ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า (วงศ์ Poaceae; เดิมคือวงศ์ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea) ไผ่สีสุก (Bambusa flexuosa และ Bambusa blumeana) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra)
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
เผ่ากับเผ่าย่อยและสกุล
ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3 เผ่า 15 เผ่าย่อย 1 เผ่าย่อยที่ incertae sedis 115 สกุล และมากกว่า 1,462 ชนิด
รายชื่อไผ่ของไทย
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]
- ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )
- ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)
- ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)
- ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)
- ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)
- ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)
- ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )
- ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)
- ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)
- ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)
- ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)
- ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)
- ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)
- ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)
- ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)
|
- ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus)
- ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa)
- ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)
- ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)
- ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)
- ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)
- ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)
- ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)
- ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)
- ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)
- ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)
- ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)
- ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)
- ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)
- ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)
|
อ้างอิง
- ↑ ไผ่ ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ทิศทาง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทิศทาง |
---|
0 | |
---|
ชื่อทิศ | |
---|
เทวดาประจำทิศ | |
---|
ไม้มงคล | |
---|
0 | |
---|
ชื่อทิศ | |
---|
เทวดาประจำทิศ | |
---|
ไม้มงคล | |
---|
0 | |
---|
ชื่อทิศ | |
---|
เทวดาประจำทิศ | |
---|
ไม้มงคล | |
---|