Share to:

 

โอนัม

โอนัม, ติรุโวนัม[1]
รังโคฬิดอกไม้ (ปูกกฬัง)
จัดขึ้นโดยชาวมลยาฬัม, รัฐเกรละ
ความสำคัญเทศกาลเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว[2][3]
การถือปฏิบัติสัทยะ, ติรุวติรกฬิ, ปุฬิกกฬิ, ปูกฬัง, โอนะตัฬฬุ, Thrikkakarayappan, โอนะตัปปัน, การเล่นชักคะเย่อ, ตุมพิตุฬฬัล, โอนะวิฬฬุ, กัฬจักกุลละ, Athachamayam และ วัฬฬังกฬิ
วันที่Chingam (สิงหาคม/กันยายน)
ความถี่รายปี
ส่วนเกี่ยวข้องพลิประติปทา

โอนัม (อักษรโรมัน: Onam) เป็นเทศกาลประจำปี[4][5][6] ที่เฉลิมฉลองกันในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย ในฐานะเทศกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เฉลิมฉลองในชาวมลยาฬัม และเทศกาลนี้ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา วันโอนัมเป็นไปตามปฏิทินฮินดู ปัญจคาม โดยตรงกับนักษัตรติรุโวนัมที่ 22 ในเดือน จิงัม (Chingam) ตามปฏิทินมลยาฬัม ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคม—กันยายน ตามปฏิทินเกรกอเรียน[7][8] ตามตำนานระบุว่าเทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อฉลองมหาพลี ซึ่งดวงวิญญาณพระองค์จะเสด็จเยี่ยมเยียนรัฐเกรละในช่วงโอนัม[9][8]

โอนัมเป็นเทศกาลสำคัญของชาวมลยาฬัมทั้งในและนอกรัฐเกรละ และเป็นหนึ่งในสามเทศกาลสำคัญของมลยาฬัม โดยอีกสองเทศกาลคือวิษุ และ ติรุวติระ[10] การเฉลิมฉลองในโอนัมประกอบด้วย วัฬฬังกฬิ (แข่งเรือ), ปุฬิกกฬิ (การแสดงเสือ), ปุกกฬัง (รังโคฬิดอกไม้), โอนะตัปปัน (การบูชา), โอนัมกฬิ, เล่นชักคะเย่อ, ตุมพิตุฬฬัล (Thumbi Thullal; การแสดงของสตรี), กุมมัตติกฬิ (การแสดงหน้ากาก), โอนะตัฬฬุ (Onathallu; ศิลปะการป้องกันตัว), โอนะวิฬฬุ (ดนตรี), กัฬจักกุละ (Kazhchakkula; ถวายสิ่งบูชา), โอนะโปฏฏัน (Onapottan; การแต่งกาย), อัฏฏฉมะยัม (เพลงและร่ายรำ) เป็นต้น[11] ชาวมลยาฬัมฉลองโอนัมในฐานะวันปีใหม่มลยาฬัม[12][13]

โอนัมเป็นเทศกาลประจำรัฐและเป็นวันหยุดทางการของรัฐเกรละ เริ่มต้นตั้งแต่สี่วันจาก อุตรโฑม (Uthradom)[14] การเฉลิมฉลองใหญ่ ๆ มีอยู่ 30 จุดทั่วนครติรุวนันตปุรัม[15] เมืองหลวงของรัฐเกรละ รวมถึงมีการเฉลิมฉลองโดยชาวมลยาฬัมทั่วโลก[8] ถึงแม้จะเป็นเทศกาลฮินดู แต่ชาวมลยาฬัมต่างศาสนาก็เข้าร่วมในเทศกาลในฐานะเทศกาลทางวัฒนธรรม[8][16][14]

อ้างอิง

  1. Government of Kerala เก็บถาวร 2021-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Official Holidays 2017
  2. Ann Morrill (2009). Thanksgiving and Other Harvest Festivals. Infobase Publishing. pp. 46, 49–50. ISBN 978-1-4381-2797-2.
  3. Chopra, Prabha (1988). Encyclopaedia of India. p. 285. Onam – Most important festival of Kerala; held in Chingam (August–September)
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ britonam
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ grace312
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ osella174
  7. Onam Festival, The Society for Confluence of Festivals of India (2015)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Cush, Denise; Robinson, Catherine; York, Michael (2012). Encyclopedia of Hinduism (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 573–574. ISBN 978-1135189792. Despite its Hindu associations, Onam is celebrated by all communities.
  9. J. Gordon Melton (2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-CLIO. p. 659. ISBN 978-1-59884-206-7.
  10. Peter J. Claus; Sarah Diamond; Margaret Ann Mills (2003). South Asian Folklore: An Encyclopedia. Taylor & Francis. p. 454. ISBN 978-0-415-93919-5.
  11. M. Nazeer (10 August 2010). "The abiding lore and spirit of Onam". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  12. Filippo Osella; Caroline Osella (2013). Islamic Reform in South Asia. Cambridge University Press. p. 152. ISBN 978-1-107-27667-3., Quote: "Onam [Malyali Hindu new year] (...)"
  13. Denise Cush; Catherine Robinson; Michael York (2012). Encyclopedia of Hinduism. Routledge. pp. 573–574. ISBN 978-1-135-18978-5.
  14. 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ponnumuthan1996p210
  15. "Onam Celebrations".
  16. Malayali Muslim man celebrates Onam after a preacher calls the festival 'haram', India Today, Shreya Biswas (12 September 2016);
    Mahabali comes calling, The Hindu, Neeti Sarkar (5 September 2014)
Kembali kehalaman sebelumnya