Share to:

 

โชติ แพร่พันธุ์

โชติ แพร่พันธุ์
เกิด15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 เมษายน พ.ศ. 2499 (48 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
นามปากกายาขอบ
อาชีพนักเขียน, นักหนังสือพิมพ์
คู่สมรสจรัส เพ็ญภาคกุล[1]
สงวนศรี (ไม่ทราบนามสกุล)
ชลูด (ไม่ทราบนามสกุล) [2]
ประกายศรี ศรุตานนท์
บุตรมานะ แพร่พันธุ์

ลายมือชื่อ

โชติ แพร่พันธุ์ (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 – 5 เมษายน พ.ศ. 2499) นามปากกา ยาขอบ เป็นนักเขียนชาวไทย มีผลงานเด่นคือ ผู้ชนะสิบทิศ, เพื่อนแพง, สามก๊กฉบับวณิพก, สินในหมึก เป็นต้น

ประวัติ

โชติ แพร่พันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 เป็นบุตรของเจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ กับนางจ้อย (เป็นต้นห้องของหม่อมเฉื่อยในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) และเป็นราชนัดดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย เมื่อแรกเกิดนั้นเจ้าอินทร์แปลงผู้เป็นบิดาได้ตั้งชื่อบุตรชายของตนว่า "เจ้าอินทรเดช" แต่นางจ้อยผู้เป็นแม่ได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "โชติ" ต่อมาเมื่อโชติจะเข้าโรงเรียน แม่จ้อยจึงได้พาโชติมาเฝ้าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อขอประทานนามสกุล ซึ่งได้ประทานนามสกุลว่า "แพร่พันธุ์"

โชติ แพร่พันธุ์ เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ได้รับการอุปถัมภ์จากพระยาพิทักษ์ภูบาล (สวัสดิ์ วิเศษศิริ) อยู่ระยะหนึ่ง กระทั่งถึงยุคเศรษฐกิจตกต่ำ โชติต้องกลับมาเร่ร่อนอีกครั้งหนึ่ง จนมีโอกาสได้เข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ เริ่มจากสยามรีวิว และธงไทย

ในปี พ.ศ. 2472 กุหลาบ สายประดิษฐ์ จัดตั้งคณะสุภาพบุรุษ ออกหนังสือสุภาพบุรุษ รายปักษ์ คราวหนึ่ง อบ ไชยวสุ ซึ่งเป็นนักเขียนตลกประจำฉบับ ส่งต้นฉบับไม่ทัน กุหลาบ จึงขอให้โชติเขียนแทน โดยตั้งนามปากกาให้ว่า ยาขอบ เลียนแบบจากนักเขียนเรื่องตลกชาวอังกฤษ ชื่อ เจ.ดับเบิลยู. เจคอบส์ ทำให้เกิดงานประพันธ์ชิ้นแรกในนาม ยาขอบ ชื่อ จดหมายเจ้าแก้ว

ในปีพ.ศ. 2474 โชติ แพร่พันธุ์ ได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สุริยารายวัน และเริ่มเขียนนิยายเรื่อง ยอดขุนพล แต่หนังสือพิมพ์สุริยามีอายุไม่ยืน เมื่อกุหลาบ สายประดิษฐ์ ไปทำหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2475 โชติจึงเขียนเรื่อง ยอดขุนพล ต่อ โดยมาลัย ชูพินิจ เปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น ผู้ชนะสิบทิศ โดยผู้ชนะสิบทิศเขียนมาจากพงศาวดารที่โชติมีโอกาสได้อ่านเพียง 8 บรรทัดเท่านั้น แต่ความเป็นอัจฉริยะทางวรรณกรรมกลับถ่ายทอดได้อย่างหลากอรรถรส มากถึง 8 เล่ม

มีบุตรชายคนเดียวคือ นายมานะ แพร่พันธุ์ (นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์ผู้ทรงคุณวุฒิของเมืองไทย)

โชติ แพร่พันธุ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2499 ขณะอายุ 48 ปี ด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง และเบาหวาน

