). "Twitter" . Twitter. สืบค้นเมื่อ 10 February 2011 .
↑ Lombardi, Ken (29 May 2013). "This Is the End : Emma Watson Takes On the Boys In a New Red-Band TV Spot" . CBS News . สืบค้นเมื่อ 18 November 2014 .
↑ Inside Look: This Is the End with Seth Rogen and Emma Watson . YouTube (Movieline official) . 11 June 2013. สืบค้นเมื่อ 18 November 2014 .
↑ Graser, Marc (29 January 2015). "Cinderella's Glass Slipper Doesn't Fit Emma Watson" . Variety . สืบค้นเมื่อ 12 March 2013 .
↑ "Emma Watson replaced by Emily Blunt in 'Your Voice in My Head' – Movies News – Digital Spy" . Digital Spy . 11 March 2013. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014 .
↑ "Emma Watson to Star in YOUR VOICE IN MY HEAD for Director Francesca Gregorini" . Collider. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014 .
↑ Boardman, Madeline (13 June 2014). "Emma Watson & 'The Queen of the Tearling': Actress Reunites With David Heyman" . Huffington Post . สืบค้นเมื่อ 18 June 2013 .
↑ "Emma Watson and David Heyman team up for 'Queen of the Tearling' " . bibliofiend.com. 13 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013 .
↑ Daisy Wyatt (11 October 2013). "Emma Watson set to star in new Stephen Chbosky film While We're Young – News – Films" . The Independent . London. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014 .
↑ "Emma Watson starring with Ethan Hawke for New Thriller Movie" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-02-06. สืบค้นเมื่อ 2016-05-22 .
↑ "Woman of the Year: Emma Watson" . 15 October 2013.
↑ "Emma Watson and Cumberbatch Top 'Sexiest' Stars List" . BBC. 2 November 2013. สืบค้นเมื่อ 18 November 2014 .
↑ "Emma Watson, Daniel Bruhl to Star in Thriller 'Colonia' " . Variety . สืบค้นเมื่อ 11 January 2015 .
↑ Kit, Borys (4 March 2015). "Disney's Beauty and the Beast Casting Dan Stevens as the Beast" . The Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ 5 March 2015 .
↑ Furness, Hannah (12 March 2015). "Emma Watson: Singing for Beauty and the Beast is terrifying" . Telegraph Media Group . สืบค้นเมื่อ 13 March 2015 .
↑ Earp, Catherine (5 February 2014). "Emma Watson joins Ethan Hawke film Regression" . digitalspy.co.uk . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014 .
↑ "Emma Watson to star in The Circle opposite Tom Hanks" . Entertainment Weekly's EW.com .
↑ Hooks, Bell (18 February 2016). "In Conversation with Bell Hooks and Emma Watson" . PAPER . สืบค้นเมื่อ 21 February 2016 .
↑ Neate, Rupert (19 June 2008). "Chanel: 'No contract' for Harry Potter's Emma Watson" . The Daily Telegraph . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 18 April 2009 .
↑ Craik, Laura (9 June 2009). "Harry Potter star Emma Watson charms Burberry" . London Evening Standard . London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 12 June 2009. สืบค้นเมื่อ 28 June 2009 .
↑ Alexander, Hilary (5 January 2010). "Emma Watson is Burberry's spring/summer 2010 poster girl" . The Daily Telegraph . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010 .
↑ Foster, Alistair (15 February 2011). "Elle style icon? I have no idea who you are, Emma Watson" . London Evening Standard . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 29 November 2011 .
↑ 97.0 97.1 "People Tree" . Official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-04-25. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010 .
↑ "People Tree collaborates with Emma Watson" . Peopletreeyouth.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-02-08. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010 .
↑ 99.0 99.1 99.2 Olins, Alice (13 January 2010). "Emma Watson burnishes her ethical fashion credentials" . The Times . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010 .
↑ Milligan, Lauren (1 February 2010). "Ethical Emma" . Teen Vogue . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-03-16. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010 .
↑ Alexander, Hilary (29 January 2010). "Emma Watson models her range for People Tree" . The Daily Telegraph . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010 .
↑ "News" . สืบค้นเมื่อ 2 September 2010 .
↑ Tibbetts, Graham (14 August 2008). "A-levels: Harry Potter actress Emma Watson gets straight As" . The Daily Telegraph . UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ 10 December 2008 .
↑ Ford, James (14 July 2009). "Catching up with Emma Watson" . Paste (magazine) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-07-16. สืบค้นเมื่อ 15 July 2009 .
↑ "Message from Emma" . Emma Watson Official. 7 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 8 March 2011. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013 .
↑ "Harry Potter Star Emma Watson begins her year at Oxford University!" . Oxford Royale Academy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 3 October 2012. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013 .
↑ "Interview" . Ellen (video posted to official YouTube channel) . 24 March 2014. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 02:12–02:58. Syndicated. สืบค้นเมื่อ 3 May 2014 .
↑ Adams, Char (7 August 2015). "Emma Watson Reveals She Took a Weeklong Vow of Silence After 'Horrendous' Split from Matt Janney" . People . สืบค้นเมื่อ 9 August 2015 .
↑ Watson, Emma [@EmWatson] (9 October 2015). "The week long meditation ..." (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 9 October 2015 – โดยทาง ทวิตเตอร์ .
↑ "Why Emma Watson Became a Certified Yoga Instructor" . ABC News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014 .
↑ Mendoza, Nadia (15 April 2012). "Emma Watson and New Boyfriend Will Adamowicz Pictured Kissing ..." สืบค้นเมื่อ 3 February 2015 .
↑ Sheridan, Emily (24 June 2013). "Emma Watson Is Reunited with Boyfriend Will Adamowicz ..." สืบค้นเมื่อ 3 February 2015 .
↑ Longeretta, Emily (6 January 2014). "Will Adamowicz and Emma Watson Break Up" . สืบค้นเมื่อ 3 February 2015 .
↑ Wilson, Jess (8 September 2014). "Emma Watson Gets Her Hands Dirty Lifting Boxes As She Prepares to Move In with Boyfriend Matt Janney" . Mirror Online (photo credit: vantagenews.co.uk) . สืบค้นเมื่อ 22 September 2014 .
↑ Bamigboye, Baz (11 December 2014). "Emma Watson and Rugby Star Boyfriend Break Up" . Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 12 December 2014 .
↑ "Emma Watson is a spiritual Universalist who believes in a higher power | Huffington Post" . huffingtonpost.com. 2014-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15 .
↑ "Emma Watson announces UN Women Goodwill Ambassador role" . BBC Newsbeat . United Kingdom. 8 July 2014. สืบค้นเมื่อ 21 September 2014 .
↑ 118.0 118.1 "Emma Watson Gender Equality is Your Issue Too" . UN Women (official transcript) . 20 September 2014. สืบค้นเมื่อ 25 September 2014 . Official video
↑ Bennetts, Leslie (3 November 2010). "Emma Watson Interview" . Marie Claire. สืบค้นเมื่อ 24 September 2014 .
↑ Emma Watson at the HeForShe Campaign 2014 – Official UN Video . United Nations . 22 September 2014. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 2:52–2:57. สืบค้นเมื่อ 26 February 2016 – โดยทาง YouTube .
↑ Robinson, Joanna (8 March 2015). "Emma Watson On How Being Threatened for Speaking About Feminism Enraged and Motivated Her" . Vanity Fair . สืบค้นเมื่อ 9 March 2015 . When they saw that the minute I stepped up and talked about women's rights I was immediately threatened. I mean within less than 12 hours I was receiving threats. ... It's funny, people were like, 'Oh she's going to be so disheartened by this.' ... I was just raging. It made me so angry that I was just like, 'This is why I have to be doing this. If they were trying to put me off, it did the opposite'.
↑ "Malala tells Emma Watson she identifies as a feminist, thanks to her" . Women In the World . 5 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-11-07. สืบค้นเมื่อ 6 October 2015 – โดยทาง The New York Times .
↑ "The Vicar of Dibley – Comic Relief Special: The Bishop of Dibley" . British Comedy Guide . สืบค้นเมื่อ 22 April 2015 .
↑ "2002 Saturn Awards" . IMDB . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-09-16. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13 .
↑ "2002 Empire Awards" . IMDB . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2006-12-22. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13 .
↑ "American Moviegoer Award nominations" . Time Warner . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-05-15. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13 .
↑ "Emma Watson wins award" . HPANA . 2004-11-04. สืบค้นเมื่อ 2007-09-22 .
↑ "Prisoner of Azkaban awards" . Broadcast Film Critics Association . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-29. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13 .{{cite web }}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์ )
↑ "Bravo Otto Awards 2005" (Press release) (ภาษาเยอรมัน). Presseportal.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13 .
↑ "Emma Watson" . Microsoft.com . สืบค้นเมื่อ 7 April 2017 .
↑ "Dan & Emma win Bravo Otto awards" . HPANA. 2006-05-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-22 .
↑ Akers, Shelley (2007-10-20). "Emma Watson Is Named Nickelodeon's Best Actress" . People . สืบค้นเมื่อ 2007-10-24 .
↑ EdwardTLC (2008-02-03). "Six Nominations for "Order of the Phoenix" at Empire Awards" . The Leaky Cauldron . สืบค้นเมื่อ 2008-02-03 .
↑ "Will Smith, Emma Watson & "Transformers" Win Canadian Film/TV Awards" . marketwire. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-15 .
↑ " 'Battlestar Galactica' Leads Way With 11 SyFy Genre Awards Nods" . SyFy Portal. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-08-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24 .
↑ "Emma Watson Nominated for Glamour Awards" . The Leaky Cauldron. 2008.
↑ "Nominations Announced for the 'People's Choice Awards 2012' " . Tvbythenumbers.zap2it.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-01-15. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014 .
↑ "Nominees Announced for the 'People's Choice Awards 2013' " . Tvbythenumbers.zap2it.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014 .
↑ "People's Choice Awards: Fan Favorites in Movies, Music & TV" . PeoplesChoice.com. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014 .
↑ Sowray, Bibby (1 December 2014). "Emma Watson Wins Award for Best British Style at Fashion Awards" . Telegraph Media Group . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014 .
แหล่งข้อมูลอื่น