กลุ่มโจรที่มีฐานในเทือกเขาไท่หาง (ค.ศ. 185-205)
โจรเขาเอ๊งสัน[1] หรือ โจรเขาเฮย์ชาน (จีน: 黑山賊; พินอิน: Hēishān zéi) หรือ โจรภูเขาดำ เป็นกลุ่มโจรในเทือกเขาไท่หางในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน มีบทบาทในความขัดแย้งและความวุ่นวายภายในดินแดนที่นำไปสู่การเสื่อมของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกก่อนเข้าสู่ยุคสามก๊ก ในช่วงเวลานั้นในที่สุดกลุ่มโจรเขาเอ๊งสันก็ยอมจำนนต่อขุนศึกโจโฉ
รายชื่อโจร
เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มโจรเป็นคนนอกกฎหมาย หลายคนจึงใช้ฉายาที่ตั้งตามลักษณะเฉพาะตัวของตน แม้ว่าบางชื่อในชื่อเหล่านี้อาจเป็นชื่อจริง แต่ก็มีความพยายามแปลชื่อและพิจารณาเหตุผลที่เป็นไปได้เบื้องหลังชื่อเหล่านี้[2]
- กัว ต้าเสียน (郭大賢, กัวมหาคุณธรรม)
- ขู่จิว (苦蝤, ตัวอ่อนด้วงแห้ง) - อาจตั้งชื่อตามการมีศีรษะล้าน
- จั่ว จือจ้างปา (左髭丈八, จั่วหนวดยาว 1.8 จ้าง)
- จั่วเซี่ยว (左校, นายกองซ้าย) - อาจนำชื่อมาจากตำแหน่งข้าราชการผู้รับผิดชอบแรงงานนักโทษในสังกัดของสถาปนิกหลวง
- จาง หนิวเจฺว๋ (張牛角, จางเขาวัว)
- จาง เหลย์กง (張雷公, จางเจ้าสายฟ้า) - ตั้งชื่อตามเสียงอันดัง
- ชิง หนิวเจฺว๋ (青牛角, เขาโคเขียว)
- ซือลี่ เยฺวี่ยนเฉิง (司隸掾城, ผู้บังคับการมณฑลราชธานีผู้ปีนกำแพงเมือง)
- ซุน ชิง (孫輕)[3]
- ซุย กู้ (眭固, มองอย่างแข็งแกร่ง)
- เตียวเอี๋ยน (張燕 จาง เยี่ยน) ฉายา จาง เฟย์เยี่ยน (張飛燕, จางนกนางแอ่นบิน) - ตั้งชื่อตามความว่องไว
- เถา เชิง (陶升)[4]
- ปั๋วเชฺว่ (白雀, นกกระจอกขาว)
- ปั๋ว เร่า (白繞, ม้วนสีขาว)
- ผิงฮั่น ต้าจี้ (平漢大計, แผนใหญ่สยบฮั่น)
- ฝู-ยฺวิน (浮雲, เมฆลอย)
- ยฺหวี ตู๋ (于毒, ยฺหวียาพิษ)
- ยฺหวี ตีเกิน (于羝根) - อาจตั้งชื่อตามการมีหนวดเคราดกหรือขนองคชาตดก[5]
- หยาง เฟิ่ง (楊鳳)
- หลัวชื่อ (羅市)[6]
- หลิว ฉืิอ (劉石)
- หลี่ ต้ามู่ (李大目, หลี่ตาโต)
- หวาง ตาง (王當)
- หฺวางหลง (黃龍, มังกรเหลือง)
- อู๋ลู่ (五鹿, ห้ากวาง) - อาจตั้งชื่อจากการสวมชุดหนังกวาง
อ้างอิง
- ↑ ("ฝ่ายเตียวเอี๋ยนนายโจรอยู่ณเขาเอ๊งสัน รู้ข่าวว่าโจโฉได้เมืองกิจิ๋วแลเมืองลำพี้แล้ว ก็คุมพวกโจรประมาณสิบหมื่น มาขอเข้าอยู่ทำราชการด้วยโจโฉ") "สามก๊ก ตอนที่ ๓๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 19, 2024.
- ↑ de Crespigny (1989), p. 193 and pp. 567-8 note 12; de Crespigny (1996), p. 115
- ↑ de Crespigny (2007), p. 772
- ↑ de Crespigny (2007), p. 788
- ↑ de Crespigny (1989), p. 568 note 12
- ↑ de Crespigny (2007), p. 634
บรรณานุกรม