Share to:

 

ไมโลไนต์

An amphibolitic mylonite showing a number of (rotated) porphyroclasts: a clear red garnet left in the picture while smaller white feldspar porphyroclasts can be found all over. Location: the tectonic contact between the (autochthonous) Western Gneiss Region and rocks of the (allochthonous) Blåhø nappe on Otrøy, Caledonides, Central Norway.
A mylonite (through a petrographic microscope) showing rotated so-called δ-clasts. The clasts show that the shear was dextral in this particular cut. Strona-Cenery zone, Southern Alps, Italy.
Mylonite, Owl Mountains, Poland

หินไมโลไนต์ (อังกฤษ: mylonite กรีก: μύλος mylos, meaning mill.[1]) เป็นหินแปรริ้วลายชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการแปรสภาพเนื่องจากการเกิดแรงดันที่ผิดปกติอย่างมหาศาล โดยเกิดจากกระบวนการ บด อัด เฉือน จากการเกิดรอยเลื่อน กล่าวคือ เมื่อการชนกันอย่างรุนแรงของแผ่นเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งจะเกิดการมุดตัวลงไปภายใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง (กระบวนนี้เรียกว่าการเกิดอังกฤษ: Subduction) หินจะถูกการบด อัด เฉือน เป็นเศษชิ้นส่วนต่างๆ และความร้อนของแผ่นเปลือกโลกบริเวณที่มุดตัวลงในบริเวณนี้ทำให้เนื้อหินถูกเปลี่ยนลักษณะเป็นแบบพลาสติกหรือมีความยืดหยุ่นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลึกแร่ของเนื้อหินจะเกิดการหลอมและเกิดการตกผลึกใหม่เป็นผลึกเล็กอัดตัวกันแน่น จนกระทั่งอุณหภูมิของเนื้อหินเริ่มลดลง ผลึกแร่จะเกิดการเรียงตัวตามองค์ประกอบทางเคมี มีลักษณะริ้วลายคล้ายอมยิ้ม กลายเป็นหินแปรที่มีริ้วลายเกิดขึ้น ซึ่งเรียกหินลักษณะนี้ว่า หินไมโลไนต์

ชาลส์ แลบเวิท (Charles Lapworth) เป็นผู้ตั้งชื่อหินไมโลไนต์ในปี ค.ศ. 1885 โดยเริ่มจากการใช้อธิบายความวาวของเนื้อหิน ซึ่งศึกษาหินในบริเวณเขตรอยเลื่อน Moine thrust และปัจจุบันใช้เรียกชื่อหินแปรที่การเรียงตัวของแร่คล้ายริ้วลายของอมยิ้ม ซึ่งเป็นหินแปรที่เกิดขึ้นในบริเวณรอยเลื่อน

อ้างอิง

  • Farndon,J. The complete guide to rock and minerals, Hermes house, 2006
  • เพียงตา สาตรักษ์. ธรณีวิทยาโครงสร้าง. ฉบับปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2546
  1. Lapworth, C. 1885. Nature, 32, 558-559.
Kembali kehalaman sebelumnya