Share to:

 

ไทรย้อยใบทู่

ไทรย้อยใบทู่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: วงศ์ขนุน
สกุล: โพ
สกุลย่อย: F. subg. Urostigma

L.f. 1782
สปีชีส์: Ficus microcarpa
ชื่อทวินาม
Ficus microcarpa
L.f. 1782
ชื่อพ้อง[2][3]
  • Ficus aggregata Vahl
  • Ficus amblyphylla (Miq.) Miq.
  • Ficus cairnsii Warb.
  • Ficus condaravia Buch.-Ham.
  • Ficus dahlii K.Schum.
  • Ficus dictyophleba F.Muell. ex Benth.
  • Ficus dilatata Miq.
  • Ficus dyctiophleba F.Muell. ex Miq.
  • Ficus littoralis Blume
  • Ficus naumannii Engl.
  • Ficus regnans Diels
  • Ficus retusa auct.
  • Ficus retusiformis H.Lév.
  • Ficus rubra Roth nom. illeg.
  • Ficus thynneana F.M.Bailey
  • Urostigma amblyphyllum Miq.
  • Urostigma microcarpum (L. f.) Miq.

ไทรย้อยใบทู่ หรือ ไทรย้อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus microcarpa) เป็นไม้ประเภทบันยัน ในสกุล Ficus ในวงศ์ Moraceae

เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 12–25 เมตร และสูงได้ถึง 30 เมตร บางครั้งอาจรอเลื้อยกับพื้นดินหรือกึ่งอาศัยกับไม้อื่น ๆ มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียน มีลักษณะรูปไข่หรือรูปวงรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4–10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเป็นติ่งทู่เกือบแหลม หรือเป็นติ่งสั้น และเรียวแหลม ไม่ค่อยพบแบบเว้า ฐานใบสอบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ผิวใบมัน เนื้อใบบางเหนียวคล้ายผิวหนัง ออกดอกตามง่ามใบเป็นดอกเดี่ยว พบเป็นดอกคู่น้อยมาก ตาดอกสีแดงแกมชมพู ก้านดอกยาว 0.5–1.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง จำนวน 6 กลีบ ยาว 3–7 กลีบ กลีบดอกแบบอิสระ 6 กลีบ รูปไข่มน ยาว 3–8 มิลลิเมตร มีลักษณะย่น เกสรตัวผู้ 12 อัน ขดเป็นวง ผลเป็นรูปไข่กลับหรือกระสวยรี มีกลีบเลี้ยงเป็นท่อหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5–10 มิลลิเมตร ผลเกลี้ยง ผลแก่แตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก มีปีกยาว รูปลิ่มแกมไข่กลับ

มีการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยพบได้ที่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ บางครั้งพบตามป่าเสื่อมโทรม, ชายทะเล, ป่าชายเลน หรือเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ใบของไทรย้อยใบทู่

เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ออกดอกและออกผลตลอดทั้งปี รากอากาศใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว บำรุงน้ำนม รากสมานลำไส้ แก้ท้องเสียได้[4][5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Shao, Q.; Zhao, L.; Botanic Gardens Conservation International (BGCI).; IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2019). "Ficus microcarpa". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T73088912A147623376. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T73088912A147623376.en. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2021.
  2. "Ficus microcarpa L.f." The Plant List: A Working List of All Plant Species. 2013. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2016.
  3. "Report Page: Ficus microcarpa". Integrated Taxonomic Information System.
  4. มูลนิธิสวนหลวง ร.9 (1996). พรรณไม้ในสวนหลวง ร. 9 (3 ed.). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์. ISBN 974-875-649-1.
  5. "ไทรย้อยใบทู่". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 28 พฤศจิกายน 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ficus microcarpa
Kembali kehalaman sebelumnya