ผลงาน

นวนิยาย

รวมเรื่องสั้น

  • มารหัวใจ (2471)
  • อารมณ์ (2475)
  • กามวาสี
  • รอยโครอยเกวียน
  • รักแท้
  • หลังฉากผู้ชาย (2476)
  • เพื่อนแพง
  • สวรรค์คนยาก
  • หล่อนชั่วเพราะชาย (2477)
  • ชื่นจิตต์ (2478)
  • ผู้ชนะใจ (2479)
  • มุมมืด (2480)
  • ความรู้สึกของดวงจันทร์ (2482)
  • คนที่ไม่รู้จักแก่ (2484)
  • เรื่องธรรมดา
  • เมียน้อย
  • ผู้หญิง ฯลฯ

เรื่องแปล

  • ขวัญใจจอมขวาน แปลจากเรื่อง Nada the Lily by Riger Haggard (ร่วมกับคนอื่น)
  • บุปผาในกุณฑีทอง (2489, แปลไม่จบ) แปลจากเรื่อง จินผิงเหมย (Chin P'ing Mei)
  • เจ้าจอมช้อย เจ้าจอมทับทิม (2488) แปลจากเรื่อง The Romance of the Harem ของแอนนา เลียวโนเวนส์
  • สังเขปประวัติจอมพลเนย์ (2489)
  • กามนิยาย แปลจากเรื่อง Decamerron ของยิโอวันนี่ บ๊อกก๊าจจิโอ้ แต่ไม่จบเพราะถูกห้ามแปล ฯลฯ

สารคดี ความเรียง

  • ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ (2479)
  • มีพรสวรรค์อันใดในนักประพันธ์หรือ (2487)
  • สินในหมึก (2488)
  • เหตุที่กุสุมาไม่ได้แต่งงาน (2490)
  • ผู้ควบเพื่ออุทิศแด่รัก (2492)
  • หนังสือและผู้แต่ง (2493)
  • เรื่องไม่เป็นเรื่อง (2494)
  • ลมย่อมเลือกทางพัดได้เอง (2495)
  • ปากกาพูด
  • โล่กลาง
  • เรื่องอ่านเล่นๆ จากเรื่องจริง
  • แลหลัง
  • เมื่อข้าพเจ้าขึ้นศาล
  • แม่ทองประศรีกับแม่เทพทอง
  • หนุมานลูกใคร
  • ที่ว่าโป๊โป๊นั้นประการใด

ผลงานเรียบเรียง

  • มหาภารตะ

ร้อยกรอง

  • อะไรเอ่ย ยาขอบสอนตน

เบ็ดเตล็ด (คำไว้อาลัย-คำนำ)

  • เสื้อเก่ากับมหากวี (2485 - เขียนไว้อาลัยชิต บุรทัต)
  • จากยาขอบถึงอิงอร (2488 - เขียนคำนำให้อิงอร)
  • เราได้อะไรจากเขา (2489 - เขียนไว้อาลัย สุดใจ พฤฒิสาลิกร)
  • สุดแต่ดวงจิตพิศวาส ก็นับเป็นวงศ์ญาติกันได้ (2498 - เขียนไว้อาลัย ร. จันทพิมพะ)
  • จากยาขอบถึงชอุ่ม ปัญจพรรค์ (เขียนคำแนะนำการประพันธ์)
  • จดหมายรักในชีวิตจริงของยาขอบถึงพนิดา (รวบรวมพิมพ์โดย เทียน เหลียวรักวงศ์)

นามปากกา

  • กฤษณา - ใช้เขียนเรื่องสั้น มารหัวใจ เพียงเรื่องเดียว
  • ยาขอบ - ใช้เขียนเรื่องตลกหรรษาในยุคต้นๆ (เคยสะกดเป็น ยาคอบ ด้วยเข้าใจว่าคงเปลี่ยนเป็น ยาขอบ เพื่อให้อ่านดูเป็นไทยๆ)
  • โชติ แพร่พันธุ์ - ใช้เขียนประเภทเรื่องสั้นในยุคต้นๆ
  • ช.ช้าง - ใช้เขียนบทความลงในนิตยสารเสนาสาร
  • กรทอง - ใช้เขียนความเรียงเรื่อง ลมย่อมเลือกทางพัดได้เอง เพียงเรื่องเดียว

อ้างอิง

  1. ประวัติ โชติ แพร่พันธุ์
  2. วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์. หนังกับหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ห้องสมุด, 2552. 286 หน้า. ISBN 978-974-642-677-0

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya