Share to:

 

โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ

โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด9 กันยายน พ.ศ. 2537
บันทึกเสียงพ.ศ. 2536 - กรกฎาคม พ.ศ. 2537
แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก กรันจ์
ค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิก
โปรดิวเซอร์กมล สุโกศล แคลปป์
ลำดับอัลบั้มของโมเดิร์นด็อก
โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ
(2537)
คาเฟ่
(2540)คาเฟ่String Module Error: Match not found

โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ เป็นอัลบั้มชุดแรกของวงโมเดิร์นด็อก ศิลปินกลุ่มแรกของบริษัทเบเกอรี่ มิวสิก ที่จุดกระแสดนตรีแนวโมเดิร์นร็อกให้แก่วงการดนตรีเมืองไทย มีเพลง "บุษบา" เป็นเพลงเปิดตัว และเพลง ...ก่อน ที่สร้างมิติใหม่ในวงการวิทยุ ติดชาร์ตคลื่นวิทยุยาวนานถึง 1 ปีเต็ม[1] ยกเว้นเพลงบางสิ่ง เพลงที่เหลือเป็นการบันทึกเสียงสดทั้งสิ้น ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540 มีการเปลี่ยนปกและเพิ่มเพลงในชุด โมเดิร์นด็อก (Back Catalog)[2]

นิตยสาร Generation Terrorist (GTM) จัดให้อัลบั้มเสริมสุขภาพติดอันดับ 1 ใน 15 อัลบั้มอัลเทอร์เนทีฟไทยอดเยี่ยมตลอดของ GT[3]

รายชื่อเพลง

  1. บุษบา (Busaba)
  2. กะลา (Gala)
  3. ...ก่อน (Before)
  4. มานี (Manee)
  5. พรุ่งนี้ (Tomorrow)
  6. เธอ (You)
  7. ชีวิต (Life)
  8. ทุเรียน (Durian)
  9. บางสิ่ง (Something)
  10. หมดเวลา (Out of Time) (Demo)
  11. กะลา (Gala) (ARP17409 Trance)*
  12. กะลา (Gala) (Barkin' Mix)*
  • ไม่มีการจัดทำเป็นเทป เนื่องจากเนื้อเทปไม่พอ
  • ในอัลบั้ม โมเดิร์นด็อก (Back Catalog) เพิ่มเพลง ...ก่อน (Acoustic) , กะลา (Barkin' Mix), มานี และ บางสิ่ง (บันทึกการแสดง จาก Dog On Stage World Tour ที่ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครองเซ็นเตอร์) ต่อจากเพลง หมดเวลา

รายละเอียดเพลง

"บุษบา"

"บุษบา" มีจุดเริ่มต้นจากเพลงที่ บอย โกสิยพงษ์ ได้แต่งไว้ ต่อมาจึงให้ป๊อดนำไปแต่งใหม่โดยเป็นแบบใดก็ได้ แนวคิดเริ่มแรกมาจากการที่ได้ยินคนชอบบ่น ว่ารถคันอื่นบนถนนทำให้การจราจรติดขัด แต่ลืมไปว่าตัวเองก็เป็นหนึ่งในรถบนถนนเดียวกัน[1]ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2549 แฟตเรดิโอ เปิดเพลงนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 1 วันเต็มๆ นอกจากนี้ยังเคยถูกนำมาร้องใหม่ โดย ส้ม อมรา ศิริพงศ์ ในอัลบั้ม Re-Baked อีกด้วย

"กะลา"

"กะลา" เคยถูกนำมาร้องใหม่โดย กรู๊ฟไรเดอร์ส ในอัลบั้ม Bakery's Sound Revisited

"ชีวิต"

"ชีวิต" เป็นเพลงที่เริ่มแต่งสำหรับอัลบั้มชุดนี้ เริ่มแต่งตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2536[1]

"ทุเรียน"

"ทุเรียน" มีที่มาจากการพูดคุยระหว่างป๊อด และ วรุฒม์ ปันยารชุน เพื่อสรรเสริญคนที่ไม่ได้มองอะไรแต่เพียงผิวเผินภายนอก[1]

"บางสิ่ง"

"บางสิ่ง" เป็นเพลงแรกที่ทางวงร่วมทำงานกับสุกี้ โดนสุกี้ทำดนตรีเสร็จไว้ก่อนแล้วจึงนำให้ป๊อดเขียนเนื้อร้องและทำนอง ซึ่งป๊อดแต่งมาจากฝันหลังจากตื่นมาในช่วงกลางดึก[1] พ.ศ. 2547 เป็นเพลงเดียวในอัลบั้มที่ไม่ได้บันทึกเสียงสดทั้งหมด และภายหลังถูกนำมาร้องใหม่ โดย บีไฟว์

ปก

ออกแบบโดย วรุฒม์ ปันยารชุน โดยใช้ชื่อว่า Peeping Tom มีแนวคิดจากการต้องการเปรียบเปรยเกี่ยวกับการหวนหาอดีต จึงนำเอาโปสเตอร์หนังมาแปะซ้อนกันเพื่อให้เกิดเนื้อหาใหม่ๆ อย่างเช่นรูปผู้หญิงบนหน้าปกก็ต้องการให้เกิดความสงสัยและสนใจว่าใครคือผู้หญิงคนนั้น[1]

ในชุด โมเดิร์นด็อก (Back Catalog) เลือกเอาภาพ มิตร ชัยบัญชา เพราเป็นนักแสดงเก่าที่เท่ แต่ตกเฮลิคอปเตอร์ตาย ในเรื่อง อินทรีทอง จึงนำภาพมากลับหัว ทำออกมาสนุกๆ ส่วนเลข ๑ ก็หมายถึงชุดแรก[2]

แหล่งที่มา

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 375°F ฉบับที่ 1 โดย เบเกอรี่มิวสิก
  2. 2.0 2.1 375°F ฉบับที่ 4 โดย เบเกอรี่มิวสิก
  3. GTM ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม 2555
Kembali kehalaman sebelumnya