Share to:

 

แฟลตไวต์

แฟลตไวต์ในประเทศอังกฤษ แต่งหน้าด้วยศิลปะบนแก้วกาแฟ

แฟลตไวต์ (อังกฤษ: flat white) เป็นเครื่องดื่มกาแฟที่ประกอบด้วยเอสเปรสโซกับไมโครโฟม (นมไอน้ำซึ่งมีลักษณะฟองขนาดเล็ก) โดยทั่วไปมักมีสัดส่วนของเอสเปรสโซต่อนมที่มากกว่าลัตเตและมีชั้นของไมโครโฟมที่บางกว่าในคัปปูชิโน ที่มาของเครื่องดื่มนี้ไม่เป็นที่ทราบชัดเจน กระนั้นมีเจ้าของร้านกาแฟในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อ้างตนว่าเป็นผู้คิดค้น

ลักษณะ

แอนเนต มอลด์แวร์ (Anette Moldvaer) ระบุว่าแฟลตไวต์ประกอบด้วยดับเบิลเอสเปรสโซ (double espresso, คิดเป็น 50 ml/1.5 fl oz) และนมไอน้ำขนาดราว 130 มิลลิลิตร (4 fl oz) และไมโครโฟมชั้นหนา 5 มิลลิเมตร (0.25 นิ้ว)[1] จากผลการสำรวจนักวิจารณ์ในอุตสาหกรรม แฟลตไวต์มีชั้นของไมโครโฟมบาง ๆ อยู่ด้านบน อันเป็นที่มาของชื่อ “แฟลต“ (เรียบแบน) ในชื่อ ซึ่งตรงกันข้ามกับชั้นโฟมอย่างหนาที่พบในคัปปูชิโนแบบดั้งเดิม[2]

สูตรสำหรับการทำแฟลตไวต์มีความต่างกันไปตามร้านกาแฟและพื้นที่ ในออสเตรเลีย แฟลตไวต์จะเสิร์ฟในแก้วเซรามิก โดยทั่วไปมีปริมาตรพอกับแก้วลัตเต (200 ml, 7.0 imp fl oz)[3] แฟลตไวต์แบบนิวซีแลนด์มักจะเสิร์ฟในแก้วทรงดอกทิวลิป (165 ml, 5.8 imp fl oz) ในทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าความต่างระหว่างลัตเตกับแฟลตไวต์อยู่ที่อัตราส่วนของนมต่อกาแฟ และความข้นของนมซึ่งต่างกันที่กระบวนการให้ความร้อนนม[4]

ที่มาและประวัติศาสตร์

นักประวัติศาสตร์ด้านกาแฟ เอียน แบร์สเติน (Ian Bersten) ระบุว่าแม้ที่มาของแฟลตไวต์จะไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เครื่องดื่มนี้น่าจะมีที่มาจากประเทศอังกฤษในทศวรรษที่ 1950[5] มีการกล่าวถึงเครื่องดื่มนี้ในออสเตรเลียตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 บทวิจารณ์หนึ่งของร้านกาแฟ มิลเลอส์ทรีต (Miller's Treat) ในนครซิดนีย์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 1983 มีการกล่าวถึง "กาแฟแฟลตไวต์" (flat white coffee)[6]

ที่ร้านมัวส์เอสเปรสโซบาร์ (Moors Espresso Bar) ในนครซิดนีย์ แอลัน เพรสตัน (Alan Preston) นำเครื่องดื่มนี้ใส่เป็นส่วนหนึ่งของรายการเครื่องดื่มถาวรในปี 1985[5][7] เพรสตันอ้างว่าเขาได้นำเข้าแนวคิดนี้มายังซิดนีย์จากบ้านเกิดของเขาที่ควีนส์แลนด์ ที่ซึ่งร้านกาแฟในระหว่างทศวรรษที่ 1960 ถึง 1970 มักมีให้บริการเครื่องดื่ม "ไวต์คอฟฟี-แฟลต" (White Coffee – flat)[8]

ที่นิวซีแลนด์ก็มีการกล่าวอ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของแฟลตไวต์เช่นเดียวกัน[9][5] หนึ่งในผู้ที่กล่าวอ้างมาจากนครออกแลนด์ โดยเดเร็ก ทาวน์เซนด์ (Derek Townsend) กับ แดเรล อาเลอส์ (Darrell Ahlers) จากคาเฟดีเคดี (Cafe DKD) ซึ่งอ้างว่าสร้างแฟลตไวต์ขึ้นเป็นตัวเลือกสำหรับลัตเตแบบอิตาลี[10][11] อีกคำกล่าวอ้างมีที่มาจากนครเวลลิงตัน ซึ่งอ้างว่าเป็น "คัปปูชิโนที่ล้มเหลว" จากบาร์บอเดกา บนถนนวิลลิส (Willis St) ในปี 1989[9] เคร็ก มิลเลอร์ ผู้ประพันธ์หนังสือ Coffee Houses of Wellington 1939 to 1979 (ร้านกาแฟในเวลลิงตัน 1939-1979) อ้างว่าเป็นเคยเตรียมแฟลตไวต์ในนครออกแลนด์ในกลางทศวรรษที่ 1980[9]

อ้างอิง

  1. Moldvaer, Anette (2021). The Coffee Book (2nd ed.). London: Dorling Kindersley. pp. 403–04. ISBN 9780241536940.
  2. "What is a flat white? – Coffee Hunter". สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
  3. Carmody, Kathleen (20 April 2004). "Coffee culture". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2010-04-07.
  4. "New Zealand's dedicated coffee culture". Tourism New Zealand. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 Robertson, James (27 September 2015). "Australia and New Zealand culinary war in new front over flat white inventor". goodfood.com.au. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.
  6. "Miller's Treat," café review, Liz Doyle and Brett Wright, Sydney Morning Herald, 6 May 1983
  7. "Australian food history timeline-Birth of the Flat White". Australian food history timeline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  8. Pearlman, Jonathan (2015-09-28). "Who invented the flat white? Row breaks out between Australian and New Zealand cafe owners". The Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  9. 9.0 9.1 9.2 Hunt, Tom (13 January 2015). "Kiwi claims flat white invention". The Dominion Post. สืบค้นเมื่อ 17 April 2015.
  10. Dixon, Greg (22 July 2008). "The birth of the cool". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
  11. Macdonald, Laura (13 January 2015). "Baristas battle to claim flat white as their own". The New Zealand Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2015. สืบค้นเมื่อ 17 April 2015.
Kembali kehalaman sebelumnya