Share to:

 

โรงเรียนวรรณวิทย์

โรงเรียนวรรณวิทย์
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คติพจน์อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
(ตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน)
สถาปนาพ.ศ. 2489
ผู้ก่อตั้งหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
ผู้บริหารหม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์
ผู้จัดการหม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์
สีเขียว เทา
  
เพลงมาร์ชวรรณวิทย์
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

โรงเรียนวรรณวิทย์ เป็นอดีตโรงเรียนเอกชน โดยเคยเปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั้งนักเรียนชายและหญิง มีผู้อำนวยการและผู้จัดโรงเรียนคือ หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ มีบุคลากรครูทั้งหมด 43 คน ส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน[1] [2] ทางโรงเรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ การใช้เสียงระฆังเป็นสัญลักษณ์ในการส่งสัญญาณเปลี่ยนคาบเรียน[1] โรงเรียนได้ยุติการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 รวมระยะเวลาที่เปิดทำการเรียนการสอนทั้งสิ้น 76 ปี[3]

ภาพมุมกว้าง

ประวัติ

โรงเรียนวรรณวิทย์ ก่อตั้งโดยหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เรือนไม้ชั้นเดียวในซอยสุขุมวิท 4 ถนนสุขุมวิท หรือ ซอยสมาหาร โรงเรียนวรรณวิทย์ ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งมีนักเรียนเพียง 7 คนเท่านั้น หม่อมผิว เป็นครูใหญ่เอง สั่งสอนอบรมนักเรียนเองด้วย โดยมีความมุ่งมั่นที่จะให้เป็นสถานศึกษา ที่ให้ทั้งวิชาความรู้ รวมทั้งอบรมสั่งสอนศิลธรรม จรรยา ขนบประเพณี และพลศึกษาไปด้วย ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งมีนักเรียนเพียง 7 คน โดยหม่อมผิว เป็นครูใหญ่และทำการสอนด้วยตนเอง โดยไม่เก็บเงินบำรุงการศึกษาในการรับเข้าเรียนและอนุญาตให้ค้างค่าเล่าเรียนโรงเรียนได้ โรงเรียนวรรณวิทย์ขยายกิจการขึ้นเรื่อย ๆ มีนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี และได้เพิ่มชั้นเรียนขึ้นจนถึงชั้นมัธยมสามัญตอนกลาง (ม.3 ในปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 2496

ต่อมาหม่อมผิว มีอายุมากขึ้น จึงให้ธิดาคนเล็กคือ หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ เป็นผู้จัดการ และครูใหญ่แทน โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2497 และในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2497 นี้กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะโรงเรียนวรรณวิทย์เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และในปีนี้โรงเรียนได้ซื้อที่ดินด้านหน้า ซอยสุขุมวิท 8 (ซอย ปรีดา) จึงเปลี่ยนทางเข้าออกและเลขที่มาเป็นด้านซอยสุขุมวิท 8 ส่วนประตูทางเข้าเดิมด้านซอยสมาหารเปลี่ยนเป็นประตูหลัง และได้ขยายอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก จากอาคารเรือนไม้ชั้นเดียวมาเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น รูปตัวแอล

พ.ศ. 2505 ได้ก่อสร้างอาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นโรงอาหาร ส่วนชั้นที่ 2 และ 3 ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3

พ.ศ. 2508 ได้สร้างอาคารใต้ถุนสูงขึ้นอีก 1 หลังด้านหน้าโรงเรียน ชั้นล่างเปิดโล่งตลอดเป็นลานอเนกประสงค์ ชั้นบนเป็นห้องเรียน

โรงเรียนมีพื้นที่ขนาด 3 ไร่ อาคารเรียนเป็นอาคารไม้สองชั้น มีนักเรียนประมาณ 500 คน ทางโรงเรียนคิดค่าเทอมเพียงเทอมละ 1,600 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมาก เนื่องจากนักเรียนส่วนมากเป็นบุตรหลานของผู้ที่มีรายได้น้อยในละแวกนี้ แม้จะมีผู้ขอซื้อที่ดินไปสร้างเป็นโรงแรมและคอนโดมิเนียมโดยให้ราคาสูงถึงพันล้านบาท แต่ทางหม่อมราชวงศ์รุจีสมรซึ่งเป็นผู้บริหารยืนยันที่จะไม่ขาย ด้วยต้องการจะให้เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ต่อไป [1]

และเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 เฟสบุ๊กแฟนเพจ "ศิษย์เก่าโรงเรียนวรรณวิทย์ Wannawit School Alumni" ได้ประกาศเชิญชวนศิษย์เก่าร่วมบันทึกความทรงจำส่งท้ายเพื่อรำลึกถึงโรงเรียนในงาน “สิ้นเสียงระฆังวรรณวิทย์” วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงเรียนวรรณวิทย์ ซอยสุขุมวิท 8 เนื่องจากประสบภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี โรงเรียนแบกรับภาระและการขาดทุนไม่ไหวจึงต้องปิดตัวลงโดยจะทำการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เป็นภาคเรียนสุดท้าย [4][5]

ซึ่งโรงเรียนวรรณวิทย์ เป็นโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 8 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ประสบปัญหาขาดทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี นักเรียนลดจำนวนลงเรื่อยๆ ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ผู้ปกครองที่มีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย จ่ายค่าเทอมไม่ตรงเวลา แต่ก็ยังทำการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งมาตลอด กระทั่งมติคณะกรรมการและครูมีความเห็นว่า โรงเรียนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้แล้ว จึงได้ยุติการเรียนการสอนดังกล่าว

สัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์

"นางฟ้าถือคบเพลิง"

เป็นรูปตราวงกลมสองชั้น วงกลมชั้นในเป็นภาพนางฟ้าถือคบเพลิงอยู่ในท่าเหาะบนท้องฟ้า และเบื้องหลังเป็นหมู่เมฆ วงกลมชั้นนอกด้านบน มีข้อความระบุว่า "โรงเรียนวรรณวิทย์" และวงกลมชั้นนอกด้านล่าง มีข้อความระบุว่า "ตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน" และมีดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความ

สีประจำโรงเรียน

สีเขียว และ สีเทา

อักษรย่อ

ว.ณ.ว.

คติพจน์

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ต้นไม้ประจำโรงเรียน

ต้นกระทิงทะเล

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

ลำดับ รูป รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ครูใหญ่และผู้จัดการ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2489 26 เมษายน พ.ศ. 2497
2 หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ ผู้อำนวยการและผู้จัดการ 27 เมษายน พ.ศ. 2497 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "เรื่องเล่าเช้านี้". ช่อง 3. 16 January 2015. สืบค้นเมื่อ 16 January 2015.
  2. "รายงานเรื่องราวของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเรื่อง การแก้ปัญหานักเรียนที่มีพฤติกรรมขาดความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนวรรณวิทย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-15.
  3. ปิดฉาก 76 ปี โรงเรียนวรรณวิทย์ไปต่อไม่ไหวแล้ว ยุติการเรียนการสอนเทอมนี้
  4. "ปิดตำนาน 76 ปี 'โรงเรียนวรรณวิทย์' ใจกลางสุขุมวิท ศิษย์เก่าจัดงานรำลึก 26 ก.พ.นี้". workpointTODAY.
  5. สิ้นระฆังกังวาน ปิดตำนาน "วรรณวิทย์" ศิษย์เก่ารวมใจปิดหนี้ก้อนสุดท้ายให้โรงเรียน
  6. “ตั๊ก บริบูรณ์” ศิษย์เก่าโรงเรียนวรรณวิทย์ โพสต์ซึ้งอำลา จำไม่ลืมครูใหญ่ให้เรียน แม้ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม
  7. "ทำไมเงินซื้อไม่ได้ เปิดหัวใจ 'ม.ร.ว.รุจีสมร' ครูใหญ่วรรณวิทย์ ร.ร.ไม้ท่ามกลางดงยักษ์คอนกรีต". ไทยรัฐออนไลน์. 18 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′17″N 100°33′21″E / 13.738187°N 100.555806°E / 13.738187; 100.555806

Kembali kehalaman sebelumnya