แรงแม่เหล็กไฟฟ้าบทความนี้ควรนำไปรวมกับ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ในวิชา ฟิสิกส์ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า คือแรงที่ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุทางไฟฟ้า มันคือแรงที่ยึด อิเล็กตรอน กับ นิวคลิไอ เข้าด้วยกันใน อะตอม และยึดอะตอมเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุล แรงแม่เหล็กไฟฟ้าทำงานผ่านการแลกเปลี่ยน messenger particle ที่เรียกว่า โฟตอน การแลกเปลี่ยน messenger particles ระหว่างวัตถุทำให้เกิดแรงที่รับรู้ได้ด้วยวิธีแทนที่จะดูดหรือผลักอนุภาคออกจากกันเพียงแค่นั้น การแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนคุณลักษณะของพฤติกรรมของอนุภาคที่แลกเปลี่ยนนั้นอีกด้วย ประวัติแต่เดิมนั้น ไฟฟ้า และ แม่เหล็ก ถูกคิดว่าเป็นแรงสองแรงซึ่งแยกจากกัน อย่างไรก็ตาม มุมมองดังกล่าวถูกเปลี่ยนไปเนื่องจากการตีพิมพ์ผลงานของ เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ ในปี 1873 บทความเกี่ยวกับไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Treatise on Electricity and Magnetism) ซึ่งกล่าวถึงอันตรกิริยาของประจุบวกและลบเมื่อถูกแสดงในรูปทั่วไปด้วยแรงเพียงแรงเดียว มีผลอยู่สี่อย่างที่ได้จากอันตรกิริยาเหล่านี้ ทิศการไหลของกระแสก็ขึ้นอยู่กับทิศการเคลื่อนที่เช่นกัน ผลทั้งหมดเหล่านี้สามารถอธิบายได้อย่างสวยงามใน สมการสนามของแมกซ์เวลล์ ตัวอย่างเช่น แม่เหล็ก ทำให้เกิดการดูดหรือผลักเนื่องจากการเรียงตัวที่สอดคล้องกันหรือเป็นแนวอย่างเรขาคณิตของ สปิน ภาพรวมแรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสี่ของ แรงพื้นฐาน แรงพื้นฐานอื่น ๆ คือ แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม ซึ่งยึด นิวคลีไอของอะตอม เข้าด้วยกัน แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน ซึ่งเป็นสาเหตุของรูปแบบของ การสลายตัวเชิงกัมมันตภาพ และ แรงโน้มถ่วง แรงอื่นทั้งหมดท้ายที่สุดก็แปลงมาจากแรงพื้นฐานเหล่านี้ แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันยกเว้นเสียแต่ความโน้มถ่วง กล่าวหยาบ ๆ แล้ว แรงที่เกี่ยวกับอันตรกิริยาระหว่าง อะตอม นั้นมาจากแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากระทำต่อ โปรตอน และ อิเล็กตรอน อันมีประจุไฟฟ้าภายในอะตอม นี่รวมทั้งแรงที่เรารู้สึกใน "การผลัก" หรือ "การดึง" วัตถุเนื้อสารโดยทั่วไป ซึ่งมาจาก แรงระหว่างโมเลกุล ระหว่าง โมเลกุล ในร่างกายของเราและในวัตถุ มันรวมถึงทุกรูปแบบของ ปรากฏการณ์ทางเคมี ซึ่งเกิดขึ้นจากอันตรกิริยาระหว่าง electron orbital ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
